ง เขียนว่า งอ-งู | พยัญชนะตัวที่ ๗ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กง. | ง พยัญชนะตัวที่ ๗ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กง. |
งก เขียนว่า งอ-งู-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงอาการอยากได้หรือไม่อยากเสียจนเกินควร. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีอาการสั่นอย่างคนแก่หรืออย่างกลัวหรืออย่างหนาวมาก. | งก ๑ ก. แสดงอาการอยากได้หรือไม่อยากเสียจนเกินควร. ว. มีอาการสั่นอย่างคนแก่หรืออย่างกลัวหรืออย่างหนาวมาก. |
งกเงิ่น, งก ๆ เงิ่น ๆ งกเงิ่น เขียนว่า งอ-งู-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-นอ-หนู งก ๆ เงิ่น ๆ เขียนว่า งอ-งู-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-นอ-หนู ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ตัวสั่น, มีอาการประหม่าตัวสั่นจนทําอะไรไม่ถูก. | งกเงิ่น, งก ๆ เงิ่น ๆ ว. ตัวสั่น, มีอาการประหม่าตัวสั่นจนทําอะไรไม่ถูก. |
งก เขียนว่า งอ-งู-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้รูปคล้ายตะลุมพุกสําหรับควาญท้ายตีช้างเมื่อต้องการให้ช้างไปเร็ว เรียกว่า ไม้งก. | งก ๒ น. ไม้รูปคล้ายตะลุมพุกสําหรับควาญท้ายตีช้างเมื่อต้องการให้ช้างไปเร็ว เรียกว่า ไม้งก. |
งก ๆ, ง่ก ๆ งก ๆ เขียนว่า งอ-งู-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก ง่ก ๆ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก เช่น ทำงานง่ก ๆ ทั้งวันจนไม่มีเวลาหยุดพัก. | งก ๆ, ง่ก ๆ ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก เช่น ทำงานง่ก ๆ ทั้งวันจนไม่มีเวลาหยุดพัก. |
งง เขียนว่า งอ-งู-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ฉงน, คิดไม่ออกเพราะยุ่งยากซับซ้อน, ทําอะไรไม่ถูกเพราะยังตั้งสติไม่อยู่; อาการมึนเกิดเพราะหัวหรือบริเวณหน้าได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรงเป็นต้น. | งง ก. ฉงน, คิดไม่ออกเพราะยุ่งยากซับซ้อน, ทําอะไรไม่ถูกเพราะยังตั้งสติไม่อยู่; อาการมึนเกิดเพราะหัวหรือบริเวณหน้าได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรงเป็นต้น. |
งงงวย เขียนว่า งอ-งู-งอ-งู-งอ-งู-วอ-แหวน-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง เคลิบเคลิ้ม, เผลอสติ, มึนงง, งวยงง ก็ว่า. | งงงวย ก. เคลิบเคลิ้ม, เผลอสติ, มึนงง, งวยงง ก็ว่า. |
งงงัน เขียนว่า งอ-งู-งอ-งู-งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง งงจนทําอะไรไม่ถูก. | งงงัน ก. งงจนทําอะไรไม่ถูก. |
งงเป็นไก่ตาแตก เขียนว่า งอ-งู-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-ไต่-คู้-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-กอ-ไก่-ไม้-เอก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-ตอ-เต่า-กอ-ไก่ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง งงมากจนทำอะไรไม่ถูก. | งงเป็นไก่ตาแตก (สำ) ก. งงมากจนทำอะไรไม่ถูก. |
งงิด เขียนว่า งอ-งู-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก | [งะ] เป็นคำนาม หมายถึง มืด. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร งงึด เขียนว่า งอ-งู-งอ-งู-สะ-หระ-อึ-ดอ-เด็ก ว่า มืด . | งงิด [งะ] น. มืด. (ข. งงึด ว่า มืด). |
งด เขียนว่า งอ-งู-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง หยุดหรือเว้น คือ ไม่กระทําหรือไม่ดําเนินการตามปรกติ เช่น ผู้ป่วยต้องงดอาหารและน้ำตามที่แพทย์สั่ง. | งด ก. หยุดหรือเว้น คือ ไม่กระทําหรือไม่ดําเนินการตามปรกติ เช่น ผู้ป่วยต้องงดอาหารและน้ำตามที่แพทย์สั่ง. |
งดเว้น เขียนว่า งอ-งู-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง เว้นด้วยการงด คือ หยุดไม่กระทำหรือไม่ดำเนินการตามปรกติ เช่น งดเว้นอบายมุขระหว่างเข้าพรรษา. | งดเว้น ก. เว้นด้วยการงด คือ หยุดไม่กระทำหรือไม่ดำเนินการตามปรกติ เช่น งดเว้นอบายมุขระหว่างเข้าพรรษา. |
งดงาม เขียนว่า งอ-งู-ดอ-เด็ก-งอ-งู-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สวย, ดี, งาม. | งดงาม ว. สวย, ดี, งาม. |
งบ เขียนว่า งอ-งู-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่เป็นแผ่นกลม ๆ เช่น งบนํ้าตาล งบนํ้าอ้อย, เรียกนํ้าตาล นํ้าอ้อย ที่ทําให้เป็นแผ่น ๆ เช่นนั้น ว่า นํ้าตาลงบ นํ้าอ้อยงบ. | งบ ๑ น. สิ่งที่เป็นแผ่นกลม ๆ เช่น งบนํ้าตาล งบนํ้าอ้อย, เรียกนํ้าตาล นํ้าอ้อย ที่ทําให้เป็นแผ่น ๆ เช่นนั้น ว่า นํ้าตาลงบ นํ้าอ้อยงบ. |
งบ เขียนว่า งอ-งู-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่งคล้ายห่อหมก ห่อด้วยใบไม้ มีใบตองเป็นต้น แล้วปิ้งไฟ. เป็นคำกริยา หมายถึง ปรุงอาหารด้วยวิธีเช่นนั้น. | งบ ๒ น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่งคล้ายห่อหมก ห่อด้วยใบไม้ มีใบตองเป็นต้น แล้วปิ้งไฟ. ก. ปรุงอาหารด้วยวิธีเช่นนั้น. |
งบ เขียนว่า งอ-งู-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๓ | เป็นคำกริยา หมายถึง ปิด, รวม, เช่น งบบัญชี. | งบ ๓ ก. ปิด, รวม, เช่น งบบัญชี. |
งบดุล เขียนว่า งอ-งู-บอ-ไบ-ไม้-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-ลอ-ลิง | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง รายการแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน เพื่อให้รู้ฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง. | งบดุล (กฎ) น. รายการแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน เพื่อให้รู้ฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง. |
งบประมาณ เขียนว่า งอ-งู-บอ-ไบ-ไม้-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-นอ-เนน | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง ประมาณการรายรับและรายจ่าย. | งบประมาณ (กฎ) น. ประมาณการรายรับและรายจ่าย. |
งบ เขียนว่า งอ-งู-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๔ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง วงเงิน เช่น งบค่าก่อสร้างบ้าน. | งบ ๔ (ปาก) น. วงเงิน เช่น งบค่าก่อสร้างบ้าน. |
งม เขียนว่า งอ-งู-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ดํานํ้าลงไปคลําหาของ, คลําหาของในนํ้า; โดยปริยายหมายความว่า งุ่มง่าม, ชักช้า, เช่น มัวไปงมอยู่ที่ไหน. | งม ก. ดํานํ้าลงไปคลําหาของ, คลําหาของในนํ้า; โดยปริยายหมายความว่า งุ่มง่าม, ชักช้า, เช่น มัวไปงมอยู่ที่ไหน. |
งมเข็มในมหาสมุทร เขียนว่า งอ-งู-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-ไต่-คู้-มอ-ม้า-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-นอ-หนู-มอ-ม้า-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้, ทํากิจที่สําเร็จได้ยาก. | งมเข็มในมหาสมุทร (สำ) ก. ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้, ทํากิจที่สําเร็จได้ยาก. |
งมโข่ง เขียนว่า งอ-งู-มอ-ม้า-สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-ไม้-เอก-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง งุ่มง่าม, ไม่ทันเหตุการณ์. | งมโข่ง (ปาก) ว. งุ่มง่าม, ไม่ทันเหตุการณ์. |
งมงาย เขียนว่า งอ-งู-มอ-ม้า-งอ-งู-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นหรือเหตุผลของผู้อื่น. | งมงาย ก. หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นหรือเหตุผลของผู้อื่น. |
งวง เขียนว่า งอ-งู-วอ-แหวน-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกไป ตรงปลายมีจะงอยสําหรับจับของอย่างมือ, เรียกจั่นมะพร้าวและช่อดอกเพศผู้ของตาลเพื่อเตรียมทํานํ้าตาล, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งวงครุ งวงผีเสื้อ; ลมชนิดหนึ่งเมื่อเริ่มเกิดจะเห็นเป็นลํายื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกําลังแรงมาก ลํานี้จะยาวลงมามากเรียกว่า ลมงวง, ลมงวงช้าง ก็เรียก; ตัวลำยองที่ทำเป็นงวงเกี่ยวอยู่ตรงแปงวง. | งวง ๑ น. จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกไป ตรงปลายมีจะงอยสําหรับจับของอย่างมือ, เรียกจั่นมะพร้าวและช่อดอกเพศผู้ของตาลเพื่อเตรียมทํานํ้าตาล, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งวงครุ งวงผีเสื้อ; ลมชนิดหนึ่งเมื่อเริ่มเกิดจะเห็นเป็นลํายื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกําลังแรงมาก ลํานี้จะยาวลงมามากเรียกว่า ลมงวง, ลมงวงช้าง ก็เรียก; ตัวลำยองที่ทำเป็นงวงเกี่ยวอยู่ตรงแปงวง. |
งวง เขียนว่า งอ-งู-วอ-แหวน-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไก่ขนาดใหญ่ชนิด Meleagris gallopavo ในวงศ์ Meleagrididae ขนสวยงาม คอและหัวเปลือยมีหนังตะปุ่มตะป่ำ เหนือจะงอยปากบนมีหนังเส้นหนึ่งห้อยยาวเหมือนงวง ตัวผู้มักพองขนและรําแพนหาง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ. | งวง ๒ น. ชื่อไก่ขนาดใหญ่ชนิด Meleagris gallopavo ในวงศ์ Meleagrididae ขนสวยงาม คอและหัวเปลือยมีหนังตะปุ่มตะป่ำ เหนือจะงอยปากบนมีหนังเส้นหนึ่งห้อยยาวเหมือนงวง ตัวผู้มักพองขนและรําแพนหาง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ. |
ง่วง เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-วอ-แหวน-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่ร่างกายอยากนอน. | ง่วง ก. อาการที่ร่างกายอยากนอน. |
ง่วงงุน เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-วอ-แหวน-งอ-งู-งอ-งู-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง ง่วงซึม. | ง่วงงุน ก. ง่วงซึม. |
ง่วงเหงา เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-วอ-แหวน-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-งอ-งู-สะ-หระ-อา | [เหฺงา] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีลักษณะง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า. | ง่วงเหงา [เหฺงา] ว. มีลักษณะง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า. |
ง่วงเหงาหาวนอน เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-วอ-แหวน-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-งอ-งู-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-นอ-หนู-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง มีอาการซึมเซาอยากนอนมาก. | ง่วงเหงาหาวนอน ก. มีอาการซึมเซาอยากนอนมาก. |
งวงช้าง เขียนว่า งอ-งู-วอ-แหวน-งอ-งู-ชอ-ช้าง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง (๑) หญ้างวงช้าง. ในวงเล็บ ดู หญ้างวงช้าง เขียนว่า หอ-หีบ-ยอ-หยิง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-วอ-แหวน-งอ-งู-ชอ-ช้าง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู. (๒) กล้วยงวงช้าง. ในวงเล็บ ดู ร้อยหวี เขียนว่า รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-หอ-หีบ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อี. (๓) ดู ไก่ไห้ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-กอ-ไก่-ไม้-เอก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-หอ-หีบ-ไม้-โท (๑). | งวงช้าง ๑ น. (๑) หญ้างวงช้าง. (ดู หญ้างวงช้าง). (๒) กล้วยงวงช้าง. (ดู ร้อยหวี). (๓) ดู ไก่ไห้ (๑). |
งวงช้าง เขียนว่า งอ-งู-วอ-แหวน-งอ-งู-ชอ-ช้าง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่องูนํ้าจืดชนิด Acrochordus javanicus ในวงศ์ Colubridae ตัวนิ่ม เกล็ดเป็นตุ่ม ๆ อาศัยตามแหล่งนํ้าจืดทั่วไป หากินปลาในนํ้า แต่มักขดนอนตามโพรงตลิ่งที่แฉะ ๆ ไม่มีพิษ. | งวงช้าง ๒ น. ชื่องูนํ้าจืดชนิด Acrochordus javanicus ในวงศ์ Colubridae ตัวนิ่ม เกล็ดเป็นตุ่ม ๆ อาศัยตามแหล่งนํ้าจืดทั่วไป หากินปลาในนํ้า แต่มักขดนอนตามโพรงตลิ่งที่แฉะ ๆ ไม่มีพิษ. |
งวด เขียนว่า งอ-งู-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง คราวที่กำหนด เช่น การออกรางวัลสลากกินแบ่งออกเป็นงวด, ลักษณนามเรียกจำนวนนับของคราวที่กำหนด เช่น แบ่งการชำระหนี้ออกเป็น ๕ งวด. เป็นคำกริยา หมายถึง ลดลงไป, พร่องลงไป, แห้งลงไป, เช่น น้ำงวดลง. | งวด น. คราวที่กำหนด เช่น การออกรางวัลสลากกินแบ่งออกเป็นงวด, ลักษณนามเรียกจำนวนนับของคราวที่กำหนด เช่น แบ่งการชำระหนี้ออกเป็น ๕ งวด. ก. ลดลงไป, พร่องลงไป, แห้งลงไป, เช่น น้ำงวดลง. |
ง่วน เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เพลินทําเพลินเล่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. ในวงเล็บ มาจากภาษาจีน หง่วน เขียนว่า หอ-หีบ-งอ-งู-ไม้-เอก-วอ-แหวน-นอ-หนู. | ง่วน ว. เพลินทําเพลินเล่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (จ. หง่วน). |
ง้วน เขียนว่า งอ-งู-ไม้-โท-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกโอชะของบางสิ่ง เช่น ง้วนดิน คือ โอชะของดิน ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉัยว่ามีรสหวาน, ง้วนผึ้ง คือ ละอองดอกไม้ที่ผึ้งนํามาสะสมไว้ที่รัง มีสีเหลือง มีรสมัน หอมหวาน. | ง้วน ๑ น. เรียกโอชะของบางสิ่ง เช่น ง้วนดิน คือ โอชะของดิน ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉัยว่ามีรสหวาน, ง้วนผึ้ง คือ ละอองดอกไม้ที่ผึ้งนํามาสะสมไว้ที่รัง มีสีเหลือง มีรสมัน หอมหวาน. |
ง้วน เขียนว่า งอ-งู-ไม้-โท-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ยางมีพิษ ใบเหมือนใบเงิน ดอกแดง ต้นเหมือนต้นสลอด. ในวงเล็บ มาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓; ยาพิษ. | ง้วน ๒ น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ยางมีพิษ ใบเหมือนใบเงิน ดอกแดง ต้นเหมือนต้นสลอด. (พจน. ๒๔๙๓); ยาพิษ. |
งวยงง เขียนว่า งอ-งู-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-งอ-งู-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง เคลิบเคลิ้ม, เผลอสติ, มึนงง, งงงวย ก็ว่า. | งวยงง ก. เคลิบเคลิ้ม, เผลอสติ, มึนงง, งงงวย ก็ว่า. |
งอ เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ลักษณะที่มีส่วนปลายหักโค้งเข้าหาตัวมันเองเช่นรูปอย่างขอ; เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจเป็นต้นว่า หน้างอ. เป็นคำกริยา หมายถึง ทําให้มีรูปหรือเป็นเช่นนั้น, เรียกอาการของคนที่หัวเราะจนตัวงอว่า หัวเราะงอ. | งอ ว. ลักษณะที่มีส่วนปลายหักโค้งเข้าหาตัวมันเองเช่นรูปอย่างขอ; เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจเป็นต้นว่า หน้างอ. ก. ทําให้มีรูปหรือเป็นเช่นนั้น, เรียกอาการของคนที่หัวเราะจนตัวงอว่า หัวเราะงอ. |
งอก่อ, งอก่องอขิง งอก่อ เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-ไม้-เอก-ออ-อ่าง งอก่องอขิง เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู-ออ-อ่าง-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อิ-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ตัวงอหรือทําตัวงอ เพราะร้อนหรือหนาวมากเป็นต้น. | งอก่อ, งอก่องอขิง ว. อาการที่ตัวงอหรือทําตัวงอ เพราะร้อนหรือหนาวมากเป็นต้น. |
งอขี้กล้อง เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ถูกทำร้ายบริเวณท้องจนล้มลงกับพื้นในลักษณะตัวงอคล้ายคนนอนสูบฝิ่น. | งอขี้กล้อง (ปาก) ว. อาการที่ถูกทำร้ายบริเวณท้องจนล้มลงกับพื้นในลักษณะตัวงอคล้ายคนนอนสูบฝิ่น. |
งอมืองอตีน เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-งอ-งู-ออ-อ่าง-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อี-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายทําการงาน, ไม่คิดสู้. | งอมืองอตีน ก. เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายทําการงาน, ไม่คิดสู้. |
งอหาย เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ร้องไห้หรือหัวเราะจนเสียงเงียบหายไป. | งอหาย ว. อาการที่ร้องไห้หรือหัวเราะจนเสียงเงียบหายไป. |
ง้อ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง ขอคืนดีด้วย, ขอพึ่งพาอาศัย. | ง้อ ก. ขอคืนดีด้วย, ขอพึ่งพาอาศัย. |
ง้องอน เขียนว่า งอ-งู-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง อ้อนวอนขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอมหรือช่วยเหลือ, งอนง้อ ก็ว่า. | ง้องอน ก. อ้อนวอนขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอมหรือช่วยเหลือ, งอนง้อ ก็ว่า. |
งอก เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่เมล็ดผลไม้แตกเป็นต้นขึ้น; ผลิออก, แตกออก, เช่น รากงอก ยอดงอก; เพิ่มปริมาณมากขึ้น (ใช้เฉพาะของบางอย่าง) เช่น เงินงอก แผ่นดินงอก เนื้องอก; เรียกหน้าผากที่กว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติว่า หน้างอก. | งอก ๑ ก. อาการที่เมล็ดผลไม้แตกเป็นต้นขึ้น; ผลิออก, แตกออก, เช่น รากงอก ยอดงอก; เพิ่มปริมาณมากขึ้น (ใช้เฉพาะของบางอย่าง) เช่น เงินงอก แผ่นดินงอก เนื้องอก; เรียกหน้าผากที่กว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติว่า หน้างอก. |
งอกงาม เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-งอ-งู-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง เจริญผลิดอกออกผล. | งอกงาม ก. เจริญผลิดอกออกผล. |
งอกเงย เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง มีผลประโยชน์หรือรายได้เพิ่มมากขึ้น. | งอกเงย ก. มีผลประโยชน์หรือรายได้เพิ่มมากขึ้น. |
งอก เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกต้นอ่อนที่งอกออกจากผลบางชนิดมีผลมะพร้าวเมล็ดตาลเป็นต้นว่า งอกมะพร้าว งอกตาล. | งอก ๒ น. เรียกต้นอ่อนที่งอกออกจากผลบางชนิดมีผลมะพร้าวเมล็ดตาลเป็นต้นว่า งอกมะพร้าว งอกตาล. |
ง่อกแง่ก เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โยกคลอนไปมา, ไม่แน่น, ไม่มั่นคง. | ง่อกแง่ก ว. โยกคลอนไปมา, ไม่แน่น, ไม่มั่นคง. |
ง่อง เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกสายโยงคางม้าไม่ให้เงยว่า สายง่อง. | ง่อง น. เรียกสายโยงคางม้าไม่ให้เงยว่า สายง่อง. |
ง่องแง่ง เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ร่างกายไม่แข็งแรงทําให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระย่องกระแย่ง หรือ กระง่องกระแง่ง ก็ว่า. เป็นคำกริยา หมายถึง ทะเลาะเบาะแว้งกัน, ไม่ปรองดองกัน. | ง่องแง่ง ว. อาการที่ร่างกายไม่แข็งแรงทําให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระย่องกระแย่ง หรือ กระง่องกระแง่ง ก็ว่า. ก. ทะเลาะเบาะแว้งกัน, ไม่ปรองดองกัน. |
งอแง เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-สะ-หระ-แอ-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ขี้แย, ขี้อ้อน, (ใช้แก่เด็ก); ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง รวนเร, บิดพลิ้ว; เอาใจยาก. | งอแง ว. ขี้แย, ขี้อ้อน, (ใช้แก่เด็ก); (ปาก) รวนเร, บิดพลิ้ว; เอาใจยาก. |
งอด เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่องูจําพวกงูปี่แก้วในวงศ์ Colubridae ขนาดเล็กประมาณเท่าดินสอดํา ส่วนใหญ่ลําตัวสีเทา ท้องเป็นจุดสีแดงและดํา ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งอดท้องแดง (Oligodon taeniatus) งอดด่าง (O. cinereus). | งอด น. ชื่องูจําพวกงูปี่แก้วในวงศ์ Colubridae ขนาดเล็กประมาณเท่าดินสอดํา ส่วนใหญ่ลําตัวสีเทา ท้องเป็นจุดสีแดงและดํา ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น งอดท้องแดง (Oligodon taeniatus) งอดด่าง (O. cinereus). |
งอดแงด เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กระเง้ากระงอด, กะบึงกะบอน. | งอดแงด ว. กระเง้ากระงอด, กะบึงกะบอน. |
งอน เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนปลายแห่งของบางอย่างที่เป็นรูปยาวเรียวและช้อยขึ้น เช่น งอนไถ. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ช้อยขึ้น, โง้งขึ้น. เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงอาการโกรธเคืองหรือไม่พอใจเพื่อให้เขาง้อ, ทําจริตสะบัดสะบิ้ง. | งอน ๑ น. ส่วนปลายแห่งของบางอย่างที่เป็นรูปยาวเรียวและช้อยขึ้น เช่น งอนไถ. ว. ช้อยขึ้น, โง้งขึ้น. ก. แสดงอาการโกรธเคืองหรือไม่พอใจเพื่อให้เขาง้อ, ทําจริตสะบัดสะบิ้ง. |
งอนง้อ เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-นอ-หนู-งอ-งู-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง อ้อนวอนขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอมหรือช่วยเหลือ, ง้องอน ก็ว่า. | งอนง้อ ก. อ้อนวอนขอคืนดีด้วย, อ่อนเข้าหาเพื่อให้ยอมหรือช่วยเหลือ, ง้องอน ก็ว่า. |
งอนไถ เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ถอ-ถุง | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฆา มี ๕ ดวง, ดาวงูผู้ ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวมฆะ หรือ ดาวมาฆะ ก็เรียก. | งอนไถ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฆา มี ๕ ดวง, ดาวงูผู้ ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวมฆะ หรือ ดาวมาฆะ ก็เรียก. |
งอน เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง งาม ในคำว่า งามงอน. (งอน อะหม ว่า งาม). | งอน ๒ ว. งาม ในคำว่า งามงอน. (งอน อะหม ว่า งาม). |
ง่อน เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ก้อนดินหรือหินที่ตั้งสูงขึ้นไป เช่น เงื้อมง่อน ว่า เงื้อมแห่งก้อนดินหรือหินที่ตั้งสูงขึ้นไป. | ง่อน น. ก้อนดินหรือหินที่ตั้งสูงขึ้นไป เช่น เงื้อมง่อน ว่า เงื้อมแห่งก้อนดินหรือหินที่ตั้งสูงขึ้นไป. |
ง่อนแง่น เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คลอนแคลน, ไม่แน่น, ไม่มั่นคง, กระง่อนกระแง่น ก็ว่า. | ง่อนแง่น ว. คลอนแคลน, ไม่แน่น, ไม่มั่นคง, กระง่อนกระแง่น ก็ว่า. |
งอนหง่อ เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-นอ-หนู-หอ-หีบ-งอ-งู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คู้ตัวงอตัว เป็นอาการของคนที่กลัวมากหรือหนาวมากเป็นต้น. | งอนหง่อ ว. คู้ตัวงอตัว เป็นอาการของคนที่กลัวมากหรือหนาวมากเป็นต้น. |
ง้อนหมู เขียนว่า งอ-งู-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู | เป็นคำนาม หมายถึง หญ้าแห้วหมู. ในวงเล็บ มาจาก ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐. | ง้อนหมู น. หญ้าแห้วหมู. (โอสถพระนารายณ์). |
งอบ เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสวมหัวสําหรับกันแดดและฝน สานด้วยตอกไม้ไผ่ กรุด้านนอกด้วยใบลาน รูปคล้ายกระจาดควํ่า มีรังสําหรับสวม. | งอบ น. เครื่องสวมหัวสําหรับกันแดดและฝน สานด้วยตอกไม้ไผ่ กรุด้านนอกด้วยใบลาน รูปคล้ายกระจาดควํ่า มีรังสําหรับสวม. |
งอม เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สุกจัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น กล้วยงอม มะม่วงงอม, โดยอนุโลมใช้กับคนที่แก่มากจนทำอะไรไม่ไหว เช่น ปีนี้คุณยายดูงอมมาก, โดยปริยายหมายความว่า แย่ เช่น ถูกใช้ให้ทํางานเสียงอม, บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียงอม, ได้รับทุกข์ทรมานมาก เช่น เป็นไข้เสียงอม. | งอม ว. สุกจัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น กล้วยงอม มะม่วงงอม, โดยอนุโลมใช้กับคนที่แก่มากจนทำอะไรไม่ไหว เช่น ปีนี้คุณยายดูงอมมาก, โดยปริยายหมายความว่า แย่ เช่น ถูกใช้ให้ทํางานเสียงอม, บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียงอม, ได้รับทุกข์ทรมานมาก เช่น เป็นไข้เสียงอม. |
งอมแงม เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-งอ-งู-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เลิกได้ยาก เช่น ติดฝิ่นงอมแงม, แก้ได้ยาก, รักษาได้ยาก, เช่น เจ็บงอมแงม. | งอมแงม ว. เลิกได้ยาก เช่น ติดฝิ่นงอมแงม, แก้ได้ยาก, รักษาได้ยาก, เช่น เจ็บงอมแงม. |
งอมพระราม เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีความทุกข์ยากลําบากเต็มที่ เช่น ทศกัณฐ์จะงอมพระรามที่ไหน เกรงพระรามจะงอมพระรามไปเองเสียอีก. ในวงเล็บ มาจาก วารสารลักวิทยา. | งอมพระราม (สำ) ว. มีความทุกข์ยากลําบากเต็มที่ เช่น ทศกัณฐ์จะงอมพระรามที่ไหน เกรงพระรามจะงอมพระรามไปเองเสียอีก. (ลักวิทยา). |
ง้อม เขียนว่า งอ-งู-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง งํ้า, ค้อม เช่น กิ่งไม้ง้อมลงเพราะลูกดก. | ง้อม ว. งํ้า, ค้อม เช่น กิ่งไม้ง้อมลงเพราะลูกดก. |
งอย เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง อยู่หมิ่น, ตั้งอยู่หมิ่น, ห้อย. | งอย ๑ ก. อยู่หมิ่น, ตั้งอยู่หมิ่น, ห้อย. |
งอย เขียนว่า งอ-งู-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง คอย เช่น งอยท่า. | งอย ๒ ก. คอย เช่น งอยท่า. |
ง่อย เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่แขนหรือขาพิการเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างปรกติ. | ง่อย ว. อาการที่แขนหรือขาพิการเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างปรกติ. |
ง่อยเปลี้ยเสียขา เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีร่างกายพิการจนเดินไม่ได้อย่างปรกติ. | ง่อยเปลี้ยเสียขา ว. มีร่างกายพิการจนเดินไม่ได้อย่างปรกติ. |
งะ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อะ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ง เป็นพยัญชนะต้น มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น งะงก งะงัน งะโง้ง. | งะ (โบ) คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ง เป็นพยัญชนะต้น มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น งะงก งะงัน งะโง้ง. |
งัก ๆ, งั่ก ๆ งัก ๆ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก งั่ก ๆ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่สั่นสะท้าน, อาการที่เดินสั่น ๆ มา. | งัก ๆ, งั่ก ๆ ว. อาการที่สั่นสะท้าน, อาการที่เดินสั่น ๆ มา. |
งั่ก เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มาก เช่น แก่งั่ก หนาวงั่ก. | งั่ก ว. มาก เช่น แก่งั่ก หนาวงั่ก. |
งัง ๆ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่เดินโดยด่วน. | งัง ๆ ว. อาการที่เดินโดยด่วน. |
งั่ง เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง รูปหล่อด้วยโลหะเหมือนพระพุทธรูป แต่ไม่มีผ้าพาด, เรียกพระพุทธรูปที่ยังไม่ได้ทําพิธีเบิกพระเนตร. | งั่ง ๑ น. รูปหล่อด้วยโลหะเหมือนพระพุทธรูป แต่ไม่มีผ้าพาด, เรียกพระพุทธรูปที่ยังไม่ได้ทําพิธีเบิกพระเนตร. |
งั่ง เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โง่ไม่เป็นประสีประสา. | งั่ง ๒ ว. โง่ไม่เป็นประสีประสา. |
งั่ง เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง. ในวงเล็บ มาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓. | งั่ง ๓ น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓). |
งัด เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําให้เผยอหรือเคลื่อนที่โดยใช้วัตถุยาวคัด เช่น งัดตะปู งัดซุง; นําออกมาจากที่เก็บ เช่น งัดเอาเครื่องลายครามมาอวด, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งัดเอาเรื่องเก่ามาพูด. | งัด ก. ทําให้เผยอหรือเคลื่อนที่โดยใช้วัตถุยาวคัด เช่น งัดตะปู งัดซุง; นําออกมาจากที่เก็บ เช่น งัดเอาเครื่องลายครามมาอวด, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งัดเอาเรื่องเก่ามาพูด. |
งัดข้อ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง เกร็งแขนขัดกัน แล้วออกกําลังกดให้แขนอีกฝ่ายหนึ่งล้มลง, โดยปริยายหมายความว่า โต้เถียงกัน, มีความเห็นขัดแย้งกัน, ไม่ลงรอยกัน. | งัดข้อ ก. เกร็งแขนขัดกัน แล้วออกกําลังกดให้แขนอีกฝ่ายหนึ่งล้มลง, โดยปริยายหมายความว่า โต้เถียงกัน, มีความเห็นขัดแย้งกัน, ไม่ลงรอยกัน. |
งัน เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง หยุดชะงัก เช่น นิ่งงัน, ไม่งอกงาม เช่น ต้นไม้งันไป, อาการที่ชะงักนิ่งอึ้งไปชั่วขณะเพราะคาดไม่ถึง ในคำว่า ตะลึงงัน. | งัน ก. หยุดชะงัก เช่น นิ่งงัน, ไม่งอกงาม เช่น ต้นไม้งันไป, อาการที่ชะงักนิ่งอึ้งไปชั่วขณะเพราะคาดไม่ถึง ในคำว่า ตะลึงงัน. |
งันงก เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-งอ-งู-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สั่นเงอะงะอยู่, สะทกสะท้านอยู่. | งันงก ว. สั่นเงอะงะอยู่, สะทกสะท้านอยู่. |
งับ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง ปิดอย่างไม่สนิทหรือปิดอย่างไม่ลงกลอน เช่น งับประตู; อาการที่อ้าปากคาบหรือกัดโดยเร็ว. | งับ ก. ปิดอย่างไม่สนิทหรือปิดอย่างไม่ลงกลอน เช่น งับประตู; อาการที่อ้าปากคาบหรือกัดโดยเร็ว. |
งับแง เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-แอ-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง แง้ม, ปิดไม่สนิท. | งับแง ก. แง้ม, ปิดไม่สนิท. |
งัว เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง วัว, โค ก็เรียก. | งัว ๑ น. วัว, โค ก็เรียก. |
งัว ๒, งั่ว ๑ งัว ความหมายที่ ๒ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน งั่ว ความหมายที่ ๑ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ลูกชายคนที่ ๕. | งัว ๒, งั่ว ๑ (โบ) น. ลูกชายคนที่ ๕. |
งัว เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้รับกงพัดที่โคนเสา ๒ อันเพื่อกันไม่ให้เสาทรุดลงไปในหลุม. | งัว ๓ น. ไม้รับกงพัดที่โคนเสา ๒ อันเพื่อกันไม่ให้เสาทรุดลงไปในหลุม. |
งัว เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน ความหมายที่ ๔ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae, Balistidae, Anacanthidae ผิวหนังหยาบเหนียวหรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน ฟันเป็นแผ่น ใช้แทะเล็มหาอาหารตามแนวปะการังและพื้นท้องทะเล ก้านครีบหลังก้านแรกและครีบท้องเป็นแท่งกระดูกใหญ่คล้ายเขาสัตว์, บางชนิดมีชื่อเรียกว่า วัว หรือ กวาง. | งัว ๔ น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae, Balistidae, Anacanthidae ผิวหนังหยาบเหนียวหรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน ฟันเป็นแผ่น ใช้แทะเล็มหาอาหารตามแนวปะการังและพื้นท้องทะเล ก้านครีบหลังก้านแรกและครีบท้องเป็นแท่งกระดูกใหญ่คล้ายเขาสัตว์, บางชนิดมีชื่อเรียกว่า วัว หรือ กวาง. |
งั่ว เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิด Anhinga melanogaster ในวงศ์ Anhingidae ปากยาวตรงสีเหลือง ปลายแหลมมาก คอโค้งยาวคล้ายเคียว ขนดํา ปีกและหลังมีลายสีขาว ตีนมีแผ่นพังผืดติดกันทั้ง ๔ นิ้วคล้ายตีนเป็ด ดํานํ้าจับปลาโดยใช้ปากแทง, อ้ายงั่ว ก็เรียก. | งั่ว ๒ น. ชื่อนกชนิด Anhinga melanogaster ในวงศ์ Anhingidae ปากยาวตรงสีเหลือง ปลายแหลมมาก คอโค้งยาวคล้ายเคียว ขนดํา ปีกและหลังมีลายสีขาว ตีนมีแผ่นพังผืดติดกันทั้ง ๔ นิ้วคล้ายตีนเป็ด ดํานํ้าจับปลาโดยใช้ปากแทง, อ้ายงั่ว ก็เรียก. |
งัวเงีย เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง อาการที่คนแรกตื่นยังง่วงอยู่. | งัวเงีย ก. อาการที่คนแรกตื่นยังง่วงอยู่. |
งัวซัง เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-ซอ-โซ่-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้พุ่มชนิด Capparis thorelii Gagnep. ในวงศ์ Capparidaceae ลําต้นมีหนามโค้ง ดอกสีชมพู. | งัวซัง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Capparis thorelii Gagnep. ในวงศ์ Capparidaceae ลําต้นมีหนามโค้ง ดอกสีชมพู. |
งัวเลีย เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกผมที่หน้าผากซึ่งตั้งชันขึ้นไปแล้วปลายย้อนกลับลงมา. | งัวเลีย ๑ น. เรียกผมที่หน้าผากซึ่งตั้งชันขึ้นไปแล้วปลายย้อนกลับลงมา. |
งัวเลีย เขียนว่า งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๒ | ดู ไก่ไห้ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-กอ-ไก่-ไม้-เอก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-หอ-หีบ-ไม้-โท (๑). | งัวเลีย ๒ ดู ไก่ไห้ (๑). |
งา เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sesamum orientale L. ในวงศ์ Pedaliaceae ผลเป็นฝัก มีเมล็ดเล็ก ๆ สีขาวหรือดํา ใช้ประกอบอาหารหรือสกัดนํ้ามัน. | งา ๑ น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sesamum orientale L. ในวงศ์ Pedaliaceae ผลเป็นฝัก มีเมล็ดเล็ก ๆ สีขาวหรือดํา ใช้ประกอบอาหารหรือสกัดนํ้ามัน. |
งาตัด เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยงากวนกับนํ้าตาลแล้วตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมคล้ายข้าวพองในเครื่องจันอับ. | งาตัด น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยงากวนกับนํ้าตาลแล้วตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมคล้ายข้าวพองในเครื่องจันอับ. |
งาลั่ว เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยงาคั่วให้สุกแล้วเคล้ากับน้ำตาลเคี่ยว ทำเป็นแผ่นบาง ๆ ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม. | งาลั่ว น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยงาคั่วให้สุกแล้วเคล้ากับน้ำตาลเคี่ยว ทำเป็นแผ่นบาง ๆ ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม. |
งา เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ฟันตัดแถวบนที่งอกออกจากปากช้าง, ลักษณนามเรียก กิ่ง. | งา ๒ น. ฟันตัดแถวบนที่งอกออกจากปากช้าง, ลักษณนามเรียก กิ่ง. |
งากำจาย เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-อำ-จอ-จาน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง งาช้างที่หักติดอยู่ในไม้หรือสิ่งอื่น ๆ. | งากำจาย น. งาช้างที่หักติดอยู่ในไม้หรือสิ่งอื่น ๆ. |
งาเครือ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง งาช้างที่ยาวมากแต่วงรอบเล็ก. | งาเครือ น. งาช้างที่ยาวมากแต่วงรอบเล็ก. |
งาเนียม เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง งาช้างที่ใหญ่แต่สั้นและมักจะชี้ตรง, เรียกช้างที่มีงาเช่นนั้นว่า ช้างงาเนียม. | งาเนียม น. งาช้างที่ใหญ่แต่สั้นและมักจะชี้ตรง, เรียกช้างที่มีงาเช่นนั้นว่า ช้างงาเนียม. |
งาสาน เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เรียกพัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี ว่า พัดงาสาน, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า คามวาสี อรัญวาสี มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี. | งาสาน (โบ) น. เรียกพัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี ว่า พัดงาสาน, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า คามวาสี อรัญวาสี มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี. |
งา เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนหนึ่งของเครื่องดักสัตว์เช่นลอบหรือไซ ทําเป็นซี่ ๆ ปลายสอบเข้าหากันเพื่อไม่ให้ปลาที่เข้าไปแล้วออกมาได้. | งา ๓ น. ส่วนหนึ่งของเครื่องดักสัตว์เช่นลอบหรือไซ ทําเป็นซี่ ๆ ปลายสอบเข้าหากันเพื่อไม่ให้ปลาที่เข้าไปแล้วออกมาได้. |
งาแซง เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-ซอ-โซ่-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง งาอย่างหนึ่งคล้ายงาลอบงาไซกันไม่ให้ของข้างในออก แต่ใส่ลงไปได้ ใช้สวมปากข้องปากลันเป็นต้น; เสาเสี้ยมปลายที่ปักตะแคงระหว่างเสาระเนียด เพื่อกันไม่ให้ช้างกระแทกเสาระเนียด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น สําหรับตั้งกีดขวางทางเข้าประตูค่ายเป็นต้น. | งาแซง น. งาอย่างหนึ่งคล้ายงาลอบงาไซกันไม่ให้ของข้างในออก แต่ใส่ลงไปได้ ใช้สวมปากข้องปากลันเป็นต้น; เสาเสี้ยมปลายที่ปักตะแคงระหว่างเสาระเนียด เพื่อกันไม่ให้ช้างกระแทกเสาระเนียด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น สําหรับตั้งกีดขวางทางเข้าประตูค่ายเป็นต้น. |
งา เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๔ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด Thryssa setirostris ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือครีบก้น ลําตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลําตัวสีเงินอมเหลืองส้ม. | งา ๔ น. ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด Thryssa setirostris ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือครีบก้น ลําตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลําตัวสีเงินอมเหลืองส้ม. |
ง่า เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง เงื้อ, อ้า, กางออก. เป็นคำนาม หมายถึง ค่าคบไม้. | ง่า ๑ ก. เงื้อ, อ้า, กางออก. น. ค่าคบไม้. |
ง่า เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปยักษ์หรือลิงในท่าเหาะ ว่า หนังง่า. ในวงเล็บ มาจาก ลัทธิธรรมเนียมภาคต่าง ๆ ฉบับกรมศิลปากร. | ง่า ๒ น. เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปยักษ์หรือลิงในท่าเหาะ ว่า หนังง่า. (ลัทธิ). |
ง้าง เขียนว่า งอ-งู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ทำให้อ้าออก เช่น ง้างประตู, ดึงให้ยืดออก เช่น ง้างศร, งัด เช่น ง้างปาก, เหนี่ยว เช่น ง้างไกปืน, เงื้อ เช่น ง้างหมัด. | ง้าง ก. ทำให้อ้าออก เช่น ง้างประตู, ดึงให้ยืดออก เช่น ง้างศร, งัด เช่น ง้างปาก, เหนี่ยว เช่น ง้างไกปืน, เงื้อ เช่น ง้างหมัด. |
ง่าเงย เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง เป็นสง่า, เปิดเผย. | ง่าเงย ก. เป็นสง่า, เปิดเผย. |
งาช้าง เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง (๑) ชื่อนํ้าเต้าพันธุ์หนึ่ง ผลยาวคล้ายงาช้าง. ในวงเล็บ ดู นํ้าเต้า เขียนว่า นอ-หนู-นิก-คะ-หิด-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ไม้-โท-สะ-หระ-อา (๑). (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sansevieria cylindrica Boijer ในวงศ์ Agavaceae ใบกลมเป็นแท่ง สีเขียวเข้ม ใช้เป็นยาทําให้อาเจียน. | งาช้าง ๑ น. (๑) ชื่อนํ้าเต้าพันธุ์หนึ่ง ผลยาวคล้ายงาช้าง. [ดู นํ้าเต้า (๑)]. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sansevieria cylindrica Boijer ในวงศ์ Agavaceae ใบกลมเป็นแท่ง สีเขียวเข้ม ใช้เป็นยาทําให้อาเจียน. |
งาช้าง เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อหอยทะเลในชั้น Scaphopoda เปลือกมีรูปร่างคล้ายงาช้าง ส่วนมากเป็นสีขาว มีหลายชนิด เช่น ชนิด Dentalium aprinum, D. longitrorsum, ฟันช้าง ก็เรียก. | งาช้าง ๒ น. ชื่อหอยทะเลในชั้น Scaphopoda เปลือกมีรูปร่างคล้ายงาช้าง ส่วนมากเป็นสีขาว มีหลายชนิด เช่น ชนิด Dentalium aprinum, D. longitrorsum, ฟันช้าง ก็เรียก. |
งาช้าง เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชษฐา มี ๑๔ ดวง, ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค ดาวแพะ หรือ ดาวเชษฐะ ก็เรียก. | งาช้าง ๓ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชษฐา มี ๑๔ ดวง, ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค ดาวแพะ หรือ ดาวเชษฐะ ก็เรียก. |
งาไซ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ซอ-โซ่ | ดู ตังโอ๋ เขียนว่า ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-ออ-อ่าง-ไม้-จัด-ตะ-วา. | งาไซ ดู ตังโอ๋. |
งาน เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งหรือกิจกรรมที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคำ การ เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน; การพิธีหรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน เช่น งานบวช งานปีใหม่. | งาน ๑ น. สิ่งหรือกิจกรรมที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคำ การ เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน; การพิธีหรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน เช่น งานบวช งานปีใหม่. |
งานการ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง กิจการที่ทํา. | งานการ น. กิจการที่ทํา. |
งานพิเศษ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-พอ-พาน-สะ-หระ-อิ-สะ-หระ-เอ-สอ-สา-ลา-สอ-รือ-สี | เป็นคำนาม หมายถึง งานที่ทำนอกเหนือจากงานประจำ. | งานพิเศษ น. งานที่ทำนอกเหนือจากงานประจำ. |
งานสารบรรณ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-บอ-ไบ-ไม้-รอ-เรือ-รอ-เรือ-นอ-เนน | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลายเอกสาร. | งานสารบรรณ (กฎ) น. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลายเอกสาร. |
งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-วอ-แหวน-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-เอก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ไม้-โท-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก งอ-งู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-สอ-รือ-สี-ดอ-ชะ-ดา-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-เอก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ไม้-โท-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน หมายถึง ทํางานไม่บกพร่องทั้งงานส่วนรวมและส่วนตัว, ใช้เพี้ยนว่า งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย ก็มี. | งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย (สำ) ทํางานไม่บกพร่องทั้งงานส่วนรวมและส่วนตัว, ใช้เพี้ยนว่า งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย ก็มี. |
งานอดิเรก เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อิ-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง งานที่ทำเพื่อความเพลิดเพลิน. | งานอดิเรก น. งานที่ทำเพื่อความเพลิดเพลิน. |
งาน เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง มาตราวัดเนื้อที่ตามวิธีประเพณี เท่ากับ ๑๐๐ ตารางวา หรือ ๔๐๐ ตารางเมตร, ลักษณนามเรียกเนื้อที่ ๑๐๐ ตารางวา หรือ ๔๐๐ ตารางเมตรว่า งานหนึ่ง หรือ ๑ งาน, อักษรย่อว่า ง. | งาน ๒ น. มาตราวัดเนื้อที่ตามวิธีประเพณี เท่ากับ ๑๐๐ ตารางวา หรือ ๔๐๐ ตารางเมตร, ลักษณนามเรียกเนื้อที่ ๑๐๐ ตารางวา หรือ ๔๐๐ ตารางเมตรว่า งานหนึ่ง หรือ ๑ งาน, อักษรย่อว่า ง. |
งาน เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๓ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในวิทยาศาสตร์ เป็นคำนาม หมายถึง ผลของแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ คำนวณได้จากผลคูณของแรงกับระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่. | งาน ๓ (วิทยา) น. ผลของแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ คำนวณได้จากผลคูณของแรงกับระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่. |
ง่าน เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง ดิ้นรนกระวนกระวาย (มักใช้แก่ของเสพติดและกามคุณ). | ง่าน ๑ ก. ดิ้นรนกระวนกระวาย (มักใช้แก่ของเสพติดและกามคุณ). |
ง่าน เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง งุ่นง่าน เช่น มารดาเห็นบุตรเงื้อ ง่านใจ. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตนิทราชาคริต พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. | ง่าน ๒ (กลอน) ก. งุ่นง่าน เช่น มารดาเห็นบุตรเงื้อ ง่านใจ. (นิทราชาคริต). |
งาบ ๆ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), พะงาบ พะงาบ ๆ ปะงาบ หรือ ปะงาบ ๆ ก็ว่า. [ไทยขาว งาบ ว่า อ้า, งาบสบ ว่า อ้าปาก (เพื่อหายใจ)]. | งาบ ๆ ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), พะงาบ พะงาบ ๆ ปะงาบ หรือ ปะงาบ ๆ ก็ว่า. [ไทยขาว งาบ ว่า อ้า, งาบสบ ว่า อ้าปาก (เพื่อหายใจ)]. |
งาม เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ลักษณะที่เห็นแล้วชวนให้ชื่นชมหรือพึงใจ เช่น มารยาทงาม รูปงาม; มีลักษณะสมบูรณ์ดี เช่น ต้นไม้งาม ปีนี้ฝนงาม; ดี, มาก, มีลักษณะที่เป็นไปตามต้องการ, เช่น กําไรงาม ธนาคารนี้จ่ายดอกเบี้ยงาม. | งาม ว. ลักษณะที่เห็นแล้วชวนให้ชื่นชมหรือพึงใจ เช่น มารยาทงาม รูปงาม; มีลักษณะสมบูรณ์ดี เช่น ต้นไม้งาม ปีนี้ฝนงาม; ดี, มาก, มีลักษณะที่เป็นไปตามต้องการ, เช่น กําไรงาม ธนาคารนี้จ่ายดอกเบี้ยงาม. |
งามงอน เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-งอ-งู-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สวยงาม. | งามงอน ว. สวยงาม. |
งามแงะ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-งอ-งู-สะ-หระ-อะ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง งามน่าดู เช่น เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ แฮะแฮะว่าเล่นหรือว่าจริง. ในวงเล็บ มาจากเรื่อง สังข์ทอง ใน แบบเรียนกวีนิพนธ์. | งามแงะ (กลอน) ว. งามน่าดู เช่น เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ แฮะแฮะว่าเล่นหรือว่าจริง. (สังข์ทอง). |
งามหน้า เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง น่าขายหน้า, ใช้เป็นคําประชด เช่น เขาทำงามหน้าละคราวนี้. | งามหน้า ว. น่าขายหน้า, ใช้เป็นคําประชด เช่น เขาทำงามหน้าละคราวนี้. |
ง่าม เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น ๒ หรือ ๓ เป็นต้น เช่น ง่ามไม้ ไม้ง่าม สามง่าม, โดยปริยายใช้หมายถึงถ้อยคําที่มีความหมายได้ ๒ ทาง คือ ทั้งทางสุภาพและไม่สุภาพ เช่น พูดสองง่าม. | ง่าม ๑ น. ลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น ๒ หรือ ๓ เป็นต้น เช่น ง่ามไม้ ไม้ง่าม สามง่าม, โดยปริยายใช้หมายถึงถ้อยคําที่มีความหมายได้ ๒ ทาง คือ ทั้งทางสุภาพและไม่สุภาพ เช่น พูดสองง่าม. |
ง่ามถ่อ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-ถอ-ถุง-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง ไม้ที่มีรูปร่างโค้งคล้ายง่ามมือที่เสียบปลายถ่อเอาไว้สำหรับให้หัวไหล่ดันถ่อได้ถนัด มักจะใช้ผ้าพันเพื่อกันไม่ให้ไหล่เจ็บ, เหล็กที่มีรูปร่างโค้งคล้ายเขาควายมีปลอกอัดที่โคนถ่อ ใช้สำหรับตู๊เรือหรือสำหรับกดลงในดินเพื่อไม่ให้โคนถ่อจมลึกลงไป, ลักษณะหัวที่มีผมเถิกเข้าไปเป็น ๒ แฉกเหมือนง่ามถ่อ. | ง่ามถ่อ น. ไม้ที่มีรูปร่างโค้งคล้ายง่ามมือที่เสียบปลายถ่อเอาไว้สำหรับให้หัวไหล่ดันถ่อได้ถนัด มักจะใช้ผ้าพันเพื่อกันไม่ให้ไหล่เจ็บ, เหล็กที่มีรูปร่างโค้งคล้ายเขาควายมีปลอกอัดที่โคนถ่อ ใช้สำหรับตู๊เรือหรือสำหรับกดลงในดินเพื่อไม่ให้โคนถ่อจมลึกลงไป, ลักษณะหัวที่มีผมเถิกเข้าไปเป็น ๒ แฉกเหมือนง่ามถ่อ. |
ง่ามมือ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง ช่วงโค้งระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้. | ง่ามมือ น. ช่วงโค้งระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้. |
ง่าม เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อมดขนาดเล็กชนิด Phidologeton diversus ในวงศ์ Formicidae สีนํ้าตาลแก่จนเกือบดําตลอดตัว อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ในฝูงจะพบพวกที่ทําหน้าที่เฝ้ารังขนาดใหญ่กว่าตัวธรรมดา ๒๓ เท่าปะปนอยู่ มีขากรรไกรหน้าเห็นเป็นง่ามใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นดิน ใกล้บ้านเรือน เดินกันเป็นทาง ขนเศษอาหาร หรืออาจพบในแปลงปลูกพืช. | ง่าม ๒ น. ชื่อมดขนาดเล็กชนิด Phidologeton diversus ในวงศ์ Formicidae สีนํ้าตาลแก่จนเกือบดําตลอดตัว อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ในฝูงจะพบพวกที่ทําหน้าที่เฝ้ารังขนาดใหญ่กว่าตัวธรรมดา ๒๓ เท่าปะปนอยู่ มีขากรรไกรหน้าเห็นเป็นง่ามใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นดิน ใกล้บ้านเรือน เดินกันเป็นทาง ขนเศษอาหาร หรืออาจพบในแปลงปลูกพืช. |
งาย เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง เวลาเช้า เช่น พ่อแผนจะไปแต่ในงาย สายแล้วสํารับไม่ยกมา. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือบทเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐-๖๑. | งาย น. เวลาเช้า เช่น พ่อแผนจะไปแต่ในงาย สายแล้วสํารับไม่ยกมา. (ขุนช้างขุนแผน). |
ง่าย เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สะดวก, ไม่ยาก. | ง่าย ว. สะดวก, ไม่ยาก. |
ง่าย ๆ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ธรรมดา ๆ, ไม่ยุ่งยาก. | ง่าย ๆ ว. ธรรมดา ๆ, ไม่ยุ่งยาก. |
ง่ายดาย เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ง่ายมาก, สะดวกมาก. | ง่ายดาย ว. ง่ายมาก, สะดวกมาก. |
ง่าย้อย เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Hydnocarpus kurzii Warb. ในวงศ์ Flacourtiaceae ใบรูปไข่แกมรูปใบหอก ผลกลม สีน้ำตาล. | ง่าย้อย น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Hydnocarpus kurzii Warb. ในวงศ์ Flacourtiaceae ใบรูปไข่แกมรูปใบหอก ผลกลม สีน้ำตาล. |
ง้าว เขียนว่า งอ-งู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง อาวุธชนิดหนึ่ง คล้ายดาบ มีด้ามยาว, ถ้าใต้คอของด้ามมีขอสำหรับสับบังคับช้างได้ เรียกว่า ของ้าว. | ง้าว ๑ น. อาวุธชนิดหนึ่ง คล้ายดาบ มีด้ามยาว, ถ้าใต้คอของด้ามมีขอสำหรับสับบังคับช้างได้ เรียกว่า ของ้าว. |
ง้าว เขียนว่า งอ-งู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bombax anceps Pierre var. cambodiense Robyns ในวงศ์ Bombacaceae ต้นคล้ายต้นงิ้วแต่เปลือกสีเทาดํา ดอกสีแดงคลํ้า ในผลมีปุยขาวใช้ยัดหมอนและที่นอนเป็นต้น. | ง้าว ๒ น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bombax anceps Pierre var. cambodiense Robyns ในวงศ์ Bombacaceae ต้นคล้ายต้นงิ้วแต่เปลือกสีเทาดํา ดอกสีแดงคลํ้า ในผลมีปุยขาวใช้ยัดหมอนและที่นอนเป็นต้น. |
งำ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อำ | เป็นคำกริยา หมายถึง ปิด เช่น งําความ, ปกครอง เช่น งำเมือง, รักษา ในคำว่า เก็บงำ, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา ครอบ เป็น ครอบงํา. | งำ ก. ปิด เช่น งําความ, ปกครอง เช่น งำเมือง, รักษา ในคำว่า เก็บงำ, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา ครอบ เป็น ครอบงํา. |
ง่ำ, ง่ำ ๆ ง่ำ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ ง่ำ ๆ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงขู่ของหมาที่กำลังกินข้าว. เป็นคำกริยา หมายถึง งับเบา ๆ เช่น หมางํ่าน่อง. | ง่ำ, ง่ำ ๆ ว. เสียงขู่ของหมาที่กำลังกินข้าว. ก. งับเบา ๆ เช่น หมางํ่าน่อง. |
ง้ำ เขียนว่า งอ-งู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ยื่นออกไปเกินปรกติจนปลายโน้มลง, โน้มไปทางหน้า เช่น สวมชฎางํ้าหน้า, เรียกหน้าที่มีสีหน้าแสดงอาการโกรธไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจเป็นต้นว่า หน้างํ้า. | ง้ำ ว. ยื่นออกไปเกินปรกติจนปลายโน้มลง, โน้มไปทางหน้า เช่น สวมชฎางํ้าหน้า, เรียกหน้าที่มีสีหน้าแสดงอาการโกรธไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจเป็นต้นว่า หน้างํ้า. |
งิ้ว เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-วอ-แหวน ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ละครจีนแบบโบราณ. | งิ้ว ๑ น. ละครจีนแบบโบราณ. |
งิ้ว เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-วอ-แหวน ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bombax ceiba L. ในวงศ์ Bombacaceae กิ่งก้านและลําต้นมีหนามแหลมคม เปลือกสีเทา ขรุขระ ดอกสีแดงสด ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าว. | งิ้ว ๒ น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bombax ceiba L. ในวงศ์ Bombacaceae กิ่งก้านและลําต้นมีหนามแหลมคม เปลือกสีเทา ขรุขระ ดอกสีแดงสด ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าว. |
งี่เง่า เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โง่มาก. | งี่เง่า (ปาก) ว. โง่มาก. |
งีบ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อี-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง หลับไปชั่วขณะหนึ่ง; ลักษณนามบอกการหลับเช่นนั้นว่า หลับงีบหนึ่ง หลับ ๒ งีบ. | งีบ ก. หลับไปชั่วขณะหนึ่ง; ลักษณนามบอกการหลับเช่นนั้นว่า หลับงีบหนึ่ง หลับ ๒ งีบ. |
งึก ๆ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่พยักหน้าเป็นการรับรู้, หงึก ๆ ก็ว่า. | งึก ๆ ว. อาการที่พยักหน้าเป็นการรับรู้, หงึก ๆ ก็ว่า. |
งึน เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อึ-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคพายัพและภาคอีสาน และเป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เงิน. | งึน (ถิ่นพายัพ, อีสาน; โบ) น. เงิน. |
งึม เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อึ-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงบ่นเบา ๆ; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน หมายถึง ซึม. | งึม ว. เสียงบ่นเบา ๆ; (ถิ่นอีสาน) ซึม. |
งึมงำ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อึ-มอ-ม้า-งอ-งู-สะ-หระ-อำ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงพูดหรือบ่นพึมพํา. | งึมงำ ว. เสียงพูดหรือบ่นพึมพํา. |
งุด, งุด ๆ งุด เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก งุด ๆ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการก้มหน้าลงเพราะกลัวหรืออายเป็นต้น เช่น ก้มหน้างุด, อาการที่เดินก้มหัวหรือก้มหน้าไปโดยเร็ว, อาการที่ก้มหน้าก้มตาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นั่งทำงานงุด ๆ ทั้งวัน. | งุด, งุด ๆ ว. อาการก้มหน้าลงเพราะกลัวหรืออายเป็นต้น เช่น ก้มหน้างุด, อาการที่เดินก้มหัวหรือก้มหน้าไปโดยเร็ว, อาการที่ก้มหน้าก้มตาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นั่งทำงานงุด ๆ ทั้งวัน. |
งุนงง เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู-งอ-งู-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง งงซึมเซา, ฉงน, มึน. | งุนงง ก. งงซึมเซา, ฉงน, มึน. |
งุ่นง่าน เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-นอ-หนู-งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง โกรธฮึดฮัด, กระวนกระวายผุดลุกผุดนั่ง, ง่าน. | งุ่นง่าน ก. โกรธฮึดฮัด, กระวนกระวายผุดลุกผุดนั่ง, ง่าน. |
งุบ, งุบ ๆ งุบ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อุ-บอ-ไบ-ไม้ งุบ ๆ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อุ-บอ-ไบ-ไม้ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่หัวก้มลงโดยเร็วเมื่อเวลาง่วนหรือเดินไป. | งุบ, งุบ ๆ ว. อาการที่หัวก้มลงโดยเร็วเมื่อเวลาง่วนหรือเดินไป. |
งุบงิบ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อุ-บอ-ไบ-ไม้-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง ทําอย่างเงียบ ๆ, ทํากันอย่างปิดบัง. | งุบงิบ ก. ทําอย่างเงียบ ๆ, ทํากันอย่างปิดบัง. |
งุ้ม เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อุ-ไม้-โท-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง งอลงอย่างปากนกแก้ว. | งุ้ม ว. งอลงอย่างปากนกแก้ว. |
งุ่มง่าม เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ชักช้า, ไม่คล่องแคล่วว่องไว. | งุ่มง่าม ว. ชักช้า, ไม่คล่องแคล่วว่องไว. |
งุย เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อุ-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ซึม, เซื่อง, มึนหัว. | งุย (โบ) ว. ซึม, เซื่อง, มึนหัว. |
งู เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata อันดับย่อย Serpentes ลําตัวเรียวยาว มีเกล็ด ไม่มีขา ที่มีพิษ เช่น งูเห่าไทย (Naja kaouthia) ที่ไม่มีพิษ เช่น งูเหลือม (Python reticulatus). | งู ๑ น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata อันดับย่อย Serpentes ลําตัวเรียวยาว มีเกล็ด ไม่มีขา ที่มีพิษ เช่น งูเห่าไทย (Naja kaouthia) ที่ไม่มีพิษ เช่น งูเหลือม (Python reticulatus). |
งูกลืนหาง, งูกินหาง ๑ งูกลืนหาง เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-งอ-งู งูกินหาง ความหมายที่ ๑ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลาเขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง. | งูกลืนหาง, งูกินหาง ๑ น. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลาเขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง. |
งูกินหาง เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง การเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง สมมุติฝ่ายหนึ่งเป็นแม่งู มีลูกงูเกาะหลังเป็นแถว อีกฝ่ายเป็นพ่องู คอยไล่จับลูกงูตัวที่อยู่ท้ายแถวเอามาเป็นพวกทีละตัว ๆ. | งูกินหาง ๒ น. การเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง สมมุติฝ่ายหนึ่งเป็นแม่งู มีลูกงูเกาะหลังเป็นแถว อีกฝ่ายเป็นพ่องู คอยไล่จับลูกงูตัวที่อยู่ท้ายแถวเอามาเป็นพวกทีละตัว ๆ. |
งูกินหาง เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๓ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เกี่ยวโยงกันจากหัวถึงหางโดยซัดกันไปเป็นทอด ๆ. | งูกินหาง ๓ (สำ) ว. เกี่ยวโยงกันจากหัวถึงหางโดยซัดกันไปเป็นทอด ๆ. |
งู ๆ ปลา ๆ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู ไม้-ยะ-มก ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่รู้จริง, ในคําว่า รู้งู ๆ ปลา ๆ. | งู ๆ ปลา ๆ ว. มีความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่รู้จริง, ในคําว่า รู้งู ๆ ปลา ๆ. |
งูผู้ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อู-ไม้-โท | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฆา มี ๕ ดวง, ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ ดาวมฆะ หรือ ดาวมาฆะ ก็เรียก. | งูผู้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฆา มี ๕ ดวง, ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ ดาวมฆะ หรือ ดาวมาฆะ ก็เรียก. |
งูเมีย เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู-สะ-หระ-เอ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพผลคุนี มี ๒ ดวง, ดาววัวตัวผู้ ดาวปุรพผลคุนี หรือ ดาวปุพพผลคุนี ก็เรียก. | งูเมีย น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพผลคุนี มี ๒ ดวง, ดาววัวตัวผู้ ดาวปุรพผลคุนี หรือ ดาวปุพพผลคุนี ก็เรียก. |
งูสวัด เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู-สอ-เสือ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีอาการอักเสบอย่างเฉียบพลันที่ปมประสาทไขสันหลัง และพุเป็นเม็ดพองตามผิวหนังเป็นทางยาวพาดขวางลําตัวเป็นต้น ทําให้ปวดแสบปวดร้อน. | งูสวัด น. โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีอาการอักเสบอย่างเฉียบพลันที่ปมประสาทไขสันหลัง และพุเป็นเม็ดพองตามผิวหนังเป็นทางยาวพาดขวางลําตัวเป็นต้น ทําให้ปวดแสบปวดร้อน. |
งูเหลือม เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์สวาดิ มี ๕ ดวง, ดาวช้างพัง ดาวสวาตี หรือ ดาวสวัสติ ก็เรียก. | งูเหลือม น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์สวาดิ มี ๕ ดวง, ดาวช้างพัง ดาวสวาตี หรือ ดาวสวัสติ ก็เรียก. |
งู เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ปลางู. ในวงเล็บ ดู ปล้องอ้อย เขียนว่า ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-ออ-อ่าง-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก. | งู ๒ น. ปลางู. (ดู ปล้องอ้อย). |
งูบ เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง ก้มหัวฟุบลงเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น. | งูบ ก. ก้มหัวฟุบลงเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น. |
งู่หนี เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง กุหนี. | งู่หนี น. กุหนี. |
งูเห่า เขียนว่า งอ-งู-สะ-หระ-อู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวเหมือนขมิ้นอ้อย แต่เนื้อสีขาว กลิ่นฉุนเหมือนนํ้ามันดินอ่อน ๆ. ในวงเล็บ มาจาก ตำรากบิลว่าน ของ หลวงประพัฒสรรพากร. | งูเห่า น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวเหมือนขมิ้นอ้อย แต่เนื้อสีขาว กลิ่นฉุนเหมือนนํ้ามันดินอ่อน ๆ. (กบิลว่าน). |
เง้ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ไม้-โท | เป็นคำกริยา หมายถึง เงื้อไม้ มีดเป็นต้น จนสุดกําลังแขนแล้วฟาดลงเต็มแรง. | เง้ ก. เงื้อไม้ มีดเป็นต้น จนสุดกําลังแขนแล้วฟาดลงเต็มแรง. |
เงก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-กอ-ไก่ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เต็มที, แย่, เช่น คอยเสียเงก. | เงก (ปาก) ว. เต็มที, แย่, เช่น คอยเสียเงก. |
เง็น เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ไม้-ไต่-คู้-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เงิน. | เง็น (โบ) น. เงิน. |
เงย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง ยกหน้าขึ้น. | เงย ก. ยกหน้าขึ้น. |
เงยหน้าอ้าปาก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ยอ-ยัก-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ออ-อ่าง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อน, ลืมตาอ้าปาก หรือ ลืมหน้าอ้าปาก ก็ว่า. | เงยหน้าอ้าปาก ก. มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อน, ลืมตาอ้าปาก หรือ ลืมหน้าอ้าปาก ก็ว่า. |
เงอะ, เงอะงะ เงอะ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อะ เงอะงะ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อะ-งอ-งู-สะ-หระ-อะ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แสดงกิริยาอาการเคอะเขินไม่แนบเนียนเพราะหย่อนความชํานาญเป็นต้น. | เงอะ, เงอะงะ ว. แสดงกิริยาอาการเคอะเขินไม่แนบเนียนเพราะหย่อนความชํานาญเป็นต้น. |
เงา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนที่มืดเพราะมีวัตถุบังแสงทําให้แลเห็นเป็นรูปของวัตถุนั้น; รูปที่ปรากฏในของใสหรือเป็นมันเช่นนํ้าหรือกระจก; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในวิชาแสง หมายถึง อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้นแล้วแสงเคลื่อนที่ไปไม่ถึงทั้งหมดหรือไปถึงได้บ้าง. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เป็นมัน เช่น ขึ้นเงา. | เงา น. ส่วนที่มืดเพราะมีวัตถุบังแสงทําให้แลเห็นเป็นรูปของวัตถุนั้น; รูปที่ปรากฏในของใสหรือเป็นมันเช่นนํ้าหรือกระจก; (แสง) อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้นแล้วแสงเคลื่อนที่ไปไม่ถึงทั้งหมดหรือไปถึงได้บ้าง. ว. เป็นมัน เช่น ขึ้นเงา. |
เงา ๆ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อา ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ราง ๆ. | เงา ๆ ว. ราง ๆ. |
เงาตามตัว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำนาม หมายถึง ผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย; สิ่งที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงไปตามกัน เช่น นํ้ามันขึ้นราคา สินค้าอื่น ๆ ก็ขึ้นราคาเป็นเงาตามตัว. | เงาตามตัว (สำ) น. ผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย; สิ่งที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงไปตามกัน เช่น นํ้ามันขึ้นราคา สินค้าอื่น ๆ ก็ขึ้นราคาเป็นเงาตามตัว. |
เงามัว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในวิชาแสง เป็นคำนาม หมายถึง อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้นแล้วแสงเคลื่อนที่ไปถึงได้บ้าง; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในภูมิศาสตร์ หมายถึง ส่วนที่เห็นเป็นเงาหลัว ๆ รอบบริเวณที่มืดมิดของดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์เวลามีคราส. | เงามัว (แสง) น. อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้นแล้วแสงเคลื่อนที่ไปถึงได้บ้าง; (ภูมิ) ส่วนที่เห็นเป็นเงาหลัว ๆ รอบบริเวณที่มืดมิดของดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์เวลามีคราส. |
เงามืด เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในวิชาแสง เป็นคำนาม หมายถึง อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้นแล้วแสงเคลื่อนที่ไปไม่ถึงทั้งหมด; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในภูมิศาสตร์ หมายถึง ส่วนที่มืดมิดของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เวลามีคราส. | เงามืด (แสง) น. อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้นแล้วแสงเคลื่อนที่ไปไม่ถึงทั้งหมด; (ภูมิ) ส่วนที่มืดมิดของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เวลามีคราส. |
เง่า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โง่, มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา โง่ เป็น โง่เง่า. | เง่า ว. โง่, มักใช้พูดเข้าคู่กับคํา โง่ เป็น โง่เง่า. |
เง้า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจเป็นต้น ว่า หน้าเง้า. | เง้า ว. เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจเป็นต้น ว่า หน้าเง้า. |
เง้างอด, เง้า ๆ งอด ๆ เง้างอด เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก เง้า ๆ งอด ๆ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา ไม้-ยะ-มก งอ-งู-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กะบึงกะบอน, โกรธอย่างแสนงอน, กระเง้ากระงอด ก็ว่า. | เง้างอด, เง้า ๆ งอด ๆ ว. กะบึงกะบอน, โกรธอย่างแสนงอน, กระเง้ากระงอด ก็ว่า. |
เงาะ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างตํ่าเตี้ย ตัวดํา ผมหยิก ในตระกูลนิกริโต (Negrito) และตระกูลออสโตรเนเชียน (Austronesian) อยู่ในแหลมมลายู เรียกตัวเองว่า กอย ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, โดยปริยายเรียกคนที่มีรูปร่างเช่นนั้น. | เงาะ ๑ น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างตํ่าเตี้ย ตัวดํา ผมหยิก ในตระกูลนิกริโต (Negrito) และตระกูลออสโตรเนเชียน (Austronesian) อยู่ในแหลมมลายู เรียกตัวเองว่า กอย ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, โดยปริยายเรียกคนที่มีรูปร่างเช่นนั้น. |
เงาะ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Nephelium lappaceum L. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกินได้ เปลือกมีขนยาวสีเหลืองหรือแดงเป็นต้น, ปักษ์ใต้เรียก พรวน. | เงาะ ๒ น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Nephelium lappaceum L. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกินได้ เปลือกมีขนยาวสีเหลืองหรือแดงเป็นต้น, ปักษ์ใต้เรียก พรวน. |
เงาะป่า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | ดู กะทกรก เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-กอ-ไก่-รอ-เรือ-กอ-ไก่ (๒). | เงาะป่า ดู กะทกรก (๒). |
เงิน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง ธาตุลําดับที่ ๔๗ สัญลักษณ์ Ag เป็นโลหะสีขาว เนื้อค่อนข้างอ่อน หลอมละลายที่ ๙๖๐.๘°ซ. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ silver เขียนว่า เอส-ไอ-แอล-วี-อี-อา; วัตถุที่ใช้วัดราคาในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน, วัตถุที่มีตราของรัฐ ใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย, ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร, เงินตรา ก็เรียก; โบราณใช้ว่า งึน เง็น หรือ เงือน ก็มี; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในเศรษฐศาสตร์ หมายถึง วัตถุที่กําหนดให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนหรือชําระหนี้. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ money เขียนว่า เอ็ม-โอ-เอ็น-อี-วาย. | เงิน น. ธาตุลําดับที่ ๔๗ สัญลักษณ์ Ag เป็นโลหะสีขาว เนื้อค่อนข้างอ่อน หลอมละลายที่ ๙๖๐.๘°ซ. (อ. silver); วัตถุที่ใช้วัดราคาในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน, วัตถุที่มีตราของรัฐ ใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย, ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร, เงินตรา ก็เรียก; โบราณใช้ว่า งึน เง็น หรือ เงือน ก็มี; (เศรษฐ) วัตถุที่กําหนดให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนหรือชําระหนี้. (อ. money). |
เงินก้นถุง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-กอ-ไก่-ไม้-โท-นอ-หนู-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อุ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เงินจํานวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บไว้เป็นเงินก้อนแรก. | เงินก้นถุง น. เงินจํานวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บไว้เป็นเงินก้อนแรก. |
เงินก้อน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-กอ-ไก่-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เงินที่จ่ายทีเดียวทั้งหมด, เงินที่สะสมไว้เป็นจํานวนมาก ๆ. | เงินก้อน น. เงินที่จ่ายทีเดียวทั้งหมด, เงินที่สะสมไว้เป็นจํานวนมาก ๆ. |
เงินกินเปล่า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง เงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิตามที่ตกลงกัน. | เงินกินเปล่า น. เงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เสียไป เพื่อให้ได้สิทธิตามที่ตกลงกัน. |
เงินกู้ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อู-ไม้-โท | เป็นคำนาม หมายถึง เงินที่ยืมโดยมีดอกเบี้ย. | เงินกู้ น. เงินที่ยืมโดยมีดอกเบี้ย. |
เงินขวัญถุง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-หยิง-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อุ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บไว้เป็นสิริมงคล. | เงินขวัญถุง น. เงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ใหญ่มอบให้ในงานแต่งงานเป็นต้น เพื่อเก็บไว้เป็นสิริมงคล. |
เงินคงคลัง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-คอ-ควาย-งอ-งู-คอ-ควาย-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง เงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการได้เก็บหรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง หรือคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด. | เงินคงคลัง (กฎ) น. เงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการได้เก็บหรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง หรือคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด. |
เงินจันทรภิม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-จอ-จาน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อิ-มอ-ม้า | ดู จันทรภิม เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อิ-มอ-ม้า. | เงินจันทรภิม ดู จันทรภิม. |
เงินเชื่อ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง เงินค่าสิ่งของที่ยอมให้ชำระภายหลังเมื่อซื้อขาย, เงินแห้ง ก็เรียก. | เงินเชื่อ น. เงินค่าสิ่งของที่ยอมให้ชำระภายหลังเมื่อซื้อขาย, เงินแห้ง ก็เรียก. |
เงินดาวน์ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-นอ-หนู-ทัน-ทะ-คาด | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง เงินที่ต้องชำระครั้งแรกเมื่อทำสัญญา โดยมีข้อตกลงว่าเงินส่วนที่เหลือจะผ่อนส่งเป็นงวด ๆ ตามจำนวนที่กำหนด. | เงินดาวน์ (ปาก) น. เงินที่ต้องชำระครั้งแรกเมื่อทำสัญญา โดยมีข้อตกลงว่าเงินส่วนที่เหลือจะผ่อนส่งเป็นงวด ๆ ตามจำนวนที่กำหนด. |
เงินเดือน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เงินค่าตอบแทนการทํางานที่กําหนดให้เป็นรายเดือน; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง เงินที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน. | เงินเดือน น. เงินค่าตอบแทนการทํางานที่กําหนดให้เป็นรายเดือน; (กฎ) เงินที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน. |
เงินแดง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-ดอ-เด็ก-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เงินปลอม แต่เดิมใช้เงินหุ้มทองแดงไว้ข้างใน ต่อมาหมายถึงเงินปลอมที่มีทองแดงผสมปนมากเกินส่วน, โดยปริยายหมายถึงคนที่ใช้งานใช้การไม่ได้. | เงินแดง (โบ) น. เงินปลอม แต่เดิมใช้เงินหุ้มทองแดงไว้ข้างใน ต่อมาหมายถึงเงินปลอมที่มีทองแดงผสมปนมากเกินส่วน, โดยปริยายหมายถึงคนที่ใช้งานใช้การไม่ได้. |
เงินได้กำบัง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ดอ-เด็ก-ไม้-โท-กอ-ไก่-สะ-หระ-อำ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในเศรษฐศาสตร์ เป็นคำนาม หมายถึง รายรับในดุลการชําระเงินระหว่างประเทศอันเกิดจากค่าบริการต่าง ๆ การใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยว ค่าประกันภัย เป็นต้น. | เงินได้กำบัง (เศรษฐ) น. รายรับในดุลการชําระเงินระหว่างประเทศอันเกิดจากค่าบริการต่าง ๆ การใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยว ค่าประกันภัย เป็นต้น. |
เงินต้น เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ตอ-เต่า-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่รวมดอกเบี้ย, ต้นเงิน ก็ว่า. | เงินต้น น. เงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่รวมดอกเบี้ย, ต้นเงิน ก็ว่า. |
เงินตรา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง เงินที่รัฐกําหนดขึ้นไว้เพื่อใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร. | เงินตรา (กฎ) น. เงินที่รัฐกําหนดขึ้นไว้เพื่อใช้ชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร. |
เงินตาย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เงินตราที่รัฐให้เลิกใช้, เงินที่มิได้เอามาทําเป็นรูปพรรณ, เงินที่เก็บไว้ไม่นําออกใช้. | เงินตาย (โบ) น. เงินตราที่รัฐให้เลิกใช้, เงินที่มิได้เอามาทําเป็นรูปพรรณ, เงินที่เก็บไว้ไม่นําออกใช้. |
เงินทองตรา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เงินตราที่ทําด้วยทองหรือเงินเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ. | เงินทองตรา (โบ) น. เงินตราที่ทําด้วยทองหรือเงินเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ. |
เงินทอน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เงินส่วนที่เกินราคาสิ่งของที่จ่ายคืนให้แก่ผู้จ่ายเงิน. | เงินทอน น. เงินส่วนที่เกินราคาสิ่งของที่จ่ายคืนให้แก่ผู้จ่ายเงิน. |
เงินถึง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อึ-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ให้เงินมากจนเป็นที่พอใจ, ถึงเงิน ก็ว่า. | เงินถึง ว. ให้เงินมากจนเป็นที่พอใจ, ถึงเงิน ก็ว่า. |
เงินนอน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-นอ-หนู-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เงินเหลือใช้ที่เก็บไว้. | เงินนอน น. เงินเหลือใช้ที่เก็บไว้. |
เงินน้ำห้าน้ำหก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ-หอ-หีบ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ-หอ-หีบ-กอ-ไก่ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เงินเนื้อไม่บริสุทธิ์ เพราะมีทองแดงปนติดอยู่บ้าง. | เงินน้ำห้าน้ำหก (โบ) น. เงินเนื้อไม่บริสุทธิ์ เพราะมีทองแดงปนติดอยู่บ้าง. |
เงินปลีก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง เงินจํานวนย่อยที่แตกออกมาจากเงินจํานวนใหญ่หน่วยใดหน่วยหนึ่งของเงินตรา. | เงินปลีก น. เงินจํานวนย่อยที่แตกออกมาจากเงินจํานวนใหญ่หน่วยใดหน่วยหนึ่งของเงินตรา. |
เงินปันผล เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ปอ-ปลา-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ผอ-ผึ้ง-ลอ-ลิง | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนแบ่งเงินกําไรที่กําหนดจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น. | เงินปันผล น. ส่วนแบ่งเงินกําไรที่กําหนดจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น. |
เงินปากถุง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อุ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เงินที่ผู้ให้กู้เรียกเก็บจากผู้กู้ก่อนที่จะจ่ายเงินจำนวนที่ตกลงให้กู้. | เงินปากถุง น. เงินที่ผู้ให้กู้เรียกเก็บจากผู้กู้ก่อนที่จะจ่ายเงินจำนวนที่ตกลงให้กู้. |
เงินปากผี เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง เงินที่ใส่ไว้ในปากคนตายตามประเพณี. | เงินปากผี น. เงินที่ใส่ไว้ในปากคนตายตามประเพณี. |
เงินดาวเงินเดือน, เงินเดือนเงินดาว เงินดาวเงินเดือน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู เงินเดือนเงินดาว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง เงินเดือน. | เงินดาวเงินเดือน, เงินเดือนเงินดาว น. เงินเดือน. |
เงินปี เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อี | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง เงินที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสํานักพระราชวัง, โบราณเรียก เบี้ยหวัด หรือ เบี้ยหวัดเงินปี. | เงินปี (กฎ) น. เงินที่มีกําหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินอุดหนุนของสํานักพระราชวัง, โบราณเรียก เบี้ยหวัด หรือ เบี้ยหวัดเงินปี. |
เงินแป เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-ปอ-ปลา | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย มีเงินแปราคาสองสลึง แปสลึง แปเฟื้อง. (ประชุม ร. ๔). | เงินแป (โบ) น. เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย มีเงินแปราคาสองสลึง แปสลึง แปเฟื้อง. (ประชุม ร. ๔). |
เงินผ่อน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ผอ-ผึ้ง-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เงินที่ชำระให้แก่เจ้าหนี้เป็นงวด ๆ. | เงินผ่อน น. เงินที่ชำระให้แก่เจ้าหนี้เป็นงวด ๆ. |
เงินฝืด เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ฝอ-ฝา-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในเศรษฐศาสตร์ เป็นคำนาม หมายถึง ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลง ทําให้ราคาสินค้าตก. | เงินฝืด (เศรษฐ) น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลง ทําให้ราคาสินค้าตก. |
เงินเฟ้อ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ฟอ-ฟัน-ไม้-โท-ออ-อ่าง | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในเศรษฐศาสตร์ เป็นคำนาม หมายถึง ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมากเกินไป ทําให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า. | เงินเฟ้อ (เศรษฐ) น. ภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศมากเกินไป ทําให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า. |
เงินมุ่น เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เงินแท่งชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นเงินเนื้อดี. | เงินมุ่น น. เงินแท่งชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นเงินเนื้อดี. |
เงินยวง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เนื้อเงินบริสุทธิ์ที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้าว่า สีเงินยวง. | เงินยวง น. เนื้อเงินบริสุทธิ์ที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้าว่า สีเงินยวง. |
เงินเยอรมัน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-รอ-เรือ-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง โลหะเจือซึ่งมีองค์ประกอบโดยประมาณเป็นทองแดง ๕ ส่วน สังกะสี ๒ ส่วน และนิกเกิล ๒ ส่วน. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ German เขียนว่า จี-อี-อา-เอ็ม-เอ-เอ็น silver เขียนว่า เอส-ไอ-แอล-วี-อี-อา . | เงินเยอรมัน น. โลหะเจือซึ่งมีองค์ประกอบโดยประมาณเป็นทองแดง ๕ ส่วน สังกะสี ๒ ส่วน และนิกเกิล ๒ ส่วน. (อ. German silver). |
เงินร้อน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เงินที่ได้จากการทุจริตหรือไม่บริสุทธิ์; เงินที่หมุนเวียนเร็ว. | เงินร้อน น. เงินที่ได้จากการทุจริตหรือไม่บริสุทธิ์; เงินที่หมุนเวียนเร็ว. |
เงินรายปี เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง จํานวนเงินที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายให้แก่ผู้รับเงินรายปีตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบเงินรายปี ซึ่งผู้รับประกันภัยสัญญาว่า ตราบใดที่ผู้เอาประกันชีวิตยังทรงชีพอยู่ บริษัทจะจ่ายเงินให้ตลอดไปจนกว่าจะเสียชีวิต หรือจะจ่ายให้ชั่วระยะเวลาหนึ่งตามที่ตกลงไว้ เงินรายปีนี้อาจจะจ่ายเป็นงวด รายปี รายครึ่งปี หรือรายเดือนก็ได้ จํานวนเงินที่จ่ายอาจจะคงที่ เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงก็ได้. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ annuity เขียนว่า เอ-เอ็น-เอ็น-ยู-ไอ-ที-วาย. | เงินรายปี น. จํานวนเงินที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายให้แก่ผู้รับเงินรายปีตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบเงินรายปี ซึ่งผู้รับประกันภัยสัญญาว่า ตราบใดที่ผู้เอาประกันชีวิตยังทรงชีพอยู่ บริษัทจะจ่ายเงินให้ตลอดไปจนกว่าจะเสียชีวิต หรือจะจ่ายให้ชั่วระยะเวลาหนึ่งตามที่ตกลงไว้ เงินรายปีนี้อาจจะจ่ายเป็นงวด รายปี รายครึ่งปี หรือรายเดือนก็ได้ จํานวนเงินที่จ่ายอาจจะคงที่ เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงก็ได้. (อ. annuity). |
เงินแล่ง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-ลอ-ลิง-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เงินที่เอามาแล่งเป็นเส้นบาง ๆ ใช้สำหรับปักหรือทอผ้า. | เงินแล่ง น. เงินที่เอามาแล่งเป็นเส้นบาง ๆ ใช้สำหรับปักหรือทอผ้า. |
เงินสด เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ตัวเงินที่มีอยู่ซึ่งใช้ได้ทันที, เงินที่ชําระให้ทันทีเมื่อซื้อหรือขายกัน. | เงินสด น. ตัวเงินที่มีอยู่ซึ่งใช้ได้ทันที, เงินที่ชําระให้ทันทีเมื่อซื้อหรือขายกัน. |
เงินสเตอร์ลิง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สอ-เสือ-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ออ-อ่าง-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง โลหะเจือซึ่งประเทศอังกฤษเคยใช้ทําเงินตรา มีองค์ประกอบเป็นโลหะเงินร้อยละ ๙๒.๕ ทองแดงร้อยละ ๗.๒ ตะกั่วร้อยละ ๐.๒ และทองคําร้อยละ ๐.๑. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ sterling เขียนว่า เอส-ที-อี-อา-แอล-ไอ-เอ็น-จี silver เขียนว่า เอส-ไอ-แอล-วี-อี-อา . | เงินสเตอร์ลิง น. โลหะเจือซึ่งประเทศอังกฤษเคยใช้ทําเงินตรา มีองค์ประกอบเป็นโลหะเงินร้อยละ ๙๒.๕ ทองแดงร้อยละ ๗.๒ ตะกั่วร้อยละ ๐.๒ และทองคําร้อยละ ๐.๑. (อ. sterling silver). |
เงินหมุน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง เงินที่ใช้หมุนเวียนเรื่อยไปหลายครั้งโดยไม่เก็บไว้คงที่. | เงินหมุน น. เงินที่ใช้หมุนเวียนเรื่อยไปหลายครั้งโดยไม่เก็บไว้คงที่. |
เงินหลวง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-วอ-แหวน-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง เงินที่เป็นของแผ่นดินหรือรัฐ. | เงินหลวง (ปาก) น. เงินที่เป็นของแผ่นดินหรือรัฐ. |
เงินแห้ง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-ไม้-โท-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง เงินเชื่อ. | เงินแห้ง (ปาก) น. เงินเชื่อ. |
เงี่ย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก | เป็นคำกริยา หมายถึง เอียง, ตะแคง, ในคำว่า เงี่ยหู. | เงี่ย ก. เอียง, ตะแคง, ในคำว่า เงี่ยหู. |
เงี่ยหู เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-หอ-หีบ-สะ-หระ-อู | เป็นคำกริยา หมายถึง เอียงหูฟังเพื่อให้ได้ยินถนัด, ตั้งใจฟัง. | เงี่ยหู ก. เอียงหูฟังเพื่อให้ได้ยินถนัด, ตั้งใจฟัง. |
เงี่ยง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบนมีเงี่ยงที่โคนหาง หรือปลาดุกมีเงี่ยงที่ครีบอก, แง่ของสิ่งของบางอย่าง มีรูปหยักตอนปลายเช่นเบ็ดหรือลูกศร. | เงี่ยง ๑ น. กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบนมีเงี่ยงที่โคนหาง หรือปลาดุกมีเงี่ยงที่ครีบอก, แง่ของสิ่งของบางอย่าง มีรูปหยักตอนปลายเช่นเบ็ดหรือลูกศร. |
เงี่ยง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง กระโถน. | เงี่ยง ๒ (ถิ่นอีสาน) น. กระโถน. |
เงี่ยน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกําลัง, (โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ). | เงี่ยน ก. อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกําลัง, (โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ). |
เงียบ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่มีเสียง เช่น นั่งเงียบ, ไม่มีเสียงอื้ออึง เช่น บ้านนี้เงียบ, สงบ, ปราศจากเสียงรบกวนหรือการก่อกวน, เช่น เหตุการณ์เงียบลงแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระโตกกระตาก เช่น เก็บเรื่องเงียบ, ไม่แสดงออก เช่น พลังเงียบ. เป็นคำกริยา หมายถึง หายไปโดยไม่มีข่าวคราวหรือไม่เป็นข่าวเลย เช่น หมู่นี้นาย ก เงียบไป. | เงียบ ว. ไม่มีเสียง เช่น นั่งเงียบ, ไม่มีเสียงอื้ออึง เช่น บ้านนี้เงียบ, สงบ, ปราศจากเสียงรบกวนหรือการก่อกวน, เช่น เหตุการณ์เงียบลงแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระโตกกระตาก เช่น เก็บเรื่องเงียบ, ไม่แสดงออก เช่น พลังเงียบ. ก. หายไปโดยไม่มีข่าวคราวหรือไม่เป็นข่าวเลย เช่น หมู่นี้นาย ก เงียบไป. |
เงียบ ๆ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ. | เงียบ ๆ ว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ. |
เงียบกริบ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง เงียบสนิท. | เงียบกริบ ก. เงียบสนิท. |
เงียบเชียบ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำกริยา หมายถึง วังเวง, เงียบไม่มีเสียง. | เงียบเชียบ ก. วังเวง, เงียบไม่มีเสียง. |
เงียบเป็นเป่าสาก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-ไต่-คู้-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ลักษณะที่เงียบสนิท. | เงียบเป็นเป่าสาก (สำ) ว. ลักษณะที่เงียบสนิท. |
เงียบเหงา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-งอ-งู-สะ-หระ-อา | เป็นคำกริยา หมายถึง เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, อ้างว้าง; มีคนน้อย, มีคนไปมาหาสู่น้อย. | เงียบเหงา ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, อ้างว้าง; มีคนน้อย, มีคนไปมาหาสู่น้อย. |
เงี้ยว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อหนึ่งของชนชาวไทยใหญ่ที่ใช้เรียกกันเป็นสามัญในประเทศไทยสมัยก่อน. | เงี้ยว ๑ น. ชื่อหนึ่งของชนชาวไทยใหญ่ที่ใช้เรียกกันเป็นสามัญในประเทศไทยสมัยก่อน. |
เงี้ยว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง งู เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. ในวงเล็บ มาจาก แบบเรียนกวีนิพนธ์ โลกนิติคำโคลง. | เงี้ยว ๒ น. งู เช่น นํ้าเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม. (โลกนิติ). |
เงี้ยว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๓ | ดู มังกร เขียนว่า มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ ความหมายที่ ๒. | เงี้ยว ๓ ดู มังกร ๒. |
เงี้ยว เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน ความหมายที่ ๔ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คด เช่น แล้วลวงล่องอเงี้ยว. ในวงเล็บ มาจาก นิราศเมืองเพชร ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๐. | เงี้ยว ๔ ว. คด เช่น แล้วลวงล่องอเงี้ยว. (นิ. เพชร). |
เงี้ยวระเริง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. | เงี้ยวระเริง น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. |
เงี้ยวรำลึก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อำ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. | เงี้ยวรำลึก น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. |
เงี่ยหู เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-หอ-หีบ-สะ-หระ-อู | เป็นคำกริยา หมายถึง เอียงหูฟังเพื่อให้ถนัด, ตั้งใจฟัง. | เงี่ยหู ก. เอียงหูฟังเพื่อให้ถนัด, ตั้งใจฟัง. |
เงื้อ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง ยกมือขึ้นทําท่าจะทุบจะตี ในคำว่า เงื้อมือ, อาการที่มือยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นทําท่าจะตีหรือฟันเป็นต้น เช่น เงื้อไม้ เงื้อมีด. | เงื้อ ก. ยกมือขึ้นทําท่าจะทุบจะตี ในคำว่า เงื้อมือ, อาการที่มือยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นทําท่าจะตีหรือฟันเป็นต้น เช่น เงื้อไม้ เงื้อมีด. |
เงื้อง่าราคาแพง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-พอ-พาน-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง จะทําอะไรก็ไม่กล้าตัดสินใจทําลงไป ดีแต่ทําท่าหรือวางท่าว่าจะทําเท่านั้น. | เงื้อง่าราคาแพง (สำ) ก. จะทําอะไรก็ไม่กล้าตัดสินใจทําลงไป ดีแต่ทําท่าหรือวางท่าว่าจะทําเท่านั้น. |
เงือก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง งู เช่น ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง. ในวงเล็บ มาจาก ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า. | เงือก ๑ (โบ) น. งู เช่น ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง. (แช่งนํ้า). |
เงือกหงอน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-หอ-หีบ-งอ-งู-ออ-อ่าง-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง พญานาค เช่น ทรงวัวเผือกเงือกหงอนสังวรสังวาล. ในวงเล็บ มาจากเรื่อง รําพันพิลาป ในหนังสือชีวิตและงานของสุนทรภู่ พระนิพนธ์ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับอมรการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๙. | เงือกหงอน (โบ) น. พญานาค เช่น ทรงวัวเผือกเงือกหงอนสังวรสังวาล. (รําพันพิลาป). |
เงือก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง สัตว์นํ้าในนิยาย เล่ากันว่าท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นปลา. | เงือก ๒ น. สัตว์นํ้าในนิยาย เล่ากันว่าท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นปลา. |
เงือก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๓ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกันเป็นฝูงในป่าลึก เวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กินเนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris). | เงือก ๓ น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกันเป็นฝูงในป่าลึก เวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กินเนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris). |
เงือก เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๔ | ดู พะยูน เขียนว่า พอ-พาน-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อู-นอ-หนู. | เงือก ๔ ดู พะยูน. |
เงื่อง, เงื่อง ๆ เงื่อง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู เงื่อง ๆ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เซื่อง, เชื่องช้า. | เงื่อง, เงื่อง ๆ ว. เซื่อง, เชื่องช้า. |
เงื่องหงอย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู-หอ-หีบ-งอ-งู-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ซึมเซาไม่ชื่นบาน, เซื่อง ๆ, เฉื่อยชา. | เงื่องหงอย ว. ซึมเซาไม่ชื่นบาน, เซื่อง ๆ, เฉื่อยชา. |
เงือด, เงือดงด เงือด เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก เงือดงด เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-งอ-งู-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคํารบสองคาบสามคาบ. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมจารึกสยาม ภาคที่ จารึกสุโขทัย, ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ชำระและแปล ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗, จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้. ในวงเล็บ มาจากเรื่อง สังข์ทอง ใน แบบเรียนกวีนิพนธ์. | เงือด, เงือดงด ก. อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคํารบสองคาบสามคาบ. (จารึกสยาม), จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้. (สังข์ทอง). |
เงือดเงื้อ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง เงื้อค้างท่าไว้. | เงือดเงื้อ ก. เงื้อค้างท่าไว้. |
เงือน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เงิน. | เงือน (โบ) น. เงิน. |
เงื่อน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง เชือกหรือเส้นด้ายเป็นต้นที่ผูกกันเป็นปม เช่น เงื่อนกระทกหรือเงื่อนกระตุก คือเงื่อนที่ผูกแล้วกระตุกออกได้ง่าย เงื่อนตาย คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ยาก เงื่อนเป็น คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ง่าย. | เงื่อน ๑ น. เชือกหรือเส้นด้ายเป็นต้นที่ผูกกันเป็นปม เช่น เงื่อนกระทกหรือเงื่อนกระตุก คือเงื่อนที่ผูกแล้วกระตุกออกได้ง่าย เงื่อนตาย คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ยาก เงื่อนเป็น คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ง่าย. |
เงื่อนไข เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่ | เป็นคำนาม หมายถึง ข้อแม้; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง ข้อความอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต. | เงื่อนไข น. ข้อแม้; (กฎ) ข้อความอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต. |
เงื่อนไขบังคับก่อน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-คอ-ควาย-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง เงื่อนไขที่ทําให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว. | เงื่อนไขบังคับก่อน (กฎ) น. เงื่อนไขที่ทําให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว. |
เงื่อนไขบังคับหลัง เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ขอ-ไข่-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-คอ-ควาย-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง เงื่อนไขที่ทําให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว. | เงื่อนไขบังคับหลัง (กฎ) น. เงื่อนไขที่ทําให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว. |
เงื่อนงำ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู-งอ-งู-สะ-หระ-อำ | เป็นคำนาม หมายถึง เรื่องราวหรือข้อความที่ซ่อนอยู่ไม่เปิดเผย. | เงื่อนงำ น. เรื่องราวหรือข้อความที่ซ่อนอยู่ไม่เปิดเผย. |
เงื่อนเวลา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง ระยะเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด. | เงื่อนเวลา (กฎ) น. ระยะเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด. |
เงื่อนเวลาเริ่มต้น เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-ตอ-เต่า-ไม้-โท-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด. | เงื่อนเวลาเริ่มต้น (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด. |
เงื่อนเวลาสิ้นสุด เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-นอ-หนู-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด. | เงื่อนเวลาสิ้นสุด (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด. |
เงื่อน เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เหมือน เช่น เขี้ยวโง้งเงื่อนงาคชกรรม. ในวงเล็บ มาจาก คำพากย์รามเกียรติ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๑. | เงื่อน ๒ ว. เหมือน เช่น เขี้ยวโง้งเงื่อนงาคชกรรม. (คําพากย์). |
เงือบ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ปลาขยับเหงือกหายใจ. | เงือบ ว. อาการที่ปลาขยับเหงือกหายใจ. |
เงื้อม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่สูงยื่นงํ้าออกมา เช่น เงื้อมผา. | เงื้อม น. สิ่งที่สูงยื่นงํ้าออกมา เช่น เงื้อมผา. |
เงื้อมมือ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง อํานาจที่ครอบงําจะไม่ให้หลุดพ้นไปได้. | เงื้อมมือ น. อํานาจที่ครอบงําจะไม่ให้หลุดพ้นไปได้. |
แง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง เรียกส่วนของหน้าตรงหว่างคิ้วว่า หน้าแง. | แง ๑ น. เรียกส่วนของหน้าตรงหว่างคิ้วว่า หน้าแง. |
แง ๒, แง ๆ แง ความหมายที่ ๒ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู แง ๆ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงเด็กร้องไห้. | แง ๒, แง ๆ ว. เสียงเด็กร้องไห้. |
แง่ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่ค้าขายของ. ในวงเล็บ มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์, นัย. | แง่ ๑ น. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่ค้าขายของ. (นิ. นรินทร์), นัย. |
แง่งอน เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก-งอ-งู-ออ-อ่าง-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง อาการที่แสร้งทําชั้นเชิงเพื่อให้ผู้อื่นเอาใจหรือให้เป็นที่พอใจตน. | แง่งอน น. อาการที่แสร้งทําชั้นเชิงเพื่อให้ผู้อื่นเอาใจหรือให้เป็นที่พอใจตน. |
แง่ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ตัว เช่น แต่งแง่. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมจารึกสยาม ภาคที่ จารึกสุโขทัย, ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ชำระและแปล ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗, มิแต่งแง่ให้แม่ชม มิหวีผมให้แม่เชย. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน. | แง่ ๒ (โบ) น. ตัว เช่น แต่งแง่. (จารึกสยาม), มิแต่งแง่ให้แม่ชม มิหวีผมให้แม่เชย. (ลอ). |
แง่ง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนที่งอกเป็นแง่ออกมาจากเหง้าขิงข่ากะทือเป็นต้น. | แง่ง ๑ น. ส่วนที่งอกเป็นแง่ออกมาจากเหง้าขิงข่ากะทือเป็นต้น. |
แง่งขิง เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก-งอ-งู-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อิ-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องประดับยอดปรางค์ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, ฝักเพกา ลําภุขัน สลัดได นพศูล หรือ นภศูล ก็เรียก. | แง่งขิง น. เครื่องประดับยอดปรางค์ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, ฝักเพกา ลําภุขัน สลัดได นพศูล หรือ นภศูล ก็เรียก. |
แง่ง ๒, แง่ง ๆ แง่ง ความหมายที่ ๒ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก-งอ-งู แง่ง ๆ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก-งอ-งู ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงขู่ของหมาเมื่อจะกัดกันในเวลาแย่งอาหารกันเป็นต้น. | แง่ง ๒, แง่ง ๆ ว. เสียงขู่ของหมาเมื่อจะกัดกันในเวลาแย่งอาหารกันเป็นต้น. |
แง่น เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง แยกเขี้ยวจะกัด (อย่างหมา). | แง่น ก. แยกเขี้ยวจะกัด (อย่างหมา). |
แง่น ๆ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-เอก-นอ-หนู ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แสดงกิริยาโกรธอย่างหมาจะกัด. | แง่น ๆ ว. แสดงกิริยาโกรธอย่างหมาจะกัด. |
แง้ม เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู-ไม้-โท-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง เปิดแต่น้อย ๆ เช่น แง้มประตู. ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ริม, ข้าง, เช่น ปากคลองบางกอกน้อยแง้มขวา. | แง้ม ก. เปิดแต่น้อย ๆ เช่น แง้มประตู. (โบ) น. ริม, ข้าง, เช่น ปากคลองบางกอกน้อยแง้มขวา. |
แงะ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-งอ-งู-สะ-หระ-อะ | เป็นคำกริยา หมายถึง งัดให้เผยอขึ้น. | แงะ ก. งัดให้เผยอขึ้น. |
โง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ยก (ใช้แก่หัว) เช่น โงหัวไม่ขึ้น. | โง ก. ยก (ใช้แก่หัว) เช่น โงหัวไม่ขึ้น. |
โง่ เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-ไม้-เอก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เขลา, ไม่ฉลาด, ไม่รู้. | โง่ ว. เขลา, ไม่ฉลาด, ไม่รู้. |
โง่แกมหยิ่ง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่-มอ-ม้า-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โง่แล้วยังอวดฉลาด, อวดดีทั้ง ๆ ที่โง่. | โง่แกมหยิ่ง (สำ) ว. โง่แล้วยังอวดฉลาด, อวดดีทั้ง ๆ ที่โง่. |
โง่เง่า เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โง่มาก. | โง่เง่า ว. โง่มาก. |
โง่เง่าเต่าตุ่น เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์จํานงหมาย. ในวงเล็บ มาจาก นิราศทวาราวดี ของ หลวงจักรปาณี (ฤกษ์) และบทละครเรื่อง มณีพิไชย พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ พระนิพนธ์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตร นรินทรฤทธิ์ ฉบับโรงพิมพ์กรุงเทพการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๒. | โง่เง่าเต่าตุ่น (สำ) ว. โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์จํานงหมาย. (นิ. ทวาราวดี). |
โง่แล้วอยากนอนเตียง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-ไม้-เอก-สะ-หระ-แอ-ลอ-ลิง-ไม้-โท-วอ-แหวน-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-นอ-หนู-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โง่แล้วไม่เจียมตัวว่าโง่ ไปทําสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เข้าใจ. | โง่แล้วอยากนอนเตียง (สำ) ว. โง่แล้วไม่เจียมตัวว่าโง่ ไปทําสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เข้าใจ. |
โงก เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่หัวงุบลงเพราะง่วง. | โงก ว. อาการที่หัวงุบลงเพราะง่วง. |
โงกเงก เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง โยกเยก. | โงกเงก ก. โยกเยก. |
โงง, โงงเงง โงง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-งอ-งู โงงเงง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง โคลง, ไหว, ตั้งไม่ตรง, โยกโคลง, ตั้งอยู่ด้วยอาการไม่มั่นคง. | โงง, โงงเงง ก. โคลง, ไหว, ตั้งไม่ตรง, โยกโคลง, ตั้งอยู่ด้วยอาการไม่มั่นคง. |
โง่ง ๆ, โง่งเง่ง โง่ง ๆ เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-ไม้-เอก-งอ-งู ไม้-ยะ-มก โง่งเง่ง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-ไม้-เอก-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-ไม้-เอก-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โย่ง ๆ, อาการเดินก้าวยาว ๆ ของคนผอมสูง. | โง่ง ๆ, โง่งเง่ง ว. โย่ง ๆ, อาการเดินก้าวยาว ๆ ของคนผอมสูง. |
โง้ง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-ไม้-โท-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โค้งเข้าหากัน เช่น ควายเขาโง้ง, โค้งขึ้น เช่น หนวดโง้ง. | โง้ง ว. โค้งเข้าหากัน เช่น ควายเขาโง้ง, โค้งขึ้น เช่น หนวดโง้ง. |
โงเง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ลุกขึ้นนั่งหรือยืนโงกเงกของคนที่มึนงงหรือเพิ่งตื่นนอนใหม่, ยังงัวเงียอยู่. | โงเง ว. อาการที่ลุกขึ้นนั่งหรือยืนโงกเงกของคนที่มึนงงหรือเพิ่งตื่นนอนใหม่, ยังงัวเงียอยู่. |
โงน เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง จวนจะล้มเพราะส่วนบนหนักหรือใหญ่ ส่วนล่างไม่แน่นหรือเล็ก. | โงน ก. จวนจะล้มเพราะส่วนบนหนักหรือใหญ่ ส่วนล่างไม่แน่นหรือเล็ก. |
โงนเงน เขียนว่า สะ-หระ-โอ-งอ-งู-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง เอียงเอนไปมา, โอนเอนไปมา. | โงนเงน ก. เอียงเอนไปมา, โอนเอนไปมา. |
ไง้ เขียนว่า สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-งอ-งู-ไม้-โท | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ไค้, งัดขึ้น, คัดง้าง. | ไง้ (ปาก) ก. ไค้, งัดขึ้น, คัดง้าง. |
จ เขียนว่า จอ-จาน | พยัญชนะตัวที่ ๘ เป็นตัวต้นวรรคที่ ๒ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กิจ วินิจฉัย ตํารวจ จอร์จ. | จ พยัญชนะตัวที่ ๘ เป็นตัวต้นวรรคที่ ๒ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กิจ วินิจฉัย ตํารวจ จอร์จ. |
จก เขียนว่า จอ-จาน-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้. | จก ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้. |
จง เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู | เป็นคําช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย, หรือบอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ. | จง เป็นคําช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย, หรือบอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ. |
จงเกลียดจงชัง เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก-จอ-จาน-งอ-งู-ชอ-ช้าง-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ผูกใจเกลียดชังอย่างยิ่ง. | จงเกลียดจงชัง ก. ผูกใจเกลียดชังอย่างยิ่ง. |
จงใจ เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำกริยา หมายถึง ตั้งใจ, หมายใจ, เจตนา. | จงใจ ก. ตั้งใจ, หมายใจ, เจตนา. |
จงดี เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ให้ดี, ให้เรียบร้อย. | จงดี ว. ให้ดี, ให้เรียบร้อย. |
จงรัก, จงรักภักดี จงรัก เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ จงรักภักดี เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-พอ-สำ-เพา-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อี | เป็นคำกริยา หมายถึง ผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือหรือรู้คุณอย่างยิ่ง. | จงรัก, จงรักภักดี ก. ผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือหรือรู้คุณอย่างยิ่ง. |
จ่ง เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-เอก-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง จง. | จ่ง (กลอน) ว. จง. |
จ๋ง เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-จัด-ตะ-วา-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เรียกลูกชายคนที่ ๑๐ ว่า ลูกจ๋ง, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๑๐ ว่า ลูกอัง. (กฎ. ๒). | จ๋ง (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๑๐ ว่า ลูกจ๋ง, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๑๐ ว่า ลูกอัง. (กฎ. ๒). |
จงกรม เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-มอ-ม้า | [กฺรม] เป็นคำกริยา หมายถึง เดินไปมาโดยมีสติกำกับอย่างพระเดินเจริญกรรมฐาน เรียกว่า เดินจงกรม. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต และมาจากภาษาบาลี . | จงกรม [กฺรม] ก. เดินไปมาโดยมีสติกำกับอย่างพระเดินเจริญกรรมฐาน เรียกว่า เดินจงกรม. (ส.; ป.จงฺกม). |
จงกรมแก้ว เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-มอ-ม้า-สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่-ไม้-โท-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง พระพุทธรูปปางหนึ่งยืนย่างพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานพระเพลา มีเรือนแก้ว. ในวงเล็บ มาจาก ตำนานพุทธเจดีย์ พระนิพนธ์ ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. | จงกรมแก้ว น. พระพุทธรูปปางหนึ่งยืนย่างพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานพระเพลา มีเรือนแก้ว. (พุทธเจดีย์). |
จงกล เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-กอ-ไก่-ลอ-ลิง | [กน] เป็นคำนาม หมายถึง บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์วนปเวสน์; สิ่งที่ทําให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง สําหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน; ก้านของพู่ที่ประดับหัวม้าติดอยู่กับขลุมทั้ง ๒ ข้าง ตั้งขึ้นไป.(รูปภาพ จงกล). | จงกล [กน] น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); สิ่งที่ทําให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง สําหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน; ก้านของพู่ที่ประดับหัวม้าติดอยู่กับขลุมทั้ง ๒ ข้าง ตั้งขึ้นไป.(รูปภาพ จงกล). |
จงกลนี เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-นอ-หนู-สะ-หระ-อี | [กนละนี] เป็นคำนาม หมายถึง บัว, บัวดอกคล้ายบัวขม มีเกสรซ้อนหลายชั้น แตกก้านต่อดอกแล้วมีดอกต่อกัน ๓ ดอกบ้าง ๔ ดอกบ้าง. (ทมิฬ เจ็ง ว่า แดง กาฬนีร ว่า บัว หมายความว่า บัวแดง). ในวงเล็บ มาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓. | จงกลนี [กนละนี] น. บัว, บัวดอกคล้ายบัวขม มีเกสรซ้อนหลายชั้น แตกก้านต่อดอกแล้วมีดอกต่อกัน ๓ ดอกบ้าง ๔ ดอกบ้าง. (ทมิฬ เจ็ง ว่า แดง กาฬนีร ว่า บัว หมายความว่า บัวแดง). (พจน. ๒๔๙๓). |
จงโคร่ง, โจงโคร่ง จงโคร่ง เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-ไม้-เอก-งอ-งู โจงโคร่ง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-จอ-จาน-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-ไม้-เอก-งอ-งู | [โคฺร่ง] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก อาศัยในป่าบริเวณริมลําธารหรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก. | จงโคร่ง, โจงโคร่ง [โคฺร่ง] น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก อาศัยในป่าบริเวณริมลําธารหรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก. |
จงอร เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-ออ-อ่าง-รอ-เรือ | [ออน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำกริยา หมายถึง จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์ชูชก ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร อร เขียนว่า ออ-อ่าง-รอ-เรือ ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม . | จงอร [ออน] (แบบ) ก. จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม). |
จงอาง เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-ออ-อ่าง-สะ-หระ-อา-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่องูพิษชนิด Ophiophagus hannah ในวงศ์ Elapidae เป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ตัวสีเขียวอมเทาหรือสีคลํ้า ชูคอแผ่แม่เบี้ยได้ พบทั้งในป่าโปร่งและป่าทึบ, บองหลา ก็เรียก. | จงอาง น. ชื่องูพิษชนิด Ophiophagus hannah ในวงศ์ Elapidae เป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ตัวสีเขียวอมเทาหรือสีคลํ้า ชูคอแผ่แม่เบี้ยได้ พบทั้งในป่าโปร่งและป่าทึบ, บองหลา ก็เรียก. |
จแจ้น เขียนว่า จอ-จาน-สะ-หระ-แอ-จอ-จาน-ไม้-โท-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แตกจากหมู่, กระจัดกระจาย, ในคําว่า หนีญญ่ายพายจแจ้น. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมจารึกสยาม ภาคที่ จารึกสุโขทัย, ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ชำระและแปล ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | จแจ้น (แบบ) ว. แตกจากหมู่, กระจัดกระจาย, ในคําว่า หนีญญ่ายพายจแจ้น. (จารึกสยาม). |
จญ เขียนว่า จอ-จาน-ยอ-หยิง | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ประจญ, สู้รบ, เช่น คือนาคจญครุทธสรงง วิ่งเว้น. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตยวนพ่าย ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐ ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร ชล่ เขียนว่า ชอ-ช้าง-ลอ-ลิง-ไม้-เอก. | จญ (โบ; กลอน) ก. ประจญ, สู้รบ, เช่น คือนาคจญครุทธสรงง วิ่งเว้น. (ยวนพ่าย). (ข. ชล่). |
จด เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง จ่อให้ถึงกัน, ถึง, จนถึง; แตะ. | จด ๑ ก. จ่อให้ถึงกัน, ถึง, จนถึง; แตะ. |
จดจ้อง, จด ๆ จ้อง ๆ จดจ้อง เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก-จอ-จาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู จด ๆ จ้อง ๆ เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก ไม้-ยะ-มก จอ-จาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู ไม้-ยะ-มก | เป็นคำกริยา หมายถึง ตั้งท่าจะทําแล้วไม่ลงมือทําเพราะไม่แน่ใจ. | จดจ้อง, จด ๆ จ้อง ๆ ก. ตั้งท่าจะทําแล้วไม่ลงมือทําเพราะไม่แน่ใจ. |
จดไม่ลง เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-เอก-ลอ-ลิง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ไม่กล้าซื้อเพราะราคาแพงมาก. | จดไม่ลง (ปาก) ก. ไม่กล้าซื้อเพราะราคาแพงมาก. |
จดหมัด เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง ตั้งท่ามวย. | จดหมัด ก. ตั้งท่ามวย. |
จด เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง กําหนด, หมายไว้, เขียนไว้. | จด ๒ ก. กําหนด, หมายไว้, เขียนไว้. |
จดจ่อ เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก-จอ-จาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง | เป็นคำกริยา หมายถึง มีใจฝักใฝ่ผูกพันอยู่. | จดจ่อ ก. มีใจฝักใฝ่ผูกพันอยู่. |
จดจำ เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก-จอ-จาน-สะ-หระ-อำ | เป็นคำกริยา หมายถึง กําหนดไว้ในใจ, จําไว้ในใจ. | จดจำ ก. กําหนดไว้ในใจ, จําไว้ในใจ. |
จดทะเบียน เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำกริยา หมายถึง ลงบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกําหนด เช่น จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท. | จดทะเบียน (กฎ) ก. ลงบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกําหนด เช่น จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท. |
จดหมาย เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | เป็นคำนาม หมายถึง หนังสือที่มีไปมาถึงกัน. | จดหมาย น. หนังสือที่มีไปมาถึงกัน. |
จดหมายเวียน เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู | เป็นคำนาม หมายถึง (ปาก) หนังสือเวียน; หนังสือที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงคนจํานวนมาก. | จดหมายเวียน น. (ปาก) หนังสือเวียน; หนังสือที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงคนจํานวนมาก. |
จดหมายเหตุ เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ | เป็นคำนาม หมายถึง หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน. | จดหมายเหตุ น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน. |
จดุร มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ | [จะดุระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง แผลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่. | จดุร [จะดุระ] (กลอน) แผลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่. |
จดุรงค์ เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | [จะดุรง] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง องค์ ๔. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี จตุร เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ + องฺค เขียนว่า ออ-อ่าง-งอ-งู-พิน-ทุ-คอ-ควาย . | จดุรงค์ [จะดุรง] (แบบ) ว. องค์ ๔. (ป. จตุร + องฺค). |
จดูร มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า จอ-จาน-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อู-รอ-เรือ | [จะดูระ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ นครกัณฑ์. | จดูร [จะดูระ] ว. สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
จตุ มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ | [จะตุ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลี. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | จตุ [จะตุ] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลี. (ป.). |
จตุกาลธาตุ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง-ทอ-ทง-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ | [กาละทาด] เป็นคำนาม หมายถึง ธาตุกาล ๔ คือ ว่านนํ้า เจตมูลเพลิง แคแตร พนมสวรรค์. | จตุกาลธาตุ [กาละทาด] น. ธาตุกาล ๔ คือ ว่านนํ้า เจตมูลเพลิง แคแตร พนมสวรรค์. |
จตุทิพยคันธา เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-พอ-พาน-ยอ-ยัก-คอ-ควาย-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ทอ-ทง-สะ-หระ-อา | [ทิบพะยะ] เป็นคำนาม หมายถึง กลิ่นทิพย์ ๔ ประการ คือ ดอกพิกุล ชะเอมเทศ มะกลํ่าเครือ ขิงแครง. | จตุทิพยคันธา [ทิบพะยะ] น. กลิ่นทิพย์ ๔ ประการ คือ ดอกพิกุล ชะเอมเทศ มะกลํ่าเครือ ขิงแครง. |
จตุบท เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-บอ-ไบ-ไม้-ทอ-ทะ-หาน | เป็นคำนาม หมายถึง สัตว์สี่เท้า. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | จตุบท น. สัตว์สี่เท้า. (ป.). |
จตุบริษัท เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-บอ-ไบ-ไม้-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-สอ-รือ-สี-ไม้-หัน-อา-กาด-ทอ-ทะ-หาน | เป็นคำนาม หมายถึง บริษัท ๔ เหล่า, ถ้าเป็นพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา, ถ้าเป็นราชบริษัทหรือประชุมชนทั่วไป ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | จตุบริษัท น. บริษัท ๔ เหล่า, ถ้าเป็นพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา, ถ้าเป็นราชบริษัทหรือประชุมชนทั่วไป ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ. (ป.). |
จตุปัจจัย เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-ปอ-ปลา-ไม้-หัน-อา-กาด-จอ-จาน-จอ-จาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-ยัก | [จะตุปัดไจ] เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | จตุปัจจัย [จะตุปัดไจ] น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). (ป.). |
จตุปาริสุทธิศีล เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-ทอ-ทะ-หาน-ทอ-ทง-สะ-หระ-อิ-สอ-สา-ลา-สะ-หระ-อี-ลอ-ลิง | [จะตุปาริสุดทิสีน] เป็นคำนาม หมายถึง ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือเครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | จตุปาริสุทธิศีล [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือเครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.). |
จตุลังคบาท เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-คอ-ควาย-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน | [จะตุลังคะบาด] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือลิลิตตะเลงพ่าย แบบเรียนกวีนิพนธ์, จัตุลังคบาท ก็ว่า. | จตุลังคบาท [จะตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ. (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท ก็ว่า. |
จตุโลกบาล เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-สะ-หระ-โอ-ลอ-ลิง-กอ-ไก่-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง | [จะตุโลกกะบาน] เป็นคำนาม หมายถึง ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จัตุโลกบาล ก็ว่า. | จตุโลกบาล [จะตุโลกกะบาน] น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จัตุโลกบาล ก็ว่า. |
จตุสดมภ์ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก-มอ-ม้า-พอ-สำ-เพา-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี จตุ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ = สี่ + ภาษาสันสกฤต สฺตมฺภ เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-ตอ-เต่า-มอ-ม้า-พิน-ทุ-พอ-สำ-เพา = หลัก หมายความว่า หลัก ๔ . | จตุสดมภ์ น. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔). |
จตุตถ, จตุตถี จตุตถ มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-ตอ-เต่า-ถอ-ถุง จตุตถี เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-ตอ-เต่า-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อี | [จะตุดถะ, ตุดถี] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่ ๔ เช่นจตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | จตุตถ, จตุตถี [จะตุดถะ, ตุดถี] ว. ที่ ๔ เช่นจตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. (ป.). |
จตุร มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ | [จะตุระ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต และมาจากภาษาบาลี จตุ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ. | จตุร [จะตุระ] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. (ส.; ป. จตุ). |
จตุรคูณ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-คอ-ควาย-สะ-หระ-อู-นอ-เนน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ๔ เท่า. | จตุรคูณ ว. ๔ เท่า. |
จตุรงค์ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง องค์ ๔, ๔ เหล่า. เป็นคำนาม หมายถึง หมากรุก เช่น ต่งงกรดานจตุรงคมยง ม่ายม้า. (กำสรวล). (ป.; เป็นคำสรรพนาม หมายถึง จตุร + องฺค). | จตุรงค์ ว. องค์ ๔, ๔ เหล่า. น. หมากรุก เช่น ต่งงกรดานจตุรงคมยง ม่ายม้า. (กำสรวล). (ป.; ส. จตุร + องฺค). |
จตุรงคนายก เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-งอ-งู-คอ-ควาย-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-กอ-ไก่ | [จะตุรงคะ] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน). | จตุรงคนายก [จะตุรงคะ] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน). |
จตุรงคประดับ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-งอ-งู-คอ-ควาย-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | [จะตุรงคะ] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจ พระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้งกระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน). | จตุรงคประดับ [จะตุรงคะ] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจ พระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้งกระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน). |
จตุรงคพล เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-งอ-งู-คอ-ควาย-พอ-พาน-ลอ-ลิง | [จะตุรงคะ] เป็นคำนาม หมายถึง กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ; หมากรุก. | จตุรงคพล [จะตุรงคะ] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ; หมากรุก. |
จตุรงคยมก เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-งอ-งู-คอ-ควาย-ยอ-ยัก-มอ-ม้า-กอ-ไก่ | [จะตุรงคะยะมก] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะจังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรืองฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน). | จตุรงคยมก [จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะจังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรืองฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน). |
จตุรงคโยธา เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-งอ-งู-คอ-ควาย-สะ-หระ-โอ-ยอ-ยัก-ทอ-ทง-สะ-หระ-อา | [จะตุรงคะ] เป็นคำนาม หมายถึง กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต จตุรงฺค เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-งอ-งู-พิน-ทุ-คอ-ควาย + โยธา เขียนว่า สะ-หระ-โอ-ยอ-ยัก-ทอ-ทง-สะ-หระ-อา . | จตุรงคโยธา [จะตุรงคะ] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + โยธา). |
จตุรงคเสนา เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-งอ-งู-คอ-ควาย-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา | [จะตุรงคะ] เป็นคำนาม หมายถึง กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคินีเสนา ก็ว่า. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต จตุรงฺค เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-งอ-งู-พิน-ทุ-คอ-ควาย + เสนา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา . | จตุรงคเสนา [จะตุรงคะ] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคินีเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา). |
จตุรงคินีเสนา เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-งอ-งู-คอ-ควาย-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-อี-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา | [จะตุรง] เป็นคำนาม หมายถึง กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคเสนา ก็ว่า. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต จตุรงฺคินี เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-งอ-งู-พิน-ทุ-คอ-ควาย-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-สะ-หระ-อี + เสนา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา . | จตุรงคินีเสนา [จะตุรง] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา). |
จตุรพักตร์ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ผู้มี ๔ หน้า คือ พระพรหม. | จตุรพักตร์ ว. ผู้มี ๔ หน้า คือ พระพรหม. |
จตุรพิธ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-พอ-พาน-สะ-หระ-อิ-ทอ-ทง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มี ๔ อย่าง. | จตุรพิธ ว. มี ๔ อย่าง. |
จตุรพิธพร เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-พอ-พาน-สะ-หระ-อิ-ทอ-ทง-พอ-พาน-รอ-เรือ | [พิดทะพอน] เป็นคำนาม หมายถึง พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พร ขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกําลังแข็งแรง. | จตุรพิธพร [พิดทะพอน] น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พร ขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกําลังแข็งแรง. |
จตุรภุช เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อุ-ชอ-ช้าง | [พุด] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ผู้มี ๔ แขน คือ พระนารายณ์. | จตุรภุช [พุด] ว. ผู้มี ๔ แขน คือ พระนารายณ์. |
จตุรภูมิ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อู-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ | [พูม] เป็นคำนาม หมายถึง ภูมิ ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ ๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในรูปภพ ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในอรูปภพ ๔. โลกุตรภูมิ ภูมิอันพ้นจากโลก. | จตุรภูมิ [พูม] น. ภูมิ ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ ๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในรูปภพ ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในอรูปภพ ๔. โลกุตรภูมิ ภูมิอันพ้นจากโลก. |
จตุรมุข เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-ขอ-ไข่ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ผู้มี ๔ หน้า คือ พระพรหม. | จตุรมุข (กลอน) น. ผู้มี ๔ หน้า คือ พระพรหม. |
จตุรยุค เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-คอ-ควาย | เป็นคำนาม หมายถึง ยุคทั้ง ๔ คือ กฤดายุค ไตรดายุค ทวาบรยุค กลียุค. | จตุรยุค น. ยุคทั้ง ๔ คือ กฤดายุค ไตรดายุค ทวาบรยุค กลียุค. |
จตุรเวท, จตุรเพท จตุรเวท เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ทอ-ทะ-หาน จตุรเพท เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ทอ-ทะ-หาน | [จะตุระเวด, จะตุระเพด] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท. ในวงเล็บ ดู เวท, เวท เวท เขียนว่า สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ทอ-ทะ-หาน เวท มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ทอ-ทะ-หาน . | จตุรเวท, จตุรเพท [จะตุระเวด, จะตุระเพด] น. ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท. (ดู เวท, เวท). |
จตุราริยสัจ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-จอ-จาน | [จะตุราริยะสัด] เป็นคำนาม หมายถึง อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี จตุร เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ + อริยสจฺจ เขียนว่า ออ-อ่าง-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-สอ-เสือ-จอ-จาน-พิน-ทุ-จอ-จาน . | จตุราริยสัจ [จะตุราริยะสัด] น. อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. (ป. จตุร + อริยสจฺจ). |
จตุรงค์ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด | ดู จตุร มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ. | จตุรงค์ ดู จตุร. |
จตุรถ มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-รอ-เรือ-ถอ-ถุง | [จะตุระถะ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่ ๔ เช่น จตุรถาภรณ์. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต และมาจากภาษาบาลี จตฺตถ เขียนว่า จอ-จาน-ตอ-เต่า-พิน-ทุ-ตอ-เต่า-ถอ-ถุง. | จตุรถ [จะตุระถะ] ว. ที่ ๔ เช่น จตุรถาภรณ์. (ส.; ป. จตฺตถ). |
จทึง เขียนว่า จอ-จาน-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อึ-งอ-งู | [จะทึง] เป็นคำนาม หมายถึง แม่นํ้า, ใช้ว่า ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร สฺทึง เขียนว่า สอ-เสือ-พิน-ทุ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อึ-งอ-งู ว่า คลอง . | จทึง [จะทึง] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง). |
จน เขียนว่า จอ-จาน-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อัตคัดขัดสน, ฝืดเคือง, มีเงินไม่พอยังชีพ. เป็นคำกริยา หมายถึง แพ้ เช่น หมากรุกจน; หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทําได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มีทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี. | จน ๑ ว. อัตคัดขัดสน, ฝืดเคือง, มีเงินไม่พอยังชีพ. ก. แพ้ เช่น หมากรุกจน; หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทําได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มีทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี. |
จน เขียนว่า จอ-จาน-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำสันธาน หมายถึง ตราบเท่า เช่น จนตาย, จนกระทั่ง หรือ จนถึง ก็ว่า. | จน ๒ สัน. ตราบเท่า เช่น จนตาย, จนกระทั่ง หรือ จนถึง ก็ว่า. |
จนกระทั่ง, จนถึง จนกระทั่ง เขียนว่า จอ-จาน-นอ-หนู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู จนถึง เขียนว่า จอ-จาน-นอ-หนู-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อึ-งอ-งู | เป็นคำสันธาน หมายถึง ตราบเท่า, ที่สุดถึง. | จนกระทั่ง, จนถึง สัน. ตราบเท่า, ที่สุดถึง. |
จนกว่า เขียนว่า จอ-จาน-นอ-หนู-กอ-ไก่-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา | เป็นคำสันธาน หมายถึง กระทั่งถึงเวลานั้น ๆ เช่น จนกว่าจะตาย. | จนกว่า สัน. กระทั่งถึงเวลานั้น ๆ เช่น จนกว่าจะตาย. |
จนชั้น เขียนว่า จอ-จาน-นอ-หนู-ชอ-ช้าง-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำสันธาน หมายถึง ที่สุดแต่. | จนชั้น สัน. ที่สุดแต่. |
จนด้วยเกล้า เขียนว่า จอ-จาน-นอ-หนู-ดอ-เด็ก-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง หมดปัญญาคิด. | จนด้วยเกล้า (ปาก) ก. หมดปัญญาคิด. |
จนได้ เขียนว่า จอ-จาน-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ดอ-เด็ก-ไม้-โท | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ในที่สุดก็เป็นเช่นนั้น เช่น ห้ามแล้วยังไปทำอีกจนได้. | จนได้ ว. ในที่สุดก็เป็นเช่นนั้น เช่น ห้ามแล้วยังไปทำอีกจนได้. |
จนแล้วจนรอด เขียนว่า จอ-จาน-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-ลอ-ลิง-ไม้-โท-วอ-แหวน-จอ-จาน-นอ-หนู-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เป็นอยู่อย่างนั้นจนถึงบัดนี้. | จนแล้วจนรอด ว. เป็นอยู่อย่างนั้นจนถึงบัดนี้. |
จ้น เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-โท-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ถี่ ๆ เช่น กินออกจ้นมิได้หยุดช่างสุดแสน. ในวงเล็บ มาจาก นิราศลอนดอน แบบเรียนกวีนิพนธ์. | จ้น ว. ถี่ ๆ เช่น กินออกจ้นมิได้หยุดช่างสุดแสน. (นิ. ลอนดอน). |
จบ เขียนว่า จอ-จาน-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง การสิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกการสิ้นสุดเช่นนั้น เช่น สวดจบหนึ่ง ตั้งนโม ๓ จบ. เป็นคำกริยา หมายถึง สิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ เช่น จบชั้นไหน. | จบ ๑ น. การสิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกการสิ้นสุดเช่นนั้น เช่น สวดจบหนึ่ง ตั้งนโม ๓ จบ. ก. สิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ เช่น จบชั้นไหน. |
จบเห่ เขียนว่า จอ-จาน-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ไม้-เอก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง หมดเสียง; สิ้นท่า, หมดท่า; ยุติ. | จบเห่ (ปาก) ก. หมดเสียง; สิ้นท่า, หมดท่า; ยุติ. |
จบ เขียนว่า จอ-จาน-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง ยกของขึ้นหรือพนมมือเหนือหน้าผากเพื่อตั้งใจอุทิศให้เวลาทำบุญทำทาน; กิริยาที่ช้างชูงวงขึ้นเหนือหัวทําความเคารพ ในคำว่า ช้างจบ. | จบ ๒ ก. ยกของขึ้นหรือพนมมือเหนือหน้าผากเพื่อตั้งใจอุทิศให้เวลาทำบุญทำทาน; กิริยาที่ช้างชูงวงขึ้นเหนือหัวทําความเคารพ ในคำว่า ช้างจบ. |
จบ เขียนว่า จอ-จาน-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๓ | เป็นคำกริยา หมายถึง ต่อกัน, พบกัน, เช่น จับปลายเชือก ๒ เส้นมาจบกัน. | จบ ๓ ก. ต่อกัน, พบกัน, เช่น จับปลายเชือก ๒ เส้นมาจบกัน. |
จม เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลายที่ไม่เด่นว่า ลายจม. ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย. | จม ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลายที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย. |
จมเบ้า เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-โท-สะ-หระ-อา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ. | จมเบ้า ว. อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ. |
จมปลัก เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง ติดอยู่กับที่, ไม่ก้าวหน้า. | จมปลัก ก. ติดอยู่กับที่, ไม่ก้าวหน้า. |
จมไม่ลง เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-เอก-ลอ-ลิง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำกริยา หมายถึง เคยทําตัวใหญ่มาแล้วทําให้เล็กลงไม่ได้ (มักใช้แก่คนที่เคยมั่งมีหรือรุ่งเรืองมาก่อน เมื่อยากจนหรือตกอับลงก็ยังทําตัวเหมือนเดิม). | จมไม่ลง (สำ) ก. เคยทําตัวใหญ่มาแล้วทําให้เล็กลงไม่ได้ (มักใช้แก่คนที่เคยมั่งมีหรือรุ่งเรืองมาก่อน เมื่อยากจนหรือตกอับลงก็ยังทําตัวเหมือนเดิม). |
จ่ม เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-เอก-มอ-ม้า | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคพายัพและภาคอีสาน เป็นคำกริยา หมายถึง บ่น. (จ่ม ไทยดำ ว่า บ่น). | จ่ม (ถิ่นพายัพ, อีสาน) ก. บ่น. (จ่ม ไทยดำ ว่า บ่น). |
จมร, จมรี จมร เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-รอ-เรือ จมรี เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี | ดู จามรี เขียนว่า จอ-จาน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี. | จมร, จมรี ดู จามรี. |
จมูก เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่ | [จะหฺมูก] เป็นคำนาม หมายถึง อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สําหรับดมกลิ่นและหายใจเข้าหายใจออก, ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง ตมูก ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระนาสิก, โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | จมูก [จะหฺมูก] น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สําหรับดมกลิ่นและหายใจเข้าหายใจออก, (ปาก) ตมูก ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระนาสิก, โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. (ข.จฺรมุะ). |
จมูกข้าว เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนปลายของเมล็ดข้าวที่ติดกับก้านดอก เป็นส่วนที่ต้นอ่อนงอก. | จมูกข้าว น. ส่วนปลายของเมล็ดข้าวที่ติดกับก้านดอก เป็นส่วนที่ต้นอ่อนงอก. |
จมูกมด เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-มอ-ม้า-ดอ-เด็ก | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ที่ไหวตัวหรือรู้ตัวทันเหตุการณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา หูผี เป็น หูผีจมูกมด. | จมูกมด (สำ) ว. ที่ไหวตัวหรือรู้ตัวทันเหตุการณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา หูผี เป็น หูผีจมูกมด. |
จมูกวัว เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ท่อที่ต่อจากสูบไปเป่าเปลวไฟไปท่วมเบ้า. | จมูกวัว น. ท่อที่ต่อจากสูบไปเป่าเปลวไฟไปท่วมเบ้า. |
จมูกปลาหลด, จมูกปลาไหล จมูกปลาหลด เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ดอ-เด็ก จมูกปลาไหล เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-หอ-หีบ-ลอ-ลิง | ดู กระพังโหม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-หอ-หีบ-มอ-ม้า. | จมูกปลาหลด, จมูกปลาไหล ดู กระพังโหม. |
จมูกหลอด เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | ดู ตะพาบ, ตะพาบนํ้า ตะพาบ เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ ตะพาบนํ้า เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้-นอ-หนู-นิก-คะ-หิด-ไม้-โท-สะ-หระ-อา . | จมูกหลอด ดู ตะพาบ, ตะพาบนํ้า. |
จยุติ เขียนว่า จอ-จาน-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ | [จะยุดติ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง จุติ. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต . | จยุติ [จะยุดติ] (กลอน) ก. จุติ. (ส.). |
จร ๑, จร จร ความหมายที่ ๑ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ จร มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ | [จอน, จอระ, จะระ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. เป็นคำกริยา หมายถึง ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต , ใช้เป็นบทท้ายสมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบกับคําไทยก็มี. | จร ๑, จร [จอน, จอระ, จะระ] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้ายสมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบกับคําไทยก็มี. |
จรกลู่ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก | [จอระกฺลู่] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เที่ยวลอยเกลื่อนกลาดอยู่ เช่น จรกลู่ขึ้นกลางโพยมากาศ. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์ทศพร. | จรกลู่ [จอระกฺลู่] (กลอน) ก. เที่ยวลอยเกลื่อนกลาดอยู่ เช่น จรกลู่ขึ้นกลางโพยมากาศ. (ม. คำหลวง ทศพร). |
จรจรัล เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-จอ-จาน-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ลอ-ลิง | [จอระจะรัน, จอนจะรัน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เที่ยวไป, เดินไป, เช่น แม่รักลูกรักจรจรัล พลายพังก็กระสัน. ในวงเล็บ มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | จรจรัล [จอระจะรัน, จอนจะรัน] (กลอน) ก. เที่ยวไป, เดินไป, เช่น แม่รักลูกรักจรจรัล พลายพังก็กระสัน. (ดุษฎีสังเวย). |
จรจัด เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-จอ-จาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก | [จอน] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ร่อนเร่และไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง. | จรจัด [จอน] ว. ร่อนเร่และไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง. |
จรดล เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ดอ-เด็ก-ลอ-ลิง | [จอระดน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เที่ยวไปถึง. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี จร เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ + ตล เขียนว่า ตอ-เต่า-ลอ-ลิง = พื้น และมาจากภาษาเขมร ฎล เขียนว่า ดอ-ชะ-ดา-ลอ-ลิง = ถึง . | จรดล [จอระดน] (กลอน) ก. เที่ยวไปถึง. (ป. จร + ตล = พื้น; ข. ฎล = ถึง). |
จรบน, จรบัน จรบน เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-บอ-ไบ-ไม้-นอ-หนู จรบัน เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | [จะระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เที่ยวไปเบื้องบน, ฟุ้งไป, บินไป, เช่น ด้วยคันธามลกชําระจรบันสระหอมรส. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ นครกัณฑ์. | จรบน, จรบัน [จะระ] (กลอน) ก. เที่ยวไปเบื้องบน, ฟุ้งไป, บินไป, เช่น ด้วยคันธามลกชําระจรบันสระหอมรส. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
จรบาท เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน | [จอระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เดินไปด้วยเท้า, ตรงกับคําว่า บทจร. | จรบาท [จอระ] (กลอน) ก. เดินไปด้วยเท้า, ตรงกับคําว่า บทจร. |
จรมัน เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู | [จอระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ทําให้มั่น, ทําให้แข็งแรง. | จรมัน [จอระ] (กลอน) ก. ทําให้มั่น, ทําให้แข็งแรง. |
จรลวง, จรล่วง จรลวง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-วอ-แหวน-งอ-งู จรล่วง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-ไม้-เอก-วอ-แหวน-งอ-งู | [จอระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ล่วงไป, ลับไป. | จรลวง, จรล่วง [จอระ] (กลอน) ก. ล่วงไป, ลับไป. |
จรลาย เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | [จอระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ละลายไป, หายไป. | จรลาย [จอระ] (กลอน) ก. ละลายไป, หายไป. |
จรล่ำ, จรหล่ำ จรล่ำ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ จรหล่ำ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ | [จอระหฺล่ำ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อชีชูชกเถ้ามหลกอการ ไปแวนนานจรล่ำแล. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์ชูชก, เท่าว่าทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อกลางคืน. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์มัทรี. | จรล่ำ, จรหล่ำ [จอระหฺล่ำ] (กลอน) ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อชีชูชกเถ้ามหลกอการ ไปแวนนานจรล่ำแล. (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่าทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อกลางคืน. (ม. คำหลวง มัทรี). |
จรลิ่ว เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-วอ-แหวน | [จอระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เที่ยวไปไกล, ลอยไป, เช่น เหลียวแลทางจรลิ่ว เหลียวแลทิวเทินป่า. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน. | จรลิ่ว [จอระ] (กลอน) ก. เที่ยวไปไกล, ลอยไป, เช่น เหลียวแลทางจรลิ่ว เหลียวแลทิวเทินป่า. (ลอ). |
จรลี เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี | [จอระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เดินเยื้องกราย. | จรลี [จอระ] (กลอน) ก. เดินเยื้องกราย. |
จรลู่ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก | [จอระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เที่ยวไปตามทาง, เที่ยวกลิ้งอยู่, เที่ยวกองอยู่. | จรลู่ [จอระ] (กลอน) ก. เที่ยวไปตามทาง, เที่ยวกลิ้งอยู่, เที่ยวกองอยู่. |
จร เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ ความหมายที่ ๒ | [จอน]ดู จอน เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-นอ-หนู ความหมายที่ ๒. | จร ๒ [จอน] ดู จอน ๒. |
จรก เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-กอ-ไก่ | [จะรก] เป็นคำนาม หมายถึง ผู้เที่ยวไป, ผู้เดินไป. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต . | จรก [จะรก] น. ผู้เที่ยวไป, ผู้เดินไป. (ป., ส.). |
จรแกว่ง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่-วอ-แหวน-ไม้-เอก-งอ-งู | [จะระแกฺว่ง] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง แกว่ง. | จรแกว่ง [จะระแกฺว่ง] (กลอน) ก. แกว่ง. |
จรคั่ง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-คอ-ควาย-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู | [จะระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง คั่ง. | จรคั่ง [จะระ] (กลอน) ก. คั่ง. |
จรณะ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-นอ-เนน-สะ-หระ-อะ | [จะระ] เป็นคำนาม หมายถึง ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | จรณะ [จะระ] น. ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา. (ป.). |
จรด เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ดอ-เด็ก | [จะหฺรด] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำกริยา หมายถึง จด, ถึง, จ่อให้ถึง. | จรด [จะหฺรด] (โบ; แบบ) ก. จด, ถึง, จ่อให้ถึง. |
จรดพระกรรไกรกรรบิด, จรดพระกรรไตรกรรบิด จรดพระกรรไกรกรรบิด เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ดอ-เด็ก-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-กอ-ไก่-รอ-เรือ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-รอ-เรือ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก จรดพระกรรไตรกรรบิด เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ดอ-เด็ก-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-รอ-เรือ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำกริยา หมายถึง ใช้กรรไตรและมีดโกนขริบและโกนผมเล็กน้อย เป็นการเริ่มในพระราชพิธีโสกันต์และเกศากันต์. | จรดพระกรรไกรกรรบิด, จรดพระกรรไตรกรรบิด (ราชา) ก. ใช้กรรไตรและมีดโกนขริบและโกนผมเล็กน้อย เป็นการเริ่มในพระราชพิธีโสกันต์และเกศากันต์. |
จรดพระนังคัล เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ดอ-เด็ก-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-คอ-ควาย-ไม้-หัน-อา-กาด-ลอ-ลิง | เป็นคำกริยา หมายถึง จดไถลงดินเพื่อไถนาในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ. | จรดพระนังคัล ก. จดไถลงดินเพื่อไถนาในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ. |
จรมูก เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่ | [จะระหฺมูก] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง จมูก. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร จฺรมุะ เขียนว่า จอ-จาน-พิน-ทุ-รอ-เรือ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-สะ-หระ-อะ. | จรมูก [จะระหฺมูก] (กลอน) น. จมูก. (ข. จฺรมุะ). |
จรรจา เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-จอ-จาน-สะ-หระ-อา | [จัน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์กุมาร ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต จฺรจา เขียนว่า จอ-จาน-พิน-ทุ-รอ-เรือ-จอ-จาน-สะ-หระ-อา. | จรรจา [จัน] (กลอน) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวง กุมาร). (ส. จฺรจา). |
จรรโจษ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-โอ-จอ-จาน-สอ-รือ-สี | [จันโจด] เป็นคำกริยา หมายถึง โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, เช่น จรรโจษประชามี พลพิรียชาญชม. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘, จันโจษ ก็ว่า. | จรรโจษ [จันโจด] ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, เช่น จรรโจษประชามี พลพิรียชาญชม. (สมุทรโฆษ), จันโจษ ก็ว่า. |
จรรม, จรรม จรรม เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า จรรม มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า | [จํา, จํามะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำนาม หมายถึง หนังสัตว์. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต จรฺมนฺ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-พิน-ทุ-มอ-ม้า-นอ-หนู-พิน-ทุ และมาจากภาษาบาลี จมฺม เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-พิน-ทุ-มอ-ม้า. | จรรม, จรรม [จํา, จํามะ] (แบบ) น. หนังสัตว์. (ส. จรฺมนฺ; ป. จมฺม). |
จรรมการ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง ช่างหนัง. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต และมาจากภาษาบาลี จมฺมการ เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-พิน-ทุ-มอ-ม้า-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ. | จรรมการ น. ช่างหนัง. (ส.; ป. จมฺมการ). |
จรรมขัณฑ์ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า-ขอ-ไข่-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-เนน-ทอ-มน-โท-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ท่อนหนัง, แผ่นหนัง, เช่น ทรงครองอชินจรรมขัณฑ์เป็นเครื่องคลุม. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์จุลพน ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต และมาจากภาษาบาลี จมฺม เขียนว่า จอ-จาน-มอ-ม้า-พิน-ทุ-มอ-ม้า + ขณฺฑ เขียนว่า ขอ-ไข่-นอ-เนน-พิน-ทุ-ทอ-มน-โท . | จรรมขัณฑ์ น. ท่อนหนัง, แผ่นหนัง, เช่น ทรงครองอชินจรรมขัณฑ์เป็นเครื่องคลุม. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ส.; ป. จมฺม + ขณฺฑ). |
จรรยา เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา | [จัน] เป็นคำนาม หมายถึง ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความประพฤติที่ดี. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต จรฺยา เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-พิน-ทุ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา และมาจากภาษาบาลี จริยา เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา. | จรรยา [จัน] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความประพฤติที่ดี. (ส. จรฺยา; ป. จริยา). |
จรรยาบรรณ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้-รอ-เรือ-รอ-เรือ-นอ-เนน | [จันยาบัน] เป็นคำนาม หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้. | จรรยาบรรณ [จันยาบัน] น. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้. |
จรรโลง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-รอ-เรือ-สะ-หระ-โอ-ลอ-ลิง-งอ-งู | [จัน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำกริยา หมายถึง พยุงไว้ไม่ให้เซหรือไม่ให้ล้มลง, ผดุง, ค้ำชู, เช่น จรรโลงประเทศ, บำรุงรักษาและเชิดชูไว้ไม่ให้เสื่อม เช่น จรรโลงศาสนา. | จรรโลง [จัน] (แบบ) ก. พยุงไว้ไม่ให้เซหรือไม่ให้ล้มลง, ผดุง, ค้ำชู, เช่น จรรโลงประเทศ, บำรุงรักษาและเชิดชูไว้ไม่ให้เสื่อม เช่น จรรโลงศาสนา. |
จรลาด, จรหลาด จรลาด เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก จรหลาด เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก | [จะระหฺลาด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว. ในวงเล็บ มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์, จรหลาดเลขคนหนา ฝ่งงเฝ้า. (กำสรวล). | จรลาด, จรหลาด [จะระหฺลาด] (กลอน) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว. (นิ. นรินทร์), จรหลาดเลขคนหนา ฝ่งงเฝ้า. (กำสรวล). |
จรวจ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-วอ-แหวน-จอ-จาน | [จฺรวด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำกริยา หมายถึง กรวด, หลั่งน้ำ. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร จฺรวจทึก เขียนว่า จอ-จาน-พิน-ทุ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-จอ-จาน-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่ ว่า กรวดนํ้า . | จรวจ [จฺรวด] (แบบ) ก. กรวด, หลั่งน้ำ. (เทียบ ข. จฺรวจทึก ว่า กรวดนํ้า). |
จรวด เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๑ | [จะหฺรวด] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อจุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, กรวด ก็เรียก. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร กําชฺรัวจ เขียนว่า กอ-ไก่-นิก-คะ-หิด-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-พิน-ทุ-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน-จอ-จาน ว่า พลุ . เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สูงชัน, ใช้ว่า กรวด ก็มี. | จรวด ๑ [จะหฺรวด] น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อจุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, กรวด ก็เรียก. (ข. กําชฺรัวจ ว่า พลุ). ว. สูงชัน, ใช้ว่า กรวด ก็มี. |
จรวด เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ๒ | [จะหฺรวด] เป็นคำนาม หมายถึง อาวุธหรือยานอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงมาก โดยใช้เชื้อเพลิงในตัวเองเผาไหม้เป็นแก๊สพุ่งออกมาจากส่วนท้าย มีทั้งชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งและชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ rocket เขียนว่า อา-โอ-ซี-เค-อี-ที. | จรวด ๒ [จะหฺรวด] น. อาวุธหรือยานอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงมาก โดยใช้เชื้อเพลิงในตัวเองเผาไหม้เป็นแก๊สพุ่งออกมาจากส่วนท้าย มีทั้งชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งและชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว. (อ. rocket). |
จรวดนำวิถี เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก-นอ-หนู-สะ-หระ-อำ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อี | เป็นคำนาม หมายถึง อาวุธปล่อยนําวิถีซึ่งขับเคลื่อนด้วยจรวด. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ guided เขียนว่า จี-ยู-ไอ-ดี-อี-ดี rocket เขียนว่า อา-โอ-ซี-เค-อี-ที . | จรวดนำวิถี น. อาวุธปล่อยนําวิถีซึ่งขับเคลื่อนด้วยจรวด. (อ. guided rocket). |
จรวดจรี เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก-จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี | [จฺรวดจะรี] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำนาม หมายถึง ยอดแหลมสูง. | จรวดจรี [จฺรวดจะรี] (แบบ) น. ยอดแหลมสูง. |
จรวดไจร เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-จอ-จาน-รอ-เรือ | [จะหฺรวดจะไร] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำกริยา หมายถึง ตรวจดู, พิจารณาดู, เช่น ทังทุ่มทู้ต่างย้าง จรวจไจร. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตยวนพ่าย ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐. | จรวดไจร [จะหฺรวดจะไร] (แบบ) ก. ตรวจดู, พิจารณาดู, เช่น ทังทุ่มทู้ต่างย้าง จรวจไจร. (ยวนพ่าย). |
จรวัก เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | [จะระหฺวัก] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ตวัก. | จรวัก [จะระหฺวัก] (กลอน) น. ตวัก. |
จรส เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สอ-เสือ | [จะหฺรด] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง จรัส, แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง, เช่น เหลืองจรุลจรสรจนา. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ ทานกัณฑ์. | จรส [จะหฺรด] ว. จรัส, แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง, เช่น เหลืองจรุลจรสรจนา. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
จรอก เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | [จะหฺรอก] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ทาง, ทางแคบ, ทางเล็ก, ตรอก, ซอก, เช่น มาคะคล้ายโดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน, บ้างก็นั่งในท่าน้ำบ้างก็ค้ำกันไปนั่งในจรอก. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์ชูชก ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร จฺรก เขียนว่า จอ-จาน-พิน-ทุ-รอ-เรือ-กอ-ไก่. | จรอก ๑ [จะหฺรอก] (กลอน) น. ทาง, ทางแคบ, ทางเล็ก, ตรอก, ซอก, เช่น มาคะคล้ายโดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่. (ลอ), บ้างก็นั่งในท่าน้ำบ้างก็ค้ำกันไปนั่งในจรอก. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จฺรก). |
จรอก เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | [จะหฺรอก] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง จอก, ขันเล็ก ๆ ที่ใช้ตักนํ้าจากขันใหญ่, เช่น จับจรอกคันธรสจุณจันทน์. (สุธนู). | จรอก ๒ [จะหฺรอก] (กลอน) น. จอก, ขันเล็ก ๆ ที่ใช้ตักนํ้าจากขันใหญ่, เช่น จับจรอกคันธรสจุณจันทน์. (สุธนู). |
จระกล้าย เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | [จะระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตยวนพ่าย ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐, แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์กุมาร. | จระกล้าย [จะระ] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร). |
จระขาบ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ | [จะระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ตะขาบ, ใช้ว่า จะขาบ ก็มี. | จระขาบ [จะระ] (กลอน) น. ตะขาบ, ใช้ว่า จะขาบ ก็มี. |
จระเข้ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท | [จอระ] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้. | จระเข้ [จอระ] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้. |
จระเข้ขวางคลอง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ขอ-ไข่-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-งอ-งู-คอ-ควาย-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำนาม หมายถึง ผู้ที่ชอบกันท่าหรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวก เหมือนจระเข้ที่ขึ้นมาขวางคลองทำให้เรือผ่านไปมาไม่สะดวก. | จระเข้ขวางคลอง (สำ) น. ผู้ที่ชอบกันท่าหรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวก เหมือนจระเข้ที่ขึ้นมาขวางคลองทำให้เรือผ่านไปมาไม่สะดวก. |
จระเข้คับคลอง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-คอ-ควาย-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-คอ-ควาย-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำนาม หมายถึง ผู้ที่ชอบวางตัวใหญ่โตเกินไปย่อมมีอุปสรรคในการดำรงตนในสังคม. | จระเข้คับคลอง (สำ) น. ผู้ที่ชอบวางตัวใหญ่โตเกินไปย่อมมีอุปสรรคในการดำรงตนในสังคม. |
จระเข้ปากกระทุงเหว เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-วอ-แหวน | ดู ตะโขง เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ขอ-ไข่-งอ-งู. | จระเข้ปากกระทุงเหว ดู ตะโขง. |
จระเข้หางยาว เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. | จระเข้หางยาว น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. |
จระคลับ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-คอ-ควาย-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ | [จะระคฺลับ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มืด, ครึ้ม. | จระคลับ [จะระคฺลับ] (กลอน) ว. มืด, ครึ้ม. |
จระคล้าย เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-คอ-ควาย-ลอ-ลิง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | [จะระคฺล้าย] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ใกล้กราย, อยู่ใกล้, โบราณเขียนเป็น จรคล้าย ก็มี, เช่น โหยบเหนสายใจ จรคล้าย. (กำสรวล). | จระคล้าย [จะระคฺล้าย] (กลอน) ก. ใกล้กราย, อยู่ใกล้, โบราณเขียนเป็น จรคล้าย ก็มี, เช่น โหยบเหนสายใจ จรคล้าย. (กำสรวล). |
จระคลุ่ม เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-คอ-ควาย-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า | [จะระคฺลุ่ม] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มืดมัว, คลุ้ม. | จระคลุ่ม [จะระคฺลุ่ม] (กลอน) ว. มืดมัว, คลุ้ม. |
จระแคง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-คอ-ควาย-งอ-งู | [จะระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ตะแคง เช่น เท้าล้มจระแคง ทลายพุงพัง. (สุธนู). | จระแคง [จะระ] (กลอน) ว. ตะแคง เช่น เท้าล้มจระแคง ทลายพุงพัง. (สุธนู). |
จระจุ่ม เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-จอ-จาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า | [จะระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ใส่, เผา, ทิ้ง, โยน. | จระจุ่ม [จะระ] (กลอน) ก. ใส่, เผา, ทิ้ง, โยน. |
จระทก, จระเทิน จระทก เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-กอ-ไก่ จระเทิน เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู | [จะระทก, เทิน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง สะทก, สะเทิน, งกเงิ่น; จับจด, โบราณเขียนเป็น จรเทิน ก็มี เช่น อ้าแม่อย่าจองจิตรจรเทิน ศุขเพลินภิรมย์สม. ในวงเล็บ มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | จระทก, จระเทิน [จะระทก, เทิน] (กลอน) ก. สะทก, สะเทิน, งกเงิ่น; จับจด, โบราณเขียนเป็น จรเทิน ก็มี เช่น อ้าแม่อย่าจองจิตรจรเทิน ศุขเพลินภิรมย์สม. (ดุษฎีสังเวย). |
จระนำ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-สะ-หระ-อำ | [จะระ] เป็นคำนาม หมายถึง ซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า ซุ้มจระนํา. (ทมิฬ จาฬรัม ว่า หน้าต่าง). | จระนำ [จะระ] น. ซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า ซุ้มจระนํา. (ทมิฬ จาฬรัม ว่า หน้าต่าง). |
จระบาน เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-นอ-หนู | [จะระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง สู้รบ. | จระบาน [จะระ] (กลอน) ก. สู้รบ. |
จระบี เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี | [จะระ] เป็นคำนาม หมายถึง จาระบี. | จระบี [จะระ] น. จาระบี. |
จระลิ่ง, จระลึง จระลิ่ง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-งอ-งู จระลึง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อึ-งอ-งู | [จะระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ตะลึง เช่น จระลิ่งทางทิพห้อง แห่งองค์. ในวงเล็บ มาจาก ทวาทศมาส ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐. | จระลิ่ง, จระลึง [จะระ] (กลอน) ก. ตะลึง เช่น จระลิ่งทางทิพห้อง แห่งองค์. (ทวาทศมาส). |
จระลุง, จะลุง จระลุง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-งอ-งู จะลุง เขียนว่า จอ-จาน-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-งอ-งู | [จะระ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง เสาตะลุง, โบราณเขียนเป็น จรลุง หรือ จลุง ก็มี เช่น แท่นที่สถิตย์ จรลุงโสภิต พื้นฉลักฉลุทอง. ในวงเล็บ มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗, จลุงอาศน์เบญพาศเกลี้ยงเกลา พเนกพนักน่าเนา จะนอนก็ศุขสบไถง. ในวงเล็บ มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | จระลุง, จะลุง [จะระ] (กลอน) น. เสาตะลุง, โบราณเขียนเป็น จรลุง หรือ จลุง ก็มี เช่น แท่นที่สถิตย์ จรลุงโสภิต พื้นฉลักฉลุทอง. (ดุษฎีสังเวย), จลุงอาศน์เบญพาศเกลี้ยงเกลา พเนกพนักน่าเนา จะนอนก็ศุขสบไถง. (ดุษฎีสังเวย). |
จรัล เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ลอ-ลิง | [จะรัน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เดิน เช่น แปดโสตรสี่ภักตร์ทรงพา หนหงษ์เหินคลา วิหาศจรัลผันผาย. ในวงเล็บ มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | จรัล [จะรัน] (กลอน) ก. เดิน เช่น แปดโสตรสี่ภักตร์ทรงพา หนหงษ์เหินคลา วิหาศจรัลผันผาย. (ดุษฎีสังเวย). |
จรัส เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ | [จะหฺรัด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง. | จรัส [จะหฺรัด] (แบบ) ว. แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง. |
จราก เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | [จะหฺราก] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ตรากตรำ, ทําให้ลําบาก, เช่น คล้องติดคชคลอคชทังป่าขับจากขัง แลเข้าจรลุงจรากจอง. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘. | จราก [จะหฺราก] (กลอน) ก. ตรากตรำ, ทําให้ลําบาก, เช่น คล้องติดคชคลอคชทังป่าขับจากขัง แลเข้าจรลุงจรากจอง. (สมุทรโฆษ). |
จราง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-งอ-งู | [จะราง] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำกริยา หมายถึง ผุดขึ้น เช่น ลางส่ำจรางมันผัน ม่ายม้า. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตยวนพ่าย ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐ ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร จฺราง เขียนว่า จอ-จาน-พิน-ทุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-งอ-งู ว่า ตั้งขึ้น, ขนชัน . | จราง [จะราง] (แบบ) ก. ผุดขึ้น เช่น ลางส่ำจรางมันผัน ม่ายม้า. (ยวนพ่าย). (ข. จฺราง ว่า ตั้งขึ้น, ขนชัน). |
จราจร เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-จอ-จาน-รอ-เรือ | [จะราจอน] เป็นคำนาม หมายถึง การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมาตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์. | จราจร [จะราจอน] น. การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมาตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; (กฎ) การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์. |
จราญ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ยอ-หยิง | [จะราน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ผลัก, พัง, ทําลาย, กระจาย, ดับ. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร จฺราน เขียนว่า จอ-จาน-พิน-ทุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ว่า ผลัก . | จราญ [จะราน] (กลอน) ก. ผลัก, พัง, ทําลาย, กระจาย, ดับ. (ข. จฺราน ว่า ผลัก). |
จราย เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก | [จะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ทําลาย, กระจาย. | จราย [จะ] (กลอน) ก. ทําลาย, กระจาย. |
จราว เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน ความหมายที่ ๑ | [จะ] เป็นคำนาม หมายถึง ตะพาบนํ้า เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฏกูรม์. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘. | จราว ๑ [จะ] น. ตะพาบนํ้า เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฏกูรม์. (สมุทรโฆษ). |
จราว เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน ความหมายที่ ๒ | [จะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ดอกไม้ เช่น แคแจรเจรอญจราว. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์จุลพน. (แผลงมาจาก จาว). ในวงเล็บ ดู จาว เขียนว่า จอ-จาน-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน ความหมายที่ ๔. | จราว ๒ [จะ] (กลอน) น. ดอกไม้ เช่น แคแจรเจรอญจราว. (ม. คำหลวง จุลพน). (แผลงมาจาก จาว). (ดู จาว ๔). |
จราส เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ | [จะหฺราด] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ตลอดตัว เช่น แถวจราสศุภลักษณ์. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร จราส เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ ว่า ทวนจากล่างไปบน . | จราส [จะหฺราด] ว. ตลอดตัว เช่น แถวจราสศุภลักษณ์. (ลอ). (ข. จราส ว่า ทวนจากล่างไปบน). |
จริก เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | [จะหฺริก] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เอาปากสับและงับอย่างอาการนกสับ, กดลง. (แผลงมาจาก จิก). | จริก ๑ [จะหฺริก] (กลอน) ก. เอาปากสับและงับอย่างอาการนกสับ, กดลง. (แผลงมาจาก จิก). |
จริก เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | [จะหฺริก] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ต้นจิก เช่น จริกโจรตพยงผกากรรณก็มี. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์มหาพน. | จริก ๒ [จะหฺริก] (กลอน) น. ต้นจิก เช่น จริกโจรตพยงผกากรรณก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน). |
จริง, จริง ๆ จริง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-งอ-งู จริง ๆ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-งอ-งู ไม้-ยะ-มก | [จิง] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แน่ เช่น ทําจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝันกลายเป็นความจริง. | จริง, จริง ๆ [จิง] ว. แน่ เช่น ทําจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝันกลายเป็นความจริง. |
จริงจัง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-จอ-จาน-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แน่แท้ เช่น เชื่อถืออย่างจริงจัง, ไม่เป็นการเล่น เช่น ทํางานอย่างจริงจัง. | จริงจัง ว. แน่แท้ เช่น เชื่อถืออย่างจริงจัง, ไม่เป็นการเล่น เช่น ทํางานอย่างจริงจัง. |
จริงใจ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง บริสุทธิ์ใจ, สุจริตใจ. | จริงใจ ว. บริสุทธิ์ใจ, สุจริตใจ. |
จริงอยู่แต่, จริงอยู่...แต่ จริงอยู่แต่ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก-สะ-หระ-แอ-ตอ-เต่า-ไม้-เอก จริงอยู่...แต่ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก-จุด-จุด-จุด-สะ-หระ-แอ-ตอ-เต่า-ไม้-เอก | เป็นคำสันธาน หมายถึง ใช้แสดงความยืนยันข้อความที่กล่าวมาแล้วข้างหน้า และแสดงว่ามีข้อความขัดแย้งตามมาข้างหลัง. | จริงอยู่แต่, จริงอยู่...แต่ สัน. ใช้แสดงความยืนยันข้อความที่กล่าวมาแล้วข้างหน้า และแสดงว่ามีข้อความขัดแย้งตามมาข้างหลัง. |
จริต เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ตอ-เต่า | [จะหฺริด] เป็นคำนาม หมายถึง ความประพฤติ, กิริยาหรืออาการ, เช่น พุทธจริต เสียจริต วิกลจริต, บางทีใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต, จริตจะก้าน ก็ว่า. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | จริต [จะหฺริด] น. ความประพฤติ, กิริยาหรืออาการ, เช่น พุทธจริต เสียจริต วิกลจริต, บางทีใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต, จริตจะก้าน ก็ว่า. (ป.). |
จริม มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-มอ-ม้า | [จะริมะ] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สุดท้าย เช่น จริมจิต ว่า จิตดวงสุดท้าย. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | จริม [จะริมะ] ว. สุดท้าย เช่น จริมจิต ว่า จิตดวงสุดท้าย. (ป.). |
จริย มีเครื่องหมายยัติภังค์ท้ายคำ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก | [จะริยะ] เป็นคำนาม หมายถึง ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น จริยศึกษา. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | จริย [จะริยะ] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น จริยศึกษา. (ป.). |
จริยธรรม เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-ทอ-ทง-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า | เป็นคำนาม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม. | จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม. |
จริยวัตร, จริยาวัตร จริยวัตร เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-รอ-เรือ จริยาวัตร เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-รอ-เรือ | เป็นคำนาม หมายถึง หน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ; ความประพฤติ ท่วงทีวาจา และกิริยามารยาท. | จริยวัตร, จริยาวัตร น. หน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ; ความประพฤติ ท่วงทีวาจา และกิริยามารยาท. |
จริยศาสตร์ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-สอ-สา-ลา-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์ แสวงหาเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าอย่างไหนถูกไม่ถูก ดีไม่ดี ควรไม่ควร และพิจารณาปัญหาเรื่องสถานภาพของค่าทางศีลธรรม. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ ethics เขียนว่า อี-ที-เอช-ไอ-ซี-เอส. | จริยศาสตร์ น. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์ แสวงหาเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าอย่างไหนถูกไม่ถูก ดีไม่ดี ควรไม่ควร และพิจารณาปัญหาเรื่องสถานภาพของค่าทางศีลธรรม. (อ. ethics). |
จริยศึกษา เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-สอ-สา-ลา-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อา | เป็นคำนาม หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงามในทางความประพฤติและการปฏิบัติตน เพื่อให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรมและวัฒนธรรม. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ moral เขียนว่า เอ็ม-โอ-อา-เอ-แอล education เขียนว่า อี-ดี-ยู-ซี-เอ-ที-ไอ-โอ-เอ็น . | จริยศึกษา น. การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงามในทางความประพฤติและการปฏิบัติตน เพื่อให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรมและวัฒนธรรม. (อ. moral education). |
จริยา เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา | [จะ] เป็นคำนาม หมายถึง ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคําสมาส เช่น ธรรมจริยา. | จริยา [จะ] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคําสมาส เช่น ธรรมจริยา. |
จริยาปิฎก เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อิ-ดอ-ชะ-ดา-กอ-ไก่ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อคัมภีร์ที่ว่าด้วยการบําเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในชาติที่ล่วงแล้ว รวมอยู่ในขุทกนิกายแห่งสุตตันตปิฎก. | จริยาปิฎก น. ชื่อคัมภีร์ที่ว่าด้วยการบําเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในชาติที่ล่วงแล้ว รวมอยู่ในขุทกนิกายแห่งสุตตันตปิฎก. |
จริว เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-วอ-แหวน ความหมายที่ ๑ | [จะ] เป็นคำนาม หมายถึง เต่า; ตะพาบนํ้า; เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฏกูรม์ (สมุทรโฆษ); กริว หรือ ตริว ก็ว่า. | จริว ๑ [จะ] น. เต่า; ตะพาบนํ้า; เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฏกูรม์ (สมุทรโฆษ); กริว หรือ ตริว ก็ว่า. |
จริว เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-วอ-แหวน ความหมายที่ ๒ | [จะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เกรียว. | จริว ๒ [จะ] (กลอน) ว. เกรียว. |
จรี เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี | [จะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง มีด, หอก, ดาบ, เช่น บัดออกกลางสนามสองรา สองแขงขันหา ก็กุมจรีแกว่งไกว. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘ ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร . | จรี [จะ] (กลอน) น. มีด, หอก, ดาบ, เช่น บัดออกกลางสนามสองรา สองแขงขันหา ก็กุมจรีแกว่งไกว. (สมุทรโฆษ). (ข.). |
จรึง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อึ-งอ-งู | [จะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง กรึง, ตรึง, เช่น เทียบที่ถมอก่อภูเพียง บรรพตจรึงเรียง. ในวงเล็บ มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. | จรึง [จะ] (กลอน) ก. กรึง, ตรึง, เช่น เทียบที่ถมอก่อภูเพียง บรรพตจรึงเรียง. (ดุษฎีสังเวย). |
จรุก เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ | [จะหฺรุก] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำนาม หมายถึง หมู. ในวงเล็บ มาจาก จินดามณี เล่ม ๑ - ๒ กับบันทึกเรื่องหนังสือจินดามณีและจินดามณี ฉบับพระเจ้าบรมโกศ ของ พระโหราธิบดี ฉบับโรงพิมพ์ รุ่งวัฒนา พ.ศ. ๒๕๑๒ ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร ชฺรูก เขียนว่า ชอ-ช้าง-พิน-ทุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่. | จรุก [จะหฺรุก] (แบบ) น. หมู. (จินดามณี). (ข. ชฺรูก). |
จรุง, จรูง จรุง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ-งอ-งู จรูง เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู-งอ-งู | [จะรุง, จะรูง] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนิน สู่ศุขสวัสดีโดยไว. ในวงเล็บ มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗; ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล). | จรุง, จรูง [จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนิน สู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล). |
จรูญ เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู-ยอ-หยิง | [จะรูน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง รุ่งเรือง, งาม. | จรูญ [จะรูน] (กลอน) ว. รุ่งเรือง, งาม. |
จรูส เขียนว่า จอ-จาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู-สอ-เสือ | [จะหฺรูด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สูง, กรวด, จรวด. | จรูส [จะหฺรูด] (แบบ) ว. สูง, กรวด, จรวด. |
จเร เขียนว่า จอ-จาน-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ | [จะ] เป็นคำนาม หมายถึง ผู้ดูแลทั่ว ๆ ไป, ผู้ตรวจตราทั่ว ๆ ไป, เช่น จเรตำรวจ จเรทหาร. เป็นคำกริยา หมายถึง ตระเวนไป. | จเร [จะ] น. ผู้ดูแลทั่ว ๆ ไป, ผู้ตรวจตราทั่ว ๆ ไป, เช่น จเรตำรวจ จเรทหาร. ก. ตระเวนไป. |
จล เขียนว่า จอ-จาน-ลอ-ลิง | [จน] เป็นคำกริยา หมายถึง ไหว, สั่น, เช่น จลวิจล. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | จล [จน] ก. ไหว, สั่น, เช่น จลวิจล. (ป.). |
จลนพลศาสตร์ เขียนว่า จอ-จาน-ลอ-ลิง-นอ-หนู-พอ-พาน-ลอ-ลิง-สอ-สา-ลา-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด | [จะละนะพนละ, จนละนะพนละ] เป็นคำนาม หมายถึง สาขาหนึ่งของพลศาสตร์ ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง และแรงที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่นั้นด้วย. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ kinetics เขียนว่า เค-ไอ-เอ็น-อี-ที-ไอ-ซี-เอส. | จลนพลศาสตร์ [จะละนะพนละ, จนละนะพนละ] น. สาขาหนึ่งของพลศาสตร์ ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง และแรงที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่นั้นด้วย. (อ. kinetics). |
จลนศาสตร์ เขียนว่า จอ-จาน-ลอ-ลิง-นอ-หนู-สอ-สา-ลา-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด | [จะละนะ, จนละนะ] เป็นคำนาม หมายถึง สาขาหนึ่งของพลศาสตร์ ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง โดยไม่คํานึงถึงแรงที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่นั้น. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ kinematics เขียนว่า เค-ไอ-เอ็น-อี-เอ็ม-เอ-ที-ไอ-ซี-เอส. | จลนศาสตร์ [จะละนะ, จนละนะ] น. สาขาหนึ่งของพลศาสตร์ ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง โดยไม่คํานึงถึงแรงที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่นั้น. (อ. kinematics). |
จลนี เขียนว่า จอ-จาน-ลอ-ลิง-นอ-หนู-สะ-หระ-อี ความหมายที่ ๑ | [จะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง เนื้อสมัน. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | จลนี ๑ [จะ] (กลอน) น. เนื้อสมัน. (ป.). |
จลนี เขียนว่า จอ-จาน-ลอ-ลิง-นอ-หนู-สะ-หระ-อี ความหมายที่ ๒ | [จะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ชะนี เช่น จลนีหวนโหนปลายทูม. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ ทานกัณฑ์ ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี . | จลนี ๒ [จะ] (กลอน) น. ชะนี เช่น จลนีหวนโหนปลายทูม. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป.). |
จลา เขียนว่า จอ-จาน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา | [จะ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป เป็นคำนาม หมายถึง ธูป, ของหอม; แสงสว่าง, ฟ้าแลบ, เช่น จลาจเลนทร์. (ม. คำหลวง แปลจากคํา คนฺธมาทโน; เป็นคำสรรพนาม หมายถึง จล + อจล + อินฺทฺร). | จลา [จะ] (แบบ) น. ธูป, ของหอม; แสงสว่าง, ฟ้าแลบ, เช่น จลาจเลนทร์. (ม. คำหลวง แปลจากคํา คนฺธมาทโน; ส. จล + อจล + อินฺทฺร). |
จลาจล เขียนว่า จอ-จาน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-จอ-จาน-ลอ-ลิง | [จะลาจน] เป็นคำนาม หมายถึง ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต จล เขียนว่า จอ-จาน-ลอ-ลิง + อจล เขียนว่า ออ-อ่าง-จอ-จาน-ลอ-ลิง . | จลาจล [จะลาจน] น. ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ. (ป., ส. จล + อจล). |
จวก เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-กอ-ไก่ | เป็นคำกริยา หมายถึง สับหรือฟันโดยแรงด้วยจอบเป็นต้น, ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง โดยปริยายหมายถึงตี ฟัน ชกต่อยผู้อื่นโดยแรง หรือว่าร้ายด้วยวาจา. | จวก ก. สับหรือฟันโดยแรงด้วยจอบเป็นต้น, (ปาก) โดยปริยายหมายถึงตี ฟัน ชกต่อยผู้อื่นโดยแรง หรือว่าร้ายด้วยวาจา. |
จ๊วก เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-ตรี-วอ-แหวน-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คําแต่งคํา ขาว ให้รู้ว่าสีขาวมาก, จั๊วะ ก็ว่า. | จ๊วก ว. คําแต่งคํา ขาว ให้รู้ว่าสีขาวมาก, จั๊วะ ก็ว่า. |
จวง, จวงหอม จวง เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-งอ-งู จวงหอม เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-งอ-งู-หอ-หีบ-ออ-อ่าง-มอ-ม้า | ดู เทพทารู, เทพทาโร เทพทารู เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-พอ-พาน-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู เทพทาโร เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-พอ-พาน-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-โอ-รอ-เรือ . | จวง, จวงหอม ดู เทพทารู, เทพทาโร. |
จวงจันทน์ เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-งอ-งู-จอ-จาน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู-ทอ-ทะ-หาน-นอ-หนู-ทัน-ทะ-คาด | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องหอมที่เจือด้วยจวงและจันทน์. | จวงจันทน์ น. เครื่องหอมที่เจือด้วยจวงและจันทน์. |
จ้วง เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-โท-วอ-แหวน-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง กิริยาที่เอาภาชนะเช่นขันเอื้อมลงไปตักนํ้าขึ้นมาโดยแรง; อาการที่เอาพายพุ้ยนํ้าโดยเร็วอย่างพายเรือแข่ง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่ตีหรือฟันสุดแขน เช่น จ้วงตี จ้วงฟัน. | จ้วง ก. กิริยาที่เอาภาชนะเช่นขันเอื้อมลงไปตักนํ้าขึ้นมาโดยแรง; อาการที่เอาพายพุ้ยนํ้าโดยเร็วอย่างพายเรือแข่ง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่ตีหรือฟันสุดแขน เช่น จ้วงตี จ้วงฟัน. |
จ้วงจาบ เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-โท-วอ-แหวน-งอ-งู-จอ-จาน-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาจเอื้อม, ล่วงเกินผู้อื่นด้วยวาจา, จาบจ้วง ก็ว่า. | จ้วงจาบ ว. อาจเอื้อม, ล่วงเกินผู้อื่นด้วยวาจา, จาบจ้วง ก็ว่า. |
จ๋วง เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-จัด-ตะ-วา-วอ-แหวน-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นคำนาม หมายถึง ต้นสนเขา. ในวงเล็บ ดู สน เขียนว่า สอ-เสือ-นอ-หนู ความหมายที่ ๑. | จ๋วง (ถิ่นพายัพ) น. ต้นสนเขา. (ดู สน ๑). |
จ๋วงเครือ เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-จัด-ตะ-วา-วอ-แหวน-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นคำนาม หมายถึง ต้นรากสามสิบ. ในวงเล็บ ดู รากสามสิบ เขียนว่า รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า-สอ-เสือ-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้. | จ๋วงเครือ (ถิ่นพายัพ) น. ต้นรากสามสิบ. (ดู รากสามสิบ). |
จวด เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลาทะเลหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Sciaenidae มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ปลายหัวอาจทู่หรือแหลม ปากเชิดมากน้อยหรืองุ้มตํ่า บ้างมีฟันแหลมคมหรือละเอียด หางเป็นรูปตัด มน หรือ กลม จนแม้กระทั่งแหลม โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับชนิดหรือขนาด ลําตัวมักมีสีเงินหรือเทา บ้างมีจุดประบนลําตัวและครีบ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง หรือบริเวณนํ้ากร่อยปากแม่นํ้า ทําเสียงได้. | จวด น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Sciaenidae มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ปลายหัวอาจทู่หรือแหลม ปากเชิดมากน้อยหรืองุ้มตํ่า บ้างมีฟันแหลมคมหรือละเอียด หางเป็นรูปตัด มน หรือ กลม จนแม้กระทั่งแหลม โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับชนิดหรือขนาด ลําตัวมักมีสีเงินหรือเทา บ้างมีจุดประบนลําตัวและครีบ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง หรือบริเวณนํ้ากร่อยปากแม่นํ้า ทําเสียงได้. |
จวดลาก เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ | ดู แก้ว เขียนว่า สะ-หระ-แอ-กอ-ไก่-ไม้-โท-วอ-แหวน ความหมายที่ ๔. | จวดลาก ดู แก้ว ๔. |
จวน เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ที่อยู่ของเจ้าเมือง, บ้านที่ทางราชการจัดให้เป็นที่อยู่ของผู้ว่าราชการจังหวัด เรียกว่า จวนผู้ว่าราชการจังหวัด. | จวน ๑ น. ที่อยู่ของเจ้าเมือง, บ้านที่ทางราชการจัดให้เป็นที่อยู่ของผู้ว่าราชการจังหวัด เรียกว่า จวนผู้ว่าราชการจังหวัด. |
จวน เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ผ้าชนิดหนึ่ง. | จวน ๒ น. ผ้าชนิดหนึ่ง. |
จวน เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ๓ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เกือบ, ใกล้, เช่น จวนถึง จวนตาย จวนได้. | จวน ๓ ว. เกือบ, ใกล้, เช่น จวนถึง จวนตาย จวนได้. |
จวนเจียน เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-จอ-จาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง หวุดหวิด, เฉียด. | จวนเจียน ว. หวุดหวิด, เฉียด. |
จวนแจ เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-นอ-หนู-สะ-หระ-แอ-จอ-จาน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กระชั้นชิด (ใช้เกี่ยวกับเวลา). | จวนแจ ว. กระชั้นชิด (ใช้เกี่ยวกับเวลา). |
จวนตัว เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-นอ-หนู-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เข้าที่คับขัน, เข้าที่จําเป็น. | จวนตัว ว. เข้าที่คับขัน, เข้าที่จําเป็น. |
จวบ เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-บอ-ไบ-ไม้ | เป็นคำนาม หมายถึง พบ, ประสบ, ร่วม, ถึง. | จวบ น. พบ, ประสบ, ร่วม, ถึง. |
จวบจวน เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-บอ-ไบ-ไม้-จอ-จาน-วอ-แหวน-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง จนถึง, ถึงที่. | จวบจวน ว. จนถึง, ถึงที่. |
จวัก เขียนว่า จอ-จาน-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ | [จะหฺวัก] เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทําด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า จ่า หรือ ตวัก ก็ว่า. | จวัก [จะหฺวัก] น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทําด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า จ่า หรือ ตวัก ก็ว่า. |
จอ เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปีที่ ๑๑ ของรอบปีนักษัตร มีหมาเป็นเครื่องหมาย. | จอ ๑ น. ชื่อปีที่ ๑๑ ของรอบปีนักษัตร มีหมาเป็นเครื่องหมาย. |
จอ เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ผ้าขาวที่ขึงไว้สําหรับเชิดหนังหรือฉายภาพยนตร์เป็นต้น; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จอโทรทัศน์. | จอ ๒ น. ผ้าขาวที่ขึงไว้สําหรับเชิดหนังหรือฉายภาพยนตร์เป็นต้น; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จอโทรทัศน์. |
จ่อ เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๑ | เป็นคำกริยา หมายถึง เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่น เช่น เอายาดมจ่อจมูก; มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำ จด เป็น จดจ่อ เช่น เขามีใจจดจ่อกับงาน. | จ่อ ๑ ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่น เช่น เอายาดมจ่อจมูก; มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำ จด เป็น จดจ่อ เช่น เขามีใจจดจ่อกับงาน. |
จ่อคิว เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-คอ-ควาย-สะ-หระ-อิ-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ใกล้ถึงลำดับที่จะได้หรือจะเป็น เช่น เขาจ่อคิวขึ้นเป็นหัวหน้า. | จ่อคิว (ปาก) ว. ใกล้ถึงลำดับที่จะได้หรือจะเป็น เช่น เขาจ่อคิวขึ้นเป็นหัวหน้า. |
จ่อ เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างกระด้ง มีไส้สานเป็นช่องโค้งอยู่ภายใน ใช้เลี้ยงตัวไหม. | จ่อ ๒ (ถิ่นอีสาน) น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างกระด้ง มีไส้สานเป็นช่องโค้งอยู่ภายใน ใช้เลี้ยงตัวไหม. |
จ้อ เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่พูดหรือคุยเรื่อยไปไม่หยุดปาก เช่น พูดจ้อ. | จ้อ ว. อาการที่พูดหรือคุยเรื่อยไปไม่หยุดปาก เช่น พูดจ้อ. |
จ๋อ เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-จัด-ตะ-วา-ออ-อ่าง | เป็นคำนาม หมายถึง คําใช้เรียกลิงหรือเด็กที่ซนอย่างลิงว่า อ้ายจ๋อ. | จ๋อ น. คําใช้เรียกลิงหรือเด็กที่ซนอย่างลิงว่า อ้ายจ๋อ. |
จอก เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๑ | เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะเล็ก ๆ รูปอย่างขัน ถ้าใช้สําหรับตักนํ้าโดยลอยอยู่ในขันใหญ่เรียก จอกลอย, ถ้าใช้ใส่หมากในเชี่ยนหมากเรียก จอกหมาก; ภาชนะเล็ก ๆ รูปทรงกระบอก ใช้กินยา ดื่มเหล้า เป็นต้น; ใช้เป็นลักษณนาม เช่น เหล้า ๓ จอก. | จอก ๑ น. ภาชนะเล็ก ๆ รูปอย่างขัน ถ้าใช้สําหรับตักนํ้าโดยลอยอยู่ในขันใหญ่เรียก จอกลอย, ถ้าใช้ใส่หมากในเชี่ยนหมากเรียก จอกหมาก; ภาชนะเล็ก ๆ รูปทรงกระบอก ใช้กินยา ดื่มเหล้า เป็นต้น; ใช้เป็นลักษณนาม เช่น เหล้า ๓ จอก. |
จอก เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒ | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้นํ้าชนิด Pistia stratiotes L. ในวงศ์ Araceae ลอยอยู่บนผิวนํ้า ไม่มีลําต้น มีแต่รากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเป็นแผ่นสีเขียวสดซ้อน ๆ กันเป็นกลุ่ม ยาว ๕๑๐ เซนติเมตร. | จอก ๒ น. ชื่อไม้นํ้าชนิด Pistia stratiotes L. ในวงศ์ Araceae ลอยอยู่บนผิวนํ้า ไม่มีลําต้น มีแต่รากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเป็นแผ่นสีเขียวสดซ้อน ๆ กันเป็นกลุ่ม ยาว ๕๑๐ เซนติเมตร. |
จอก เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๓ | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง นกกระจอก. | จอก ๓ (โบ) น. นกกระจอก. |
จ้อก, จ้อก ๆ จ้อก เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ จ้อก ๆ เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงอย่างเสียงนํ้าที่ไหลตกลงมา. | จ้อก, จ้อก ๆ ว. เสียงอย่างเสียงนํ้าที่ไหลตกลงมา. |
จ๊อก เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-ตรี-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสํานวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใดร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า. | จ๊อก ว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสํานวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใดร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า. |
จ๊อก ๆ เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-ตรี-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ไม้-ยะ-มก | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงอย่างเสียงนํ้าที่ไหลตกลงมาเบา ๆ; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ก็ว่า. | จ๊อก ๆ ว. เสียงอย่างเสียงนํ้าที่ไหลตกลงมาเบา ๆ; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ก็ว่า. |
จ้อกแจ้ก เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สะ-หระ-แอ-จอ-จาน-ไม้-โท-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงดังเช่นนั้น, เสียงของคนมาก ๆ ที่ต่างคนต่างพูดกันจนฟังไม่ได้ศัพท์. | จ้อกแจ้ก ว. เสียงดังเช่นนั้น, เสียงของคนมาก ๆ ที่ต่างคนต่างพูดกันจนฟังไม่ได้ศัพท์. |
จ้อกวอก เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-วอ-แหวน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ขาวมาก (มักใช้แก่หน้าที่ผัดแป้งไว้ขาวเกินไป). | จ้อกวอก ว. ขาวมาก (มักใช้แก่หน้าที่ผัดแป้งไว้ขาวเกินไป). |
จอกหูหนู เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-หอ-หีบ-สะ-หระ-อู-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อู | เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อผักกูดนํ้าชนิด Salvinia cucullata Roxb. ในวงศ์ Salviniaceae ลอยอยู่บนผิวนํ้า มีรากเป็นฝอยยาวคล้ายจอก ที่ต่างกับจอก คือ มีใบ ๒ ใบอยู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น ตัวใบกลม สีเขียวแก่ โคนใบเว้าเข้าเล็กน้อย ตั้งชูขึ้นคล้ายหูหนู. | จอกหูหนู น. ชื่อผักกูดนํ้าชนิด Salvinia cucullata Roxb. ในวงศ์ Salviniaceae ลอยอยู่บนผิวนํ้า มีรากเป็นฝอยยาวคล้ายจอก ที่ต่างกับจอก คือ มีใบ ๒ ใบอยู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น ตัวใบกลม สีเขียวแก่ โคนใบเว้าเข้าเล็กน้อย ตั้งชูขึ้นคล้ายหูหนู. |
จอง เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำกริยา หมายถึง ผูกไว้; มั่นหมายไว้, ขอกําหนดไว้, เช่น จองกฐิน จองที่. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร จง เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู ว่า ผูก . | จอง ก. ผูกไว้; มั่นหมายไว้, ขอกําหนดไว้, เช่น จองกฐิน จองที่. (ข. จง ว่า ผูก). |
จองกฐิน เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-ถอ-ถาน-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู | เป็นคำกริยา หมายถึง แจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้น ๆ ไว้เป็นการล่วงหน้า. | จองกฐิน ก. แจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้น ๆ ไว้เป็นการล่วงหน้า. |
จองคช เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-คอ-ควาย-ชอ-ช้าง | [คด] เป็นคำนาม หมายถึง ช้างที่ผูกเครื่องรบเข้าระวางทัพ. | จองคช [คด] น. ช้างที่ผูกเครื่องรบเข้าระวางทัพ. |
จองจำ เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-จอ-จาน-สะ-หระ-อำ | เป็นคำกริยา หมายถึง ใส่ตรวนหรือเครื่องพันธนาการขังไว้ในคุกในตะรางเป็นต้น, จําจอง ก็ว่า. | จองจำ ก. ใส่ตรวนหรือเครื่องพันธนาการขังไว้ในคุกในตะรางเป็นต้น, จําจอง ก็ว่า. |
จองตั๋ว เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-จัด-ตะ-วา-วอ-แหวน | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง ซื้อตั๋วล่วงหน้า. | จองตั๋ว (ปาก) ก. ซื้อตั๋วล่วงหน้า. |
จองถนน เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-ถอ-ถุง-นอ-หนู-นอ-หนู | ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ถมที่ลุ่มขึ้นเป็นถนน. | จองถนน (โบ) ก. ถมที่ลุ่มขึ้นเป็นถนน. |
จองล้างจองผลาญ เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-ลอ-ลิง-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-ผอ-ผึ้ง-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ยอ-หยิง | เป็นคำกริยา หมายถึง ผูกใจเจ็บคิดจะทำการแก้แค้นให้ได้. | จองล้างจองผลาญ ก. ผูกใจเจ็บคิดจะทำการแก้แค้นให้ได้. |
จองเวร เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-รอ-เรือ | เป็นคำกริยา หมายถึง ผูกอาฆาตพยาบาท. | จองเวร ก. ผูกอาฆาตพยาบาท. |
จองเวรจองกรรม เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-รอ-เรือ-จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า | เป็นคำกริยา หมายถึง ผูกอาฆาตพยาบาทไม่มีที่สิ้นสุด. | จองเวรจองกรรม ก. ผูกอาฆาตพยาบาทไม่มีที่สิ้นสุด. |
จ้อง เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ ๑ | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นคำนาม หมายถึง ร่ม. (อนันตวิภาค ว่า จ่อง). | จ้อง ๑ (ถิ่นพายัพ) น. ร่ม. (อนันตวิภาค ว่า จ่อง). |
จ้อง เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ ๒ | เป็นคำกริยา หมายถึง เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทําร้าย จ้องจะแทง, กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. | จ้อง ๒ ก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทําร้าย จ้องจะแทง, กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. |
จ๋อง เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-จัด-ตะ-วา-ออ-อ่าง-งอ-งู | ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง หงอยเหงา, เซื่อง, ไม่กล้า, ไม่คึกคัก. | จ๋อง (ปาก) ว. หงอยเหงา, เซื่อง, ไม่กล้า, ไม่คึกคัก. |
จ้องเต เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า | เป็นคำนาม หมายถึง ต้องเต. | จ้องเต น. ต้องเต. |
จองเปรียง เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-งอ-งู | [เปฺรียง] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อพิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ เป็นพิธีจุดโคมรับพระเป็นเจ้า ทําในวันเพ็ญเดือน ๑๒. | จองเปรียง [เปฺรียง] น. ชื่อพิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ เป็นพิธีจุดโคมรับพระเป็นเจ้า ทําในวันเพ็ญเดือน ๑๒. |
จองหง่อง เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-หอ-หีบ-งอ-งู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่นั่งอย่างหงอยเหงา. | จองหง่อง ว. อาการที่นั่งอย่างหงอยเหงา. |
จ้องหน่อง เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องทําให้เกิดเสียงเป็นเพลง โดยใช้ปากคาบแล้วกระตุกหรือชักด้วยเชือกให้สั่นดังเป็นเสียงดนตรี. | จ้องหน่อง น. เครื่องทําให้เกิดเสียงเป็นเพลง โดยใช้ปากคาบแล้วกระตุกหรือชักด้วยเชือกให้สั่นดังเป็นเสียงดนตรี. |
จองหอง เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-หอ-หีบ-ออ-อ่าง-งอ-งู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เย่อหยิ่ง, ทะนงตัว, ถือดี, อวดดี. | จองหอง ว. เย่อหยิ่ง, ทะนงตัว, ถือดี, อวดดี. |
จองหองพองขน เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-หอ-หีบ-ออ-อ่าง-งอ-งู-พอ-พาน-ออ-อ่าง-งอ-งู-ขอ-ไข่-นอ-หนู | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เย่อหยิ่งแสดงอาการลบหลู่. | จองหองพองขน ว. เย่อหยิ่งแสดงอาการลบหลู่. |
จอแจ เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-สะ-หระ-แอ-จอ-จาน | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีผู้คนคับคั่งและมีเสียงเซ็งแซ่ เช่น ผู้คนจอแจ ตลาดจอแจ; จวนแจ เช่น เวลาจอแจเต็มที. | จอแจ ว. มีผู้คนคับคั่งและมีเสียงเซ็งแซ่ เช่น ผู้คนจอแจ ตลาดจอแจ; จวนแจ เช่น เวลาจอแจเต็มที. |
จ๋อแจ๋ เขียนว่า จอ-จาน-ไม้-จัด-ตะ-วา-ออ-อ่าง-สะ-หระ-แอ-จอ-จาน-ไม้-จัด-ตะ-วา | เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงอย่างเสียงเด็กพูด. | จ๋อแจ๋ ว. เสียงอย่างเสียงเด็กพูด. |
จอด เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก | เป็นคำกริยา หมายถึง หยุดอยู่หรือทําให้หยุด, หยุดอยู่ชั่วคราว, (ใช้แก่เรือรถเป็นต้น); ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง พ่ายแพ้, ไม่มีทางสู้, ตาย; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง รัก เช่น มิตรใจเรียมจอดเจ้า จักคิด ถึงฤๅ. ในวงเล็บ มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์. | จอด ก. หยุดอยู่หรือทําให้หยุด, หยุดอยู่ชั่วคราว, (ใช้แก่เรือรถเป็นต้น); (ปาก) พ่ายแพ้, ไม่มีทางสู้, ตาย; (กลอน) รัก เช่น มิตรใจเรียมจอดเจ้า จักคิด ถึงฤๅ. (นิ. นรินทร์). |
จอน ๑, จอนหู จอน ความหมายที่ ๑ เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-นอ-หนู จอนหู เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-นอ-หนู-หอ-หีบ-สะ-หระ-อู | เป็นคำนาม หมายถึง ชายผมข้างหูที่ระลงมาที่แก้ม. | จอน ๑, จอนหู น. ชายผมข้างหูที่ระลงมาที่แก้ม. |
จอน เขียนว่า จอ-จาน-ออ-อ่าง-นอ-หนู ความหมายที่ ๒ | ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องประดับหูอยู่ด้านหน้ากรรเจียก เช่น กรรเจียกซ้อนจอนแก้วแพรวพราว. ในวงเล็บ มาจาก อิเหนา พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๒ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๔, เขียนเป็น จร ก็มี. (ไทยใหญ่ จอน ว่า เสียบ). | จอน ๒ (กลอน) น. เครื่องประดับหูอยู่ด้านหน้ากรรเจียก เช่น กรรเจียกซ้อนจอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา), เขียนเป็น จร ก็มี. (ไทยใหญ่ จอน ว่า เสียบ). |