มอบประกาศนียบัตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 25 พ.ย. 61

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 ชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอดมีส่วนช่วยในพิธีมอบประกาศนียบัตร หลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย (330 ชั่วโมง) ในงานประกวดร้องเพลงไทยสากล-ไทยลูกทุ่ง ครั้งที่ 23 ของมูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด ที่ศาลานุสร์ณเตชวัชรา

โต๊ะลงทะเบียนหน้าประตู
ภาพหมู่ผู้ได้รับประกาศนียบัตร
ภาพหมู่บนเวที ผู้ใด้รับรางวัลประกวดร้องเพลง

อบรม อ่านอย่างไรให้ถูกต้องและน่าฟัง สุพรรณฯ 2561

นักศึกษา ม.สวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี นำโดยอาจารย์กรกนก มักการุณ เข้าร่วมโครงการสัมนาเชิงปฏิบัติการ "อ่านอย่างไรให้ถูกต้องและน่าฟัง เพื่อการผลิตหนังสือเสียงที่มีคุณภาพ" จัดโดยชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอด ร่วมกับ มูลนิธิคนตาบอดไทย. เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2561 เนื่องในงานสมัชชาคนตาบอดครั้งที่ 21 ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมสองพันบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

อาจารย์มณเฑียร บุญตัน กล่าวเปิดโครงการ และบรรยายเรื่องลิขสิทธิ์หนังสือเสียงของคนตาบอด จากนั้นเป็นการแนะนำโปรแกรมโอบิสำหรับการสรัางหนังสือเสียงในระบบเดซีโดยเจ้าหน้าที่จากห้องสมุดคนตาบอดฯ เวลาที่เหลือคือการบรรยายและการปฏิบัติเพื่อการอ่านหนังสือเสียงที่มีคุณภาพ

1. คลิกที่นี่ เพื่อไปชมภาพขนาดใหญ่ และดาวน์โหลด

2. คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดเฉพาะภาพหมู่ขนาดใหญ่

รวมภาพจากการอบรม อ่านอย่างไรให้ถูกต้องและน่าฟัง ที่โรงแรมสองพันบุรี จ.สุพรรณบุรี 22 เม.ย. 2561

อบรมการอ่านเพื่อคนตาบอด ที่ ILC 25 พ.ย. 60

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 ชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอดจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ "อ่านอย่างไรให้ถูกต้องและน่าฟัง" ณ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรี่ส์ จำกัด (International Laboratories Co., Ltd. ) หรือ ILC บางพลี สมุทรปราการ โดยมีอาจารย์สุรัชนา ฤกษ์ชนะ เป็นวิทยากร

เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ และผู้สนใจในชุมชน จำนวน. 60 คน. เข้าร่วมอบรม การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง และร่วมเป็นอาสาสมัครผลิตหนังสือเสียงให้ห้องสมุดคนตาบอดและผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์แห่งชาติเพื่อบริการแก่ผู้พิการทางสายตา และผู้ไม่สามารถเข้าถึงสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นอีกหนึ่งเครือข่ายของหนังสือเสียงในอนาคต

กรรมการผู้จัดการบริษัท ILC คุณแสงทอง ชัยสิริโรจน์ ผู้เคยได้รับการอบรมการอ่านจากคราวสมัชชาคนตาบอดที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ เมื่อเดือนเมษายน 2560 เล็งเห็นความสำคัญกับภาษาไทย เอกลักษณ์ของชาติไทย จึงชักนำมูลนิธิคนตาบอดไทย ชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอด และคณะวิทยากร เข้าให้ความรู้แก่พนักงานและผู้สนใจ นับเป็นการทำสาธารณประโยชน์ให้แก่สังคมอีกทางหนึ่ง

การอบรมเริ่มด้วยการทำความรู้จักกับคนตาบอด โดยคุณธรรมนิตย์ ชาญจรัสพงศ์ กรรมการสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เป็นผู้บรรยาย (คลิป 17 นาที)

ประมวลภาพวันอบรม (คลิกที่ภาพเพื่อไปชมภาพขนาดใหญ่ขึ้นไปอีก)
ILC-audiobook-readers

เมื่อพี่อาสาพาน้องตาบอดไปชมพระเมรุมาศ 24 พ.ย. 60

บันทึกจากพี่อาสา คราวที่ชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอดนำอาสาช่วยนำทางน้องตาบอดจากโรงเรียนสอนคนตาบอดสันติ-จินตนา จ.แพร่ ที่เดินทางไปชมนิทรรศการงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ...

(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)
atab1

ตอนเช้ารถไฟไทยใจดีแถมเวลาชมเมืองยามเช้าให้เด็กๆ เกือบชั่วโมง กว่าจะวนรถบัสมารับและไปส่งที่สวนลุมพินีเพื่ออาบน้ำและกินข้าวก็สายเข้าไปอีก กว่าจะถึงสนามหลวงรอเข้าชมก็ปาเข้าไปเที่ยง เด็กๆ ที่มาส่วนใหญ่จะเป็นเด็กประถม ใช้ระบบ ครูดูแลเด็ก เด็กโตกว่าพอมองเห็นก็นำทางและดูแลน้องเล็กเป็นคู่บัดดี้ดูน่ารักดี

ความที่เป็นเด็กจึงสนใจลูบคลำสัมผัสสิ่งต่างๆ ที่อยู่ตรงหน้า ดูสนุกสนาน แต่ที่อาคารพระที่นั่งทรงธรรมแทบจะเข้าไปตากแอร์มากกว่า

สำหรับระบบการจัดการของเจ้าหน้าที่ที่ทับเกษตรมีการกันพื้นที่สำหรับคนตาบอด เที่ยวนี้ถือว่าเป็นระบบมากขึ้น แต่กว่าจะได้เข้าไปอาคารทับเกษตรก็ต้องไปเจรจากับเจ้าหน้าที่ เพราะไม่ปล่อยให้พวกเราเดินไปตามเส้นทางที่เคยปฏิบัติเพราะเปลี่ยนคนประจำจุด

ถึงเขาดินบ่าย 2 เด็กๆ เริ่มอ่อนเพลีย วันนี้ถือว่าน้องๆ ตาบอดไม่ได้เข้าถึงสัตว์ได้เท่าไหร่ เพราะไม่ได้ชมการแสดงใดๆ แค่นั่งรถรางและฟังบรรยายระหว่างทางเท่านั้น

ตบท้ายคลายง่วงด้วยไอติมคนละถ้วย เด็กๆจึงยิ้มออก

คนตาบอดชมพระเมรุมาศ เช้า 12 พ.ย. 60

เช้าวันที่ 12 พฤศจิกายน คณะคนตาบอดกับอาสาจากชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอดเข้าชมนิทรรศการงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง

นัดกันตั้งแต่ 7.00 น. เดินไปยังจุดคัดกรองบริเวณรูปป้้นแม่พระธรณี (หน้าโรงแรมรอยัล-รัตนโกสินทร์) เข้าไปแล้วได้รับป้ายสีชมพู จากนั้นจึงได้เดินเข้าไปในบริเวณพระเมรุมาศ ถ่ายรูปหมู่กันก่อน ตอนถ่ายรูปหมู่นั้นเวลา 8.30 น. นับว่าเข้าได้เร็วมาก
(คลิกบนรูปเพื่อดูภาพขยาย)
01-เดินทางไปจุดคัดกรอง-จุดพักรับป้ายสีชมพู-ถึงถ่ายรูปหมู่

ถ่ายรูปแล้วปกติจะต้องชมลานพระเมรุมาศก่อน แต่เจ้าหน้าที่ให้คณะเข้าชมนิทรรศการสำหรับคนตาบอดก่อนที่ทับเกษตร
(คลิกบนรูปเพื่อดูภาพขยาย)
02-ชมนิทรรศการสัมผัส

เมื่อชมนิทรรศการที่ทับเกษตรแล้ว จึงต่อด้วยการชมนิทรรศการในพระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งคนตาบอดไม่ได้รับข้อมูลจากนิทรรศการมากนัก เพราะไม่มีป้ายอักษรเบรลล์เหมือนในทับเกษตร จากนั้นจึงออกไปชมบริเวณโดยรอบ ก่อนเดินออกทางกระทรวงกลาโหม
(คลิกบนรูปเพื่อดูภาพขยาย)
03-ชมพระที่นั่งทรงธรรม-ออกทางกระทรวงกลาโหม

รูปทั้งหมดเก็บไว้ในเว็บ คลิกดูอัลบั้มภาพขนาดใหญ่ได้ที่นี่

รูปหมู่มีขนาดใหญ่พิเศษ ดูและดาวน์โหลดได้ที่นี่

อบรม จากถนนสู่ดวงดาว รอบเก็บตก 2-5 ก.ย. 60

โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักร้องนักดนตรีตาบอดในที่สาธารณะ จากถนนสู่ดวงดาว (From Street to Stars) (รอบเก็บตก) เป็นโครงการเพื่อคนตาบอดโดยตรง ชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอดระดมอาสาสมัครไปช่วยแบบกะทันหันในการอบรมรอบแรก (ยังมีรอบสองอีกเร็วๆ นี้)

การอบรมเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน ไปสิ้นสุดในวันที่ 5 กันยายน เป็นงานที่หนักสำหรับทุกฝ่าย ซึ่งในที่สุดก็ผ่านไปด้วยดี

คนตาบอดที่มีความสามารถทางการขับร้องได้เข้ารอบคราวนี้ 5 คน เป็นนักร้องชาย 2 คน นักร้องหญิง 3 คน

ภาพรวมจากงาน โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักร้องนักดนตรีตาบอดในที่สาธารณะ จากถนนสู่ดวงดาว (From Street to Stars) (รอบเก็บตก)

คนตาบอดเข้าร่วมโครงการ สายตาดีด้วยวิธีมหัศจรรย์

เมื่อวันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2560 อาสาสมัคร 8 คนจากชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอดได้พาผู้บกพร่องทางการเห็น 21 คน เข้าร่วมสัมมนาโครงการ “สายตาดีด้วยวิธีมหัศจรรย์” ของมูลนิธิหมอชาวบ้าน ในงานนี้ ผศ. เนตรนภา ขุมทอง เลขาธิการมูลนิธิหมอชาวบ้าน ได้อำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยได้จัดที่นั่งด้านหน้าสามแถวให้

คุณสมศักดิ์ ธรรมร่มดี ช่วยสนับสนุนของว่างเค้กชิฟฟอนร้านอร่อยจากเทเวศน์ พร้อมนมถั่วเหลืองจากมูลนิธิหมอชาวบ้าน

งานนี้สำเร็จไปด้วยดี ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากมูลนิธิหมอชาวบ้าน และอาสาสมัครทุกท่าน

รวมภาพจากกิจกรรมโครงการ สายตีดีด้วยวิธีมหัศจรรย์

ภาพจากการสัมนา อ่านอย่างไรฯ รร.แอมบาสเดอร์ 22-23 เม.ย. 60

ส่วนหนึ่งในงานสมัชชาคนตาบอด คือการอบรมการอ่านให้คนตาบอดสำหรับอาสาโดยชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอด และในปี 2560 สมัชชาจัดขึ้นในกรุงเทพฯ ชมรมฯ จึงจัดการอบรมที่พิเศษกว่าที่เคยทำ คือจัดเป็น 2 วันแบบเชิงปฏิบัติการ มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อการอบรมช่วยเหลือแก้ไขการอ่านอย่างเข้มข้น ในวันที่ 22-23 เมษายน 2560 ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ ที่จัดงานสมัชชาคนตาบอดของปี 2560

ภาพต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้จากงานสัมนา แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของอาสาที่เข้าอบรมทุกคนที่จะเรียนรู้และนำความชำนาญที่ได้ไปช่วยอ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอด และช่วยงานอาสาอื่นอีกต่างหาก

ทุกภาพในตารางข้างล่าง มีภาพขนาดใหญ่ โดยเฉพาะภาพหมู่ ทั้งหมดเชิญชมได้โดยคลิกที่นี่

วีดิทัศน์สอนนำทางคนตาบอด

วีดิทัศน์อันนี้ได้มาจากอาจารย์กมลวรรณ อินอร่าม (อจ.ไก่) คนตาบอดในวีดิทัศน์ เผยแพร่เพื่อแนะนำการช่วยเหลือคนตาบอดในที่นี้ และในลิ้งก์ วิธีนำทางคนตาบอด ด้านข้าง

สุขใดไฉนเท่า...จากมือสู่ใจ 17 ก.ย. 59 ศิริราช

สุขใดไฉนเท่า...จากมือสู่ใจ
สุขสัมผัส ณ พิพิธภัณฑ์ศิริราช

17 กันยายน 2559 ในช่วงเช้าคนตาบอดและอาสาสมัครกว่า 30 คน ได้เช้าชมอาคารสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) แสดงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ปากคลองบางกอกน้อย-วังหลัง ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงปัจจุบัน ประวัติของศิริราชการแพทย์ไทย การสร้างทางรถไฟสายใต้ และวิถีชีวิตชุมชนบางกอกน้อย และต่อด้วยช่วงบ่ายเข้าชมพิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส, พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน, พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา และพิพิธภัณฑ์สัมผัส เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

กิจกรรมวันนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ใหญ่ใจดีจากผู้บริหารคณะแพทย์ศิริราช สำหรับยานพาหนะรับส่งผู้ร่วมกิจกรรม ขนมและเครื่องดื่มจากหน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช และอาหารกลางวันอร่อยๆ จากเอ็มเคสุกี้ และขอขอบคุณกับการต้อนรับ ดูแล และคอยบอกเล่าข้อมูลความรู้ต่างๆเป็นอย่างดี รวมถึงการแนะนำการใช้งานอุปกรณ์ให้เสียงบรรยายเพื่อการชมพิพิธภัณฑ์ที่เรียกว่า Pickup จากภัณฑารักษ์สาวคนเก่ง นางสาวเกสรี ยอดกันสี (เกส) และนักวิชาการศึกษาหนุ่มใจดี นายชัยยศ เจริญสันติพงศ์ (อั๋น)

สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการฟังและสัมผัสในพิพิธภัณฑ์ศิริราชในครั้งนี้ คนตาบอดได้รับประสบการณ์ที่น่าสนใจ แตกต่างจากพิพิธภัณฑ์อื่นๆ มากมาย เรามาลองชมภาพบรรยากาศ ฟังความคิดเห็นและความประทับใจของผู้ร่วมงานในครั้งนี้กันคะ

ภาพรวมการชมพิพิธภัณฑ์ศิริราชของคนตาบอด 16 กันยายน 2559

“วันนี้ได้รับความรู้ ด้านการแพทย์ พฤกษศาสตร์ต่างๆมากมาย และมีสิ่งที่ผมอยากให้ช่วยปรับปรุง คือ คำอธิบายที่เป็นอักษรเบรลล์ บริเวณห้องผ่าตัด มีการติดกลับหัว ทำให้อ่านไม่ได้ หากเป็นอักษรได้ติดสลับก็น่าจะพออ่านได้ในคนปกติทั่วไป และความซ้ำซ้อนของข้อมูลเรื่องสมุนไพร เกี่ยวกับหม้อดินและไม้ขัด พิพิธภัณฑ์ที่นี่ดีนะ ผมสามารถสัมผัสได้ แต่ก็ไม่ทุกอย่าง ซึ่งผมอยากเข้าถึงและสัมผัสสมอง หัวกระโหลก และอีกหลายอย่างที่อยู่ในตู้จัดแสดง งานนี้จัดได้ดีมากครับ ผมและเพื่อนๆได้รับความรู้และขอบคุณพี่ๆอาสาสมัคร ที่นำชม อธิบาย ไม่เช่นนั้นการรับชมในครั้งนี้จะไม่ราบรื่นเท่านี้ครับ ขอบคุณมากครับ” นายสุนทร สุขชา ประธานเยาวชนคนตาบอด

“ขอบคุณพิพิธภัณฑ์ศิริราชและขอบคุณพี่ๆ อาสาสมัครที่สละเวลามาดูแลและอธิบายสิ่งต่างๆเพิ่มเติม ทำให้วันนี้ได้ความรู้มากมายคะ” กมลชนก บุญเกตุวัฒนากุล (น้องไอซ์)

“ผมเป็นอาจารย์สอนภาษาไทย พึ่งจะมาเป็นอาสาสมัครให้การช่วยเหลือคนตาบอดเป็นครั้งแรก จึงใช้ทักษะในการพูดของผมในการอธิบายสิ่งต่างๆ ให้คุณสมศักดิ์ ได้เข้าใจเพิ่มเติม มีจุดนึงที่ผมไม่รู้จะอธิบายอย่างไร คือจุดวัดสายตาประกอบแว่น ผมจึงให้เขาคลำบริเวณหน้าของผมเองครับ งานในวันนี้ โดยภาพรวมแล้วดีครับ ประทับใจมากครับ หากมีโอกาสจะมาอีกครั้ง” นายชัยฤทธิ์ พงศ์กล่ำ อาสาสมัคร

“พิพิธภัณฑ์พิมุขสถาน ตรงห้องผ่าตัด บางจุดที่ต้องกดเพื่อฟังคำอธิบายจะอยู่ในระดับสูง หากอยู่ในระดับสายตาก็จะสะดวกคะ” นางสาวอรพิน บุญเกตุวัฒนากุล อาสาสมัครและเป็นพี่สาวของน้องไอซ์ (ตาบอด)

(คลิกชมภาพขนาดใหญ่แต่ละภาพข้างบนได้ที่นี่)

Pages

Subscribe to ชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอด RSS