กระทรวง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-วอ-แหวน-งอ-งู ความหมายที่ [–ซวง] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง ส่วนราชการที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็นกระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไปแพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร กรฺสวง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-พิน-ทุ-สอ-เสือ-วอ-แหวน-งอ-งู****(สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).กระทรวง ๒ [–ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็นกระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไปแพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).
กระทวย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-วอ-แหวน-ยอ-ยัก เป็นคำนาม หมายถึง ทวย คือ ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น กระทวยธวัชกลงวง คชินทรจ้วงจับลม. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตเพชรมงกุฎ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ.กระทวย น. ทวย คือ ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น กระทวยธวัชกลงวง คชินทรจ้วงจับลม. (เพชรมงกุฎ).
–กระทวย มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-วอ-แหวน-ยอ-ยักใช้เข้าคู่กับคำ กระทด เป็น กระทดกระทวย หรือใช้เข้าคู่กับคำ กระทิก เป็น กระทิกกระทวย.–กระทวย ใช้เข้าคู่กับคำ กระทด เป็น กระทดกระทวย หรือใช้เข้าคู่กับคำ กระทิก เป็น กระทิกกระทวย.
กระทอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ เป็นคำกริยา หมายถึง กระแทกขึ้นกระแทกลง, กําแน่นแล้วรูดขึ้นรูดลง, ทำให้ทะลัก เช่น กระทอกเลือดกระแทกล้มกระดิกดิ้น. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือบทเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐-๖๑ ในวงเล็บ เทียบ ภาษามลายู กระตอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ว่า ตอก .กระทอก ก. กระแทกขึ้นกระแทกลง, กําแน่นแล้วรูดขึ้นรูดลง, ทำให้ทะลัก เช่น กระทอกเลือดกระแทกล้มกระดิกดิ้น. (ขุนช้างขุนแผน). (เทียบมลายู กระตอก ว่า ตอก).
กระท้อน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ผลค่อนข้างกลม เปลือกนุ่ม สีเหลือง เนื้อกินได้, สะท้อน ก็เรียก, พายัพเรียก มะต้อง หรือ มะตื๋น.กระท้อน ๑ น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ผลค่อนข้างกลม เปลือกนุ่ม สีเหลือง เนื้อกินได้, สะท้อน ก็เรียก, พายัพเรียก มะต้อง หรือ มะตื๋น.
กระท้อน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-นอ-หนู ความหมายที่ เป็นคำกริยา หมายถึง กระเด็นกลับ, กระดอนขึ้น, สะท้อน ก็ว่า.กระท้อน ๒ ก. กระเด็นกลับ, กระดอนขึ้น, สะท้อน ก็ว่า.
กระท่อนกระแท่น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-นอ-หนู เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ครบถ้วน.กระท่อนกระแท่น ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ครบถ้วน.
กระท่อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง เรือนเล็ก ๆ ทําพออยู่ได้. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร ขฺทม เขียนว่า ขอ-ไข่-พิน-ทุ-ทอ-ทะ-หาน-มอ-ม้า.กระท่อม ๑ น. เรือนเล็ก ๆ ทําพออยู่ได้. (เทียบ ข. ขฺทม).
กระท่อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. ในวงศ์ Rubiaceae ชอบขึ้นริมนํ้าทั่วไป ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ยอด ใบอ่อน และก้านใบสีแดงเรื่อ ๆ ช่อดอกกลมสีเหลืองออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ใบมีรสขม กินแล้วเมา เป็นยาเสพติด, อีถ่าง ก็เรียก.กระท่อม ๒ น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. ในวงศ์ Rubiaceae ชอบขึ้นริมนํ้าทั่วไป ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ยอด ใบอ่อน และก้านใบสีแดงเรื่อ ๆ ช่อดอกกลมสีเหลืองออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ใบมีรสขม กินแล้วเมา เป็นยาเสพติด, อีถ่าง ก็เรียก.
กระท่อมขี้หมู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด M. diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก; ชนิด M. rotundifolia (Roxb.) Kuntze ใบกลม โคนใบเว้า ขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก, กระทุ่มขี้หมู กระทุ่มหมู หรือ ตุ้มกว้าว ก็เรียก.กระท่อมขี้หมู น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด M. diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก; ชนิด M. rotundifolia (Roxb.) Kuntze ใบกลม โคนใบเว้า ขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก, กระทุ่มขี้หมู กระทุ่มหมู หรือ ตุ้มกว้าว ก็เรียก.
กระท้อมกระแท้ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-มอ-ม้า เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ใหญ่โต, เช่น หากินกระท้อมกระแท้มไปวันหนึ่ง ๆ.กระท้อมกระแท้ม ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ใหญ่โต, เช่น หากินกระท้อมกระแท้มไปวันหนึ่ง ๆ.
กระท่อมเลือด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก เป็นคำนาม หมายถึง ตํารากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะเช่นเดียวกับอย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาดกระด้ง ทั้ง๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือระดูขัด. ในวงเล็บ มาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓.กระท่อมเลือด น. ตํารากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะเช่นเดียวกับอย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาดกระด้ง ทั้ง๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือระดูขัด. (พจน. ๒๔๙๓).
กระทะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะก้นตื้นปากผาย ใช้สําหรับหุงต้มเป็นต้น.กระทะ ๑ น. ภาชนะก้นตื้นปากผาย ใช้สําหรับหุงต้มเป็นต้น.
กระทะใบบัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-บอ-ไบ-ไม้-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน เป็นคำนาม หมายถึง กระทะขนาดใหญ่.กระทะใบบัว น. กระทะขนาดใหญ่.
กระทะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ ดู ตะกรับ เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ๓ (๑).กระทะ ๒ ดู ตะกรับ ๓ (๑).
กระทั่ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู เป็นคำกริยา หมายถึง ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. ในวงเล็บ มาจาก นิราศเมืองเพชร ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๐; ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตรกระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. ในวงเล็บ มาจาก คาวี พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๒ พิมพ์ จ.ศ. ๑๒๔๙, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. เป็นคำบุรพบท หมายถึง จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขาก็ยังไม่เว้น.กระทั่ง ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตรกระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขาก็ยังไม่เว้น.
กระทั่งติด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็กดู มวก เขียนว่า มอ-ม้า-วอ-แหวน-กอ-ไก่.กระทั่งติด ดู มวก.
–กระทัน มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนูใช้เข้าคู่กับคํา กระทด เป็น กระทดกระทัน.–กระทัน ใช้เข้าคู่กับคํา กระทด เป็น กระทดกระทัน.
–กระทั้น มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-นอ-หนูใช้เข้าคู่กับคํา กระแทก เป็น กระแทกกระทั้น.–กระทั้น ใช้เข้าคู่กับคํา กระแทก เป็น กระแทกกระทั้น.
กระทา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Phasianidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับไก่ฟ้า ตัวกลม ขนลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น วิ่งหากินเมล็ดพืชและแมลงอยู่ตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ มีหลายชนิด เช่น กระทาทุ่ง (Francolinus pintadeanus) กระทาดงแข้งเขียว (Arborophila chloropus).กระทา น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Phasianidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับไก่ฟ้า ตัวกลม ขนลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น วิ่งหากินเมล็ดพืชและแมลงอยู่ตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ มีหลายชนิด เช่น กระทาทุ่ง (Francolinus pintadeanus) กระทาดงแข้งเขียว (Arborophila chloropus).
กระทาชาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง คนผู้ชาย, กระไทชาย ก็ว่า.กระทาชาย (โบ) น. คนผู้ชาย, กระไทชาย ก็ว่า.
กระทาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก เป็นคำนาม หมายถึง กระบุงเล็ก ปากผาย; เครื่องตวงครึ่งกระบุง ใช้ตวงข้าวสมัยโบราณ. เป็นคำกริยา หมายถึง กระทกของเอากากออก. ในวงเล็บ รูปภาพ กระทาย.กระทาย น. กระบุงเล็ก ปากผาย; เครื่องตวงครึ่งกระบุง ใช้ตวงข้าวสมัยโบราณ. ก. กระทกของเอากากออก. (รูปภาพ กระทาย).
กระทายเหิน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-นอ-หนูดู มหาหงส์ เขียนว่า มอ-ม้า-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-งอ-งู-สอ-เสือ-ทัน-ทะ-คาด.กระทายเหิน ดู มหาหงส์.
กระทาสี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ทาส เช่น เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระทาสี. ในวงเล็บ มาจาก นิราศ พระบวรราชนิพนธ์ ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท.กระทาสี (กลอน) น. ทาส เช่น เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระทาสี. (นิ. สุรสีห).
กระทาหอง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-ออ-อ่าง-งอ-งูดู จงโคร่ง, โจงโคร่ง จงโคร่ง เขียนว่า จอ-จาน-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-ไม้-เอก-งอ-งู โจงโคร่ง เขียนว่า สะ-หระ-โอ-จอ-จาน-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-คอ-ควาย-รอ-เรือ-ไม้-เอก-งอ-งู .กระทาหอง ดู จงโคร่ง, โจงโคร่ง.
กระทำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อำ ความหมายที่ เป็นคำกริยา หมายถึง ทํา, จัดแจง, ปรุงขึ้น, สร้างขึ้น; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย หมายถึง ทําการใด ๆ ที่เกิดผลในทางกฎหมาย และหมายรวมถึงละเว้นการที่กฎหมายบังคับให้กระทํา หรืองดเว้นการที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย.กระทำ ๑ ก. ทํา, จัดแจง, ปรุงขึ้น, สร้างขึ้น; (กฎ) ทําการใด ๆ ที่เกิดผลในทางกฎหมาย และหมายรวมถึงละเว้นการที่กฎหมายบังคับให้กระทํา หรืองดเว้นการที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย.
กระทำโดยเจตนา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-โอ-ดอ-เด็ก-ยอ-ยัก-สะ-หระ-เอ-จอ-จาน-ตอ-เต่า-นอ-หนู-สะ-หระ-อา ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำกริยา หมายถึง กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น.กระทำโดยเจตนา (กฎ) ก. กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น.
กระทำโดยประมาท เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อำ-สะ-หระ-โอ-ดอ-เด็ก-ยอ-ยัก-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำกริยา หมายถึง กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่.กระทำโดยประมาท (กฎ) ก. กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่.
กระทำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อำ ความหมายที่ เป็นคำกริยา หมายถึง ใช้เวทมนตร์ทําให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นไปตามต้องการของตน มีให้รักหรือให้ป่วยเจ็บเป็นต้น เช่นว่า กระทํายําเยีย, การถูกเวทมนตร์เช่นนี้เรียกว่า ถูกกระทํา.กระทำ ๒ ก. ใช้เวทมนตร์ทําให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นไปตามต้องการของตน มีให้รักหรือให้ป่วยเจ็บเป็นต้น เช่นว่า กระทํายําเยีย, การถูกเวทมนตร์เช่นนี้เรียกว่า ถูกกระทํา.
กระทิกกระทวย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-วอ-แหวน-ยอ-ยัก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ระริกระรี่, ซิกซี้, เช่น เจ้าก็ระรี่ระริกกระทิกกระทวยรวยระรื่นจนสิ้นตัว. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์ชูชก.กระทิกกระทวย ว. ระริกระรี่, ซิกซี้, เช่น เจ้าก็ระรี่ระริกกระทิกกระทวยรวยระรื่นจนสิ้นตัว. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
กระทิง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อวัวป่าที่ใหญ่ที่สุดชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae ขนลำตัวสีเทาหรือเทาอมดำ ยกเว้นขนบริเวณหน้าผากเป็นสีเทา ครึ่งล่างของขาทั้ง ๔ เป็นขนสีเทาอมเหลือง เนื่องจากเหงื่อที่เป็นน้ำมันที่ขับออกมา.กระทิง ๑ น. ชื่อวัวป่าที่ใหญ่ที่สุดชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae ขนลำตัวสีเทาหรือเทาอมดำ ยกเว้นขนบริเวณหน้าผากเป็นสีเทา ครึ่งล่างของขาทั้ง ๔ เป็นขนสีเทาอมเหลือง เนื่องจากเหงื่อที่เป็นน้ำมันที่ขับออกมา.
กระทิงโทน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-ทอ-ทะ-หาน-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง กระทิงที่ชอบแยกออกจากฝูงโดยสมัครใจหรือถูกตัวผู้อื่นไล่ออกจากฝูงให้อยู่โดดเดี่ยว.กระทิงโทน น. กระทิงที่ชอบแยกออกจากฝูงโดยสมัครใจหรือถูกตัวผู้อื่นไล่ออกจากฝูงให้อยู่โดดเดี่ยว.
กระทิง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Calophyllum inophyllum L. ในวงศ์ Guttiferae ใบและผลคล้ายสารภี แต่ใบขึ้นสันมากและผลกลมกว่า เปลือกเมล็ดแข็ง ใช้ทําลูกฉลากหรือกระบวยของเล่น, สารภีทะเล กากะทิง หรือ กระทึง ก็เรียก.กระทิง ๒ น. ชื่อไม้ต้นชนิด Calophyllum inophyllum L. ในวงศ์ Guttiferae ใบและผลคล้ายสารภี แต่ใบขึ้นสันมากและผลกลมกว่า เปลือกเมล็ดแข็ง ใช้ทําลูกฉลากหรือกระบวยของเล่น, สารภีทะเล กากะทิง หรือ กระทึง ก็เรียก.
กระทิง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่นํ้าลําคลองและที่ลุ่ม มีหลายชนิดในประเทศไทย ที่พบทั่วไป ได้แก่ ชนิด M. armatus, M. favus และกระทิงไฟ (M. erythrotaenia) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.กระทิง ๓ น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่นํ้าลําคลองและที่ลุ่ม มีหลายชนิดในประเทศไทย ที่พบทั่วไป ได้แก่ ชนิด M. armatus, M. favus และกระทิงไฟ (M. erythrotaenia) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
กระทึง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อึ-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง (๑) (โบ; กลอน) ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ใบคล้ายพลวง รากมียางเมือก เชื่อกันว่าใช้เป็นยาดูดพิษฝีได้ เช่น กระทุทุบกระทึงทอง. ในวงเล็บ มาจาก สูตรธนูคำฉันท์ จากวชิรญาณรายเดือน ปีที่ ๒๐ ตอนที่ ๗๔ และ ๗๕. (๒) ดู กระทิง ๒.กระทึง น. (๑) (โบ; กลอน) ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ใบคล้ายพลวง รากมียางเมือก เชื่อกันว่าใช้เป็นยาดูดพิษฝีได้ เช่น กระทุทุบกระทึงทอง. (สุธน). (๒) ดู กระทิง ๒.
กระทืบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-บอ-ไบ-ไม้ เป็นคำกริยา หมายถึง ยกเท้ากระแทกลงไป.กระทืบ ก. ยกเท้ากระแทกลงไป.
กระทืบธรณี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-บอ-ไบ-ไม้-ทอ-ทง-รอ-เรือ-นอ-เนน-สะ-หระ-อี เป็นคำนาม หมายถึง อาการที่เดินห่มตัว ถือกันว่าเป็นลักษณะไม่ดี เข้าในพวกว่า ยักหล่มถ่มร้าย กระทืบธรณี.กระทืบธรณี น. อาการที่เดินห่มตัว ถือกันว่าเป็นลักษณะไม่ดี เข้าในพวกว่า ยักหล่มถ่มร้าย กระทืบธรณี.
กระทืบยอบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-บอ-ไบ-ไม้-ยอ-ยัก-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุก ๓ ชนิด คือ Biophytum adiantoides Wight ex Edgew. et Hook.f., B. petersianum Klotzsch และ B. sensitivum (L.) DC. ในวงศ์ Oxalidaceae ต้นเล็ก ๆ ใบคล้ายใบผักกระเฉด เมื่อถูกกระเทือนหุบได้ ดอกสีเหลือง, กระทืบยอด ก็เรียก.กระทืบยอบ น. ชื่อไม้ล้มลุก ๓ ชนิด คือ Biophytum adiantoides Wight ex Edgew. et Hook.f., B. petersianum Klotzsch และ B. sensitivum (L.) DC. ในวงศ์ Oxalidaceae ต้นเล็ก ๆ ใบคล้ายใบผักกระเฉด เมื่อถูกกระเทือนหุบได้ ดอกสีเหลือง, กระทืบยอด ก็เรียก.
กระทุ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa Wight ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒–๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดํา กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พลวดใหญ่ หรือ พลวดกินลูก ก็เรียก.กระทุ น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa Wight ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒–๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดํา กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พลวดใหญ่ หรือ พลวดกินลูก ก็เรียก.
กระทุง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกนํ้าขนาดใหญ่ในวงศ์ Pelecanidae ขนสีขาวหรือสีเทา ๆ ตัวขนาดห่าน ปากยาวใหญ่ ปากล่างมีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่สําหรับจับปลาทีละมาก ๆ อาศัยอยู่ตามแม่นํ้าลําคลองและชายทะเล ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ ชนิด Pelecanus philippensis.กระทุง น. ชื่อนกนํ้าขนาดใหญ่ในวงศ์ Pelecanidae ขนสีขาวหรือสีเทา ๆ ตัวขนาดห่าน ปากยาวใหญ่ ปากล่างมีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่สําหรับจับปลาทีละมาก ๆ อาศัยอยู่ตามแม่นํ้าลําคลองและชายทะเล ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ ชนิด Pelecanus philippensis.
กระทุ้ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-โท-งอ-งู เป็นคำกริยา หมายถึง เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทกให้แน่นหรือให้ออก, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทําหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง, ทุ้ง ก็ว่า เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. ในวงเล็บ มาจาก มณีพิชัยตอนต้น บทละคร พระนิพนธ์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๒ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๒.กระทุ้ง ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทกให้แน่นหรือให้ออก, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทําหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง, ทุ้ง ก็ว่า เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. (มณีพิชัย).
กระทุ้งเส้า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-โท-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ไม้-โท-สะ-หระ-อา เป็นคำกริยา หมายถึง เอาไม้เส้ากระทุ้งเพื่อให้จังหวะฝีพาย.กระทุ้งเส้า ก. เอาไม้เส้ากระทุ้งเพื่อให้จังหวะฝีพาย.
กระทุงลาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-งอ-งู-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยักดู กระทงลาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-งอ-งู-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก.กระทุงลาย ดู กระทงลาย.
กระทุงหมาบ้า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-งอ-งู-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-โท-สะ-หระ-อา เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้เถาชนิด Dregea volubilis (L.f.) Benth. ex Hook.f. ในวงศ์ Asclepiadaceae มียางขาวเป็นพิษ ใบมนหรือรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบเว้าหรือป้าน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามลําต้น ดอกสีเขียวอ่อนเป็นพวงกลม ใช้ทํายา, ฮ้วนหมู ก็เรียก.กระทุงหมาบ้า น. ชื่อไม้เถาชนิด Dregea volubilis (L.f.) Benth. ex Hook.f. ในวงศ์ Asclepiadaceae มียางขาวเป็นพิษ ใบมนหรือรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบเว้าหรือป้าน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามลําต้น ดอกสีเขียวอ่อนเป็นพวงกลม ใช้ทํายา, ฮ้วนหมู ก็เรียก.
กระทุงเหว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-วอ-แหวน เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลาผิวนํ้าทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidae ลําตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในนํ้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila) ส่วนใหญ่พบในเขตนํ้ากร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemirhamphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura และ Zenarchopterus ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง (Ablennes hians) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก.กระทุงเหว น. ชื่อปลาผิวนํ้าทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidae ลําตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในนํ้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila) ส่วนใหญ่พบในเขตนํ้ากร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemirhamphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura และ Zenarchopterus ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง (Ablennes hians) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก.
กระทุน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-นอ-หนูดู กะทุน เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู.กระทุน ดู กะทุน.
กระทุ่ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อน หอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาบาลี กทมฺพ เขียนว่า กอ-ไก่-ทอ-ทะ-หาน-มอ-ม้า-พิน-ทุ-พอ-พาน.กระทุ่ม ๑ น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อน หอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. (เทียบ ป. กทมฺพ).
กระทุ่มขี้หมู, กระทุ่มนา, กระทุ่มหมู กระทุ่มขี้หมู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู กระทุ่มนา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-นอ-หนู-สะ-หระ-อา กระทุ่มหมู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู ดู กระท่อมขี้หมู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อู.กระทุ่มขี้หมู, กระทุ่มนา, กระทุ่มหมู ดู กระท่อมขี้หมู.
กระทุ่ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า ความหมายที่ เป็นคำกริยา หมายถึง เอาเท้าตีนํ้าเมื่อเวลาว่ายนํ้า; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ รํ่าร้อง. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตเพชรมงกุฎ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ; ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).กระทุ่ม ๒ ก. เอาเท้าตีนํ้าเมื่อเวลาว่ายนํ้า; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ รํ่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน) โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).
กระทู้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อู-ไม้-โท ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลายเป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสําหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์ หมายถึง ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็นเค้าเงื่อนนําหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.กระทู้ ๑ น. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลายเป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสําหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็นเค้าเงื่อนนําหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.
กระทู้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อู-ไม้-โท ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม.กระทู้ ๒ น. หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม.
กระทู้ถาม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อู-ไม้-โท-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิกสภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบเป็นหนังสือ. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ question เขียนว่า คิว-ยู-อี-เอส-ที-ไอ-โอ-เอ็น.กระทู้ถาม (กฎ) น. คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิกสภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบเป็นหนังสือ. (อ. question).
กระทู้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อู-ไม้-โท ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือ Phalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัวน้อย ส่วนใหญ่สีคลํ้า ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือเส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมนํ้าตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาวที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้เหลือแต่ตอโผล่เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หรือหนอนกระทู้คอรวง (Mythimna separata) ที่ทําลายต้นข้าว.กระทู้ ๓ น. ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือ Phalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัวน้อย ส่วนใหญ่สีคลํ้า ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือเส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมนํ้าตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาวที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้เหลือแต่ตอโผล่เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หรือหนอนกระทู้คอรวง (Mythimna separata) ที่ทําลายต้นข้าว.
กระเท่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เท่, เอียง.กระเท่ ว. เท่, เอียง.
กระเท่เร่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ-ไม้-เอก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็น เอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลําเอียงมาก.กระเท่เร่ ว. เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็น เอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลําเอียงมาก.
–กระเทียบ มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-บอ-ไบ-ไม้ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทียบ.–กระเทียบ ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทียบ.
กระเทียม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-มอ-ม้า เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium sativum L. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม.กระเทียม น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium sativum L. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม.
กระเทียมหอม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-มอ-ม้า-หอ-หีบ-ออ-อ่าง-มอ-ม้า เป็นคำนาม หมายถึง ต้นหอม เช่น กระเทียมหอมรําแย้ ก็มี. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์มหาพน.กระเทียมหอม น. ต้นหอม เช่น กระเทียมหอมรําแย้ ก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).
กระเทือน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู เป็นคำกริยา หมายถึง มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า.กระเทือน ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า.
กระเทือนใจ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-จอ-จาน เป็นคำกริยา หมายถึง มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ (มักใช้ในทางที่ไม่ดี),สะเทือนใจ ก็ว่า.กระเทือนใจ ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ (มักใช้ในทางที่ไม่ดี),สะเทือนใจ ก็ว่า.
กระเทือนซาง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-นอ-หนู-ซอ-โซ่-สะ-หระ-อา-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำกริยา หมายถึง มีจิตใจหวั่นไหวอย่างรุนแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบใจ เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทือนซาง ถูกตำหนิอย่างแรงทำให้รู้สึกกระเทือนซาง.กระเทือนซาง (ปาก) ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างรุนแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบใจ เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทือนซาง ถูกตำหนิอย่างแรงทำให้รู้สึกกระเทือนซาง.
กระเทื้อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า เป็นคำกริยา หมายถึง กระเทือน เช่น เสียงดังโครมใหญ่ไม่กระเทื้อม. ในวงเล็บ มาจาก พระอภัยมณีคำกลอน ของ สุนทรภู่ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗.กระเทื้อม ก. กระเทือน เช่น เสียงดังโครมใหญ่ไม่กระเทื้อม. (อภัย).
กระแทก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-กอ-ไก่ เป็นคำกริยา หมายถึง กระทบโดยแรง, กระทุ้ง; พูดกระชากเสียงให้ดังผิดปรกติแสดงว่าไม่พอใจหรือโกรธ เช่น กระแทกเสียง, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระแทก.กระแทก ก. กระทบโดยแรง, กระทุ้ง; พูดกระชากเสียงให้ดังผิดปรกติแสดงว่าไม่พอใจหรือโกรธ เช่น กระแทกเสียง, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระแทก.
กระแทกกระทั้น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-นอ-หนู เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กระแทกเสียงหรือกระแทกสิ่งของให้รู้ว่าไม่พอใจหรือโกรธ.กระแทกกระทั้น ว. กระแทกเสียงหรือกระแทกสิ่งของให้รู้ว่าไม่พอใจหรือโกรธ.
กระแท่น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-เอก-นอ-หนู เป็นคำกริยา หมายถึง แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คําใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.กระแท่น ก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คําใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.
–กระแท้ม มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-ไม้-โท-มอ-ม้าใช้เข้าคู่กับคํา กระท้อม เป็น กระท้อมกระแท้ม.–กระแท้ม ใช้เข้าคู่กับคํา กระท้อม เป็น กระท้อมกระแท้ม.
กระแทะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ เป็นคำนาม หมายถึง ยานชนิดลากขนาดเล็ก มี ๒ ล้อ ใช้วัวเทียม ตัวเรือนราบไม่ยกสูงอย่างเรือนเกวียน มีทั้งชนิดโถงและประกอบหลังคา, ระแทะ หรือ รันแทะ ก็ว่า. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร รเทะ เขียนว่า รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อะ.กระแทะ น. ยานชนิดลากขนาดเล็ก มี ๒ ล้อ ใช้วัวเทียม ตัวเรือนราบไม่ยกสูงอย่างเรือนเกวียน มีทั้งชนิดโถงและประกอบหลังคา, ระแทะ หรือ รันแทะ ก็ว่า. (ข. รเทะ).
กระไทชาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ทอ-ทะ-หาน-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ มาจาก กระทาชาย เป็นคำนาม หมายถึง คนผู้ชาย เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มหาราช, กระทาชาย ก็ว่า.กระไทชาย (โบ; มาจาก กระทาชาย) น. คนผู้ชาย เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง. (ม. คำหลวง กุมาร; มหาราช), กระทาชาย ก็ว่า.
กระนก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-กอ-ไก่[–หฺนก] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ แผลงมาจาก กนก เป็นคำนาม หมายถึง ทองคํา. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือไตรภูมิพระร่วง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ร.ศ. ๑๓๑. ในวงเล็บ ดู กนก เขียนว่า กอ-ไก่-นอ-หนู-กอ-ไก่.กระนก [–หฺนก] (โบ; แผลงมาจาก กนก) น. ทองคํา. (ไตรภูมิ). (ดู กนก).
กระน่อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า, กระหน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.กระน่อง (ถิ่น–อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า, กระหน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.
กระนั้น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-นอ-หนู เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง นั้น, ดังนั้น, อย่างนั้น.กระนั้น ว. นั้น, ดังนั้น, อย่างนั้น.
กระนี้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-นอ-หนู-สะ-หระ-อี-ไม้-โท เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง นี้, ดังนี้, อย่างนี้.กระนี้ ว. นี้, ดังนี้, อย่างนี้.
กระแนะกระแหน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-นอ-หนู-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-นอ-หนู[–แหฺน] เป็นคำกริยา หมายถึง พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน ก็ว่า.กระแนะกระแหน [–แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน ก็ว่า.
กระโน้น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-นอ-หนู-ไม้-โท-นอ-หนู เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โน้น, เช่นโน้น, อย่างโน้น.กระโน้น ว. โน้น, เช่นโน้น, อย่างโน้น.
กระไน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง, ตระไน ก็ว่า เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่สนั่นเสียง. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗.กระไน น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, ตระไน ก็ว่า เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่สนั่นเสียง. (สรรพสิทธิ์).
กระบก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Irvingia malayana Oliv. ex A. Benn. ในวงศ์ Irvingiaceae ใบรูปไข่ ผลเท่ามะกอกหรือมะปรางขนาดเขื่อง เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมัน กินได้, ตระบก มะมื่น หรือ มะลื่น ก็เรียก.กระบก น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Irvingia malayana Oliv. ex A. Benn. ในวงศ์ Irvingiaceae ใบรูปไข่ ผลเท่ามะกอกหรือมะปรางขนาดเขื่อง เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมัน กินได้, ตระบก มะมื่น หรือ มะลื่น ก็เรียก.
กระบกคาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา-ยอ-ยักดู กระโดงแดง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ดอ-เด็ก-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-ดอ-เด็ก-งอ-งู (๑).กระบกคาย ดู กระโดงแดง (๑).
กระบถ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ถอ-ถุง[–บด] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เพี้ยนมาจาก กบฏ เป็นคำนาม หมายถึง การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ, ขบถ.กระบถ [–บด] (โบ; เพี้ยนมาจาก กบฏ) น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ, ขบถ.
กระบม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-มอ-ม้า ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก. ในวงเล็บ รูปภาพ กระบม.กระบม (ถิ่น–อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก. (รูปภาพ กระบม).
กระบวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง; วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.กระบวน น. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง); วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.
กระบวนกระบิด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ชั้นเชิง เช่น ทั้งกระบวนกระบิดติดปั้นปึ่ง. ในวงเล็บ มาจาก พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องไกรทอง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวาย พ.ศ. ๒๔๕๖, กระบิดกระบวน ก็ว่า.กระบวนกระบิด (กลอน) น. ชั้นเชิง เช่น ทั้งกระบวนกระบิดติดปั้นปึ่ง. (ไกรทอง), กระบิดกระบวน ก็ว่า.
กระบวนการ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ เป็นคำนาม หมายถึง ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการเจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนินต่อเนื่องกันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมีเพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ process เขียนว่า พี-อา-โอ-ซี-อี-เอส-เอส.กระบวนการ น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการเจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนินต่อเนื่องกันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมีเพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. process).
กระบวนการยุติธรรม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-ทอ-ทง-รอ-เรือ-รอ-เรือ-มอ-ม้า ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในกฎหมาย เป็นคำนาม หมายถึง วิธีดําเนินการให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคล โดยบุคลากรและองค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่บริหารงานยุติธรรม ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ทนายความ ศาล กระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์.กระบวนการยุติธรรม (กฎ) น. วิธีดําเนินการให้ความคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และให้ความเป็นธรรมในทางกฎหมายแก่บุคคล โดยบุคลากรและองค์กร หรือสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่บริหารงานยุติธรรม ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ทนายความ ศาล กระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์.
กระบวนความ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู-คอ-ควาย-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า เป็นคำนาม หมายถึง แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ.กระบวนความ น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ.
กระบวนจีน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู-จอ-จาน-สะ-หระ-อี-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง วิธีการที่นำแบบอย่างศิลปะของจีนมาดัดแปลงหรือประกอบในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และ มัณฑนศิลป์ของไทย, เรียกลวดลายผ้าแพร โดยมากเป็นรูปประแจ กะแปะ มังกร ว่า ลายกระบวนจีน.กระบวนจีน น. วิธีการที่นำแบบอย่างศิลปะของจีนมาดัดแปลงหรือประกอบในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และ มัณฑนศิลป์ของไทย, เรียกลวดลายผ้าแพร โดยมากเป็นรูปประแจ กะแปะ มังกร ว่า ลายกระบวนจีน.
กระบวย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-ยอ-ยัก เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะสําหรับตักนํ้า เดิมทําด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, พายัพว่า น้ำโบย.กระบวย น. ภาชนะสําหรับตักนํ้า เดิมทําด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, พายัพว่า น้ำโบย.
กระบวร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-รอ-เรือ[–บวน] เป็นคำกริยา หมายถึง ประดับ, แต่ง. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง วิจิตร. (แผลงมาจาก กบูร).กระบวร [–บวน] ก. ประดับ, แต่ง. ว. วิจิตร. (แผลงมาจาก กบูร).
กระบอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในเรขาคณิต หมายถึง รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็นวงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้นจนปลาย. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ cylinder เขียนว่า ซี-วาย-แอล-ไอ-เอ็น-ดี-อี-อา.กระบอก ๑ น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและมือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิดใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็นวงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้นจนปลาย. (อ. cylinder).
กระบอกเพลา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา เป็นคำนาม หมายถึง ไม้แข็งเช่นเต็งรังทําเป็นปลอกตอกอัดไว้ในรูดุมเกวียน สําหรับสอดเพลาเข้าในรูนั้นป้องกันมิให้รูดุมคราก.กระบอกเพลา น. ไม้แข็งเช่นเต็งรังทําเป็นปลอกตอกอัดไว้ในรูดุมเกวียน สําหรับสอดเพลาเข้าในรูนั้นป้องกันมิให้รูดุมคราก.
กระบอกสูบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สอ-เสือ-สะ-หระ-อู-บอ-ไบ-ไม้ เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของเครื่องจักรเครื่องยนต์ ลักษณะเป็นโพรงรูปกระบอกอยู่ในเสื้อสูบ เป็นช่องสําหรับบังคับให้ลูกสูบเคลื่อนไปมา.กระบอกสูบ น. ส่วนของเครื่องจักรเครื่องยนต์ ลักษณะเป็นโพรงรูปกระบอกอยู่ในเสื้อสูบ เป็นช่องสําหรับบังคับให้ลูกสูบเคลื่อนไปมา.
กระบอกหัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-หอ-หีบ-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง กะโหลกหัว เช่น อีกกระบอกหววมึงกูจะผ่า. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์ชูชก, ปักษ์ใต้ว่า บอกหัว.กระบอกหัว (โบ) น. กะโหลกหัว เช่น อีกกระบอกหววมึงกูจะผ่า. (ม. คำหลวง ชูชก), ปักษ์ใต้ว่า บอกหัว.
กระบอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้ากร่อยและทะเลในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลําตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ (L. vaigiensis) กระบอกดํา (L. parsia) กระบอกขาว (V. seheli), กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สําหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก ยมก หรือ มก.กระบอก ๒ น. ชื่อปลานํ้ากร่อยและทะเลในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลําตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ (L. vaigiensis) กระบอกดํา (L. parsia) กระบอกขาว (V. seheli), กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สําหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก ยมก หรือ มก.
กระบอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น กระบอกทิพย์ผกากวน กาเมศ กูเอย. ในวงเล็บ มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์, กว่ากลิ่นกระบอกบง– กชเกศเอาใจ. ในวงเล็บ มาจาก เสือโคคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕, ใช้ว่า ตระบอก ก็มี. ในวงเล็บ เทียบ ****(เทียบอะหม บฺลอก; ไทยใหญ่ หมอก; ไทยขาว และ ไทยนุง บอก; เขมร ตฺรบก).กระบอก ๓ น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น กระบอกทิพย์ผกากวน กาเมศ กูเอย. (นิ. นรินทร์), กว่ากลิ่นกระบอกบง– กชเกศเอาใจ. (เสือโค), ใช้ว่า ตระบอก ก็มี. (เทียบอะหม บฺลอก; ไทยใหญ่ หมอก; ไทยขาว และ ไทยนุง บอก; เขมร ตฺรบก).
กระบอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการรีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมบทละครดึกดำบรรพ์ ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๔๖๗.กระบอก ๔ น. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการรีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
กระบอกเสียง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง ผู้เป็นปากเป็นเสียงแทน.กระบอกเสียง (ปาก) น. ผู้เป็นปากเป็นเสียงแทน.
กระบอง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง ไม้สั้นสําหรับใช้ตี มีรูปกลมบ้าง เหลี่ยมบ้าง คล้ายพลองแต่สั้นกว่า, ใช้ว่า ตระบอง ก็มี. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร ฏํบง เขียนว่า ตอ-ปะ-ตัก-นิก-คะ-หิด-บอ-ไบ-ไม้-งอ-งู และมาจากภาษาปักษ์ใต้ บอง เขียนว่า บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู.กระบอง น. ไม้สั้นสําหรับใช้ตี มีรูปกลมบ้าง เหลี่ยมบ้าง คล้ายพลองแต่สั้นกว่า, ใช้ว่า ตระบอง ก็มี. (ข. ฏํบง; ปักษ์ใต้ บอง).
กระบองกลึง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อึ-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง ไม้กลึงเป็นรูปกระบองอย่างยาวสําหรับถือเข้าขบวนแห่ช้างสําคัญ.กระบองกลึง น. ไม้กลึงเป็นรูปกระบองอย่างยาวสําหรับถือเข้าขบวนแห่ช้างสําคัญ.
กระบองกัน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนูดู ตะบองกัน เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู.กระบองกัน ดู ตะบองกัน.
กระบองเพชร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ชอ-ช้าง-รอ-เรือ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ใบตาลที่ขมวดปลายลงอักขระสําหรับใช้ในพิธีตรุษและโกนจุก, ตะบองเพชร ก็เรียก.กระบองเพชร ๑ น. ใบตาลที่ขมวดปลายลงอักขระสําหรับใช้ในพิธีตรุษและโกนจุก, ตะบองเพชร ก็เรียก.
กระบองเพชร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ชอ-ช้าง-รอ-เรือ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้พุ่มชนิด Cereus hexagonus (L.) Miller ในวงศ์ Cactaceae ลําต้นสูง ๓–๕ เมตร ลําต้นและกิ่งกลม หยักเป็นร่องโดยรอบ มีหนามละเอียด ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอม บานกลางคืน มักปลูกเป็นรั้วบ้าน, ตะบองเพชร ก็เรียก, พายัพ เรียก เขียะ หรือ หนามเขียะ.กระบองเพชร ๒ น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Cereus hexagonus (L.) Miller ในวงศ์ Cactaceae ลําต้นสูง ๓–๕ เมตร ลําต้นและกิ่งกลม หยักเป็นร่องโดยรอบ มีหนามละเอียด ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอม บานกลางคืน มักปลูกเป็นรั้วบ้าน, ตะบองเพชร ก็เรียก, พายัพ เรียก เขียะ หรือ หนามเขียะ.
กระบองราหู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-สะ-หระ-อู เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซางชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, ละบองราหู ก็เรียก.กระบองราหู น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซางชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, ละบองราหู ก็เรียก.
กระบะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อะ เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะไม้ก้นแบนมีขอบ ใช้อย่างถาด, ใช้ว่า ตระบะ ก็มี; ชื่อรถชนิดหนึ่งใช้บรรทุกสิ่งของ ทําตัวถังเป็นรูปอย่างกระบะ เรียกว่า รถกระบะ.กระบะ น. ภาชนะไม้ก้นแบนมีขอบ ใช้อย่างถาด, ใช้ว่า ตระบะ ก็มี; ชื่อรถชนิดหนึ่งใช้บรรทุกสิ่งของ ทําตัวถังเป็นรูปอย่างกระบะ เรียกว่า รถกระบะ.
กระบัด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง บัดใจ, ทันใด, เช่น อาวุธกับศรก็ตกกระบัดเหอรหาย. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘, ตระบัด ก็ใช้.กระบัด ๑ (กลอน) ว. บัดใจ, ทันใด, เช่น อาวุธกับศรก็ตกกระบัดเหอรหาย. (สมุทรโฆษ), ตระบัด ก็ใช้.
กระบัด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ฉ้อโกง เช่น กระบัดสิน, ตระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้.กระบัด ๒ (โบ) ก. ฉ้อโกง เช่น กระบัดสิน, ตระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้.
กระบั้วกระเบี้ย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-วอ-แหวน-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กระปั้วกระเปี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, เดินไม่คล่องแคล่ว (อย่างผู้รื้อไข้).กระบั้วกระเบี้ย ว. กระปั้วกระเปี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, เดินไม่คล่องแคล่ว (อย่างผู้รื้อไข้).
กระบ่า, กระบ้า กระบ่า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา กระบ้า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-โท-สะ-หระ-อา ดู ตบยุง เขียนว่า ตอ-เต่า-บอ-ไบ-ไม้-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อุ-งอ-งู.กระบ่า, กระบ้า ดู ตบยุง.
กระบาก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Anisoptera ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าดิบทั่วไป ลําต้นตรง สูง ๓๐–๔๐ เมตร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนัก โดยมากใช้เป็นไม้แบบหล่อคอนกรีต.กระบาก น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Anisoptera ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าดิบทั่วไป ลําต้นตรง สูง ๓๐–๔๐ เมตร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนัก โดยมากใช้เป็นไม้แบบหล่อคอนกรีต.
กระบาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะสานรูปคล้ายกระบุงแต่มีขนาดเล็กกว่า ปากกลม ก้นสี่เหลี่ยม.กระบาย น. ภาชนะสานรูปคล้ายกระบุงแต่มีขนาดเล็กกว่า ปากกลม ก้นสี่เหลี่ยม.
กระบาล เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-ลอ-ลิง[–บาน] เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล).กระบาล [–บาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, (โบ) เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. (สามดวง); แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล).
กระบิ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง แท่ง แผ่น ชิ้น.กระบิ ๑ น. แท่ง แผ่น ชิ้น.
กระบิ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง หญ้าที่ซับซ้อนกันอยู่ในที่ลุ่มหรือในหนอง เช่น ตัดกระบิในหนองเป็นสองหน. ในวงเล็บ มาจาก พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องไกรทอง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวาย พ.ศ. ๒๔๕๖.กระบิ ๒ น. หญ้าที่ซับซ้อนกันอยู่ในที่ลุ่มหรือในหนอง เช่น ตัดกระบิในหนองเป็นสองหน. (ไกรทอง).
กระบิ้ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง นาที่เป็นกระทงเล็ก ๆ, ตะบิ้ง ก็เรียก.กระบิ้ง น. นาที่เป็นกระทงเล็ก ๆ, ตะบิ้ง ก็เรียก.
กระบิด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก เป็นคำกริยา หมายถึง บิดเชือกหรือตอกให้เขม็งจนขอดเป็นปม.กระบิด ก. บิดเชือกหรือตอกให้เขม็งจนขอดเป็นปม.
กระบิดกระบวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง ชั้นเชิง เช่น ทําจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์ชูชก, กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้. เป็นคำกริยา หมายถึง แกล้งทำชั้นเชิงเหมือนไม่เต็มใจ เช่น อย่ากระบิดกระบวนนักเลย.กระบิดกระบวน น. ชั้นเชิง เช่น ทําจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้. ก. แกล้งทำชั้นเชิงเหมือนไม่เต็มใจ เช่น อย่ากระบิดกระบวนนักเลย.
กระบิล เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-ลอ-ลิง เป็นคำนาม หมายถึง ระเบียบ, หมู่. (แผลงมาจาก กบิล).กระบิล น. ระเบียบ, หมู่. (แผลงมาจาก กบิล).
กระบี่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจมโจนจับยักษ์หักแขนขา. ในวงเล็บ มาจาก พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ ๒ ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี และมาจากภาษาสันสกฤต กปิ เขียนว่า กอ-ไก่-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อิ.กระบี่ ๑ (กลอน) น. ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจมโจนจับยักษ์หักแขนขา. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ป., ส. กปิ).
กระบี่ธุช เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ทอ-ทง-สะ-หระ-อุ-ชอ-ช้าง เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวมต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.กระบี่ธุช น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวมต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
กระบี่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง อาวุธชนิดหนึ่ง ใบแบนยาว ปลายแหลม มีคมข้างหนึ่งหรือทั้ง ๒ ข้าง ด้ามสั้น ที่ด้ามถืออาจมีโกร่งหรือไม่มีก็ได้ มีฝัก.กระบี่ ๒ น. อาวุธชนิดหนึ่ง ใบแบนยาว ปลายแหลม มีคมข้างหนึ่งหรือทั้ง ๒ ข้าง ด้ามสั้น ที่ด้ามถืออาจมีโกร่งหรือไม่มีก็ได้ มีฝัก.
กระบี่กระบอง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ต่อสู้กันด้วยกระบี่และกระบองเป็นต้น.กระบี่กระบอง น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ต่อสู้กันด้วยกระบี่และกระบองเป็นต้น.
กระบี่ลีลา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็นเพลงร้องรํา ๒ ชั้น ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและกลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่นตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมบทละครดึกดำบรรพ์ ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๔๖๗.กระบี่ลีลา น. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็นเพลงร้องรํา ๒ ชั้น ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและกลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่นตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
กระบือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง เป็นคำนาม หมายถึง ควาย (มักใช้เป็นทางการ) เช่น รูปพรรณโคกระบือ. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร กรฺบี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-พิน-ทุ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี และมาจากภาษามลายู เกรฺเบา เขียนว่า สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-พิน-ทุ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา.กระบือ น. ควาย (มักใช้เป็นทางการ) เช่น รูปพรรณโคกระบือ. (ข. กรฺบี; มลายู เกรฺเบา).
กระบือเจ็ดตัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-สะ-หระ-เอ-จอ-จาน-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้พุ่มชนิด Excoecaria cochinchinensis Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๑–๒ เมตร ใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีแดงเลือดหมู ใช้ทํายาได้, ลิ้นกระบือ ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ใบท้องแดง.กระบือเจ็ดตัว น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Excoecaria cochinchinensis Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๑–๒ เมตร ใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีแดงเลือดหมู ใช้ทํายาได้, ลิ้นกระบือ ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ใบท้องแดง.
กระบุง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อุ-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะสานทึบรูปกลมสูง พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยม.กระบุง น. ภาชนะสานทึบรูปกลมสูง พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยม.
กระบุงโกย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อุ-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-กอ-ไก่-ยอ-ยัก ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มากมาย เช่น มีข้าวของเป็นกระบุงโกย ถูกบ่นตั้งกระบุงโกย.กระบุงโกย (ปาก) ว. มากมาย เช่น มีข้าวของเป็นกระบุงโกย ถูกบ่นตั้งกระบุงโกย.
กระบุ่มกระบ่าม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง บุ่ม ๆ บ่าม ๆ, ซุ่มซ่าม.กระบุ่มกระบ่าม ว. บุ่ม ๆ บ่าม ๆ, ซุ่มซ่าม.
กระบู้กระบี้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อู-ไม้-โท-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-โท เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง บู้ ๆ บี้ ๆ, บุบ, บุบแฟบ.กระบู้กระบี้ ว. บู้ ๆ บี้ ๆ, บุบ, บุบแฟบ.
กระบูน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อู-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง ตะบูนขาว. ในวงเล็บ ดู ตะบูน เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อู-นอ-หนู.กระบูน น. ตะบูนขาว. (ดู ตะบูน).
กระบูนเลือด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อู-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทําให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับนํ้าปูนใสหรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูกให้แห้งสนิท. ในวงเล็บ มาจาก ตำรากบิลว่าน ของ หลวงประพัฒสรรพากร.กระบูนเลือด น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทําให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับนํ้าปูนใสหรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูกให้แห้งสนิท. (กบิลว่าน).
กระบูร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อู-รอ-เรือ[–บูน] เป็นคำกริยา หมายถึง ประดับ, แต่ง. (แผลงมาจาก กบูร).กระบูร [–บูน] ก. ประดับ, แต่ง. (แผลงมาจาก กบูร).
กระเบง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เบ่ง เช่น ระด่าวตึงกระเบงแขน. ในวงเล็บ มาจาก อนิรุทธ์คำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ; ตะเบ็ง, กระเบญ ก็ใช้.กระเบง (กลอน) ก. เบ่ง เช่น ระด่าวตึงกระเบงแขน. (อนิรุทธ์); ตะเบ็ง, กระเบญ ก็ใช้.
กระเบญ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-ยอ-หยิง ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง กระเบง เช่น กุมกระบอง กระเบญหาญ. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘.กระเบญ (กลอน) ก. กระเบง เช่น กุมกระบอง กระเบญหาญ. (สมุทรโฆษ).
กระเบ็ดกระบวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง กระบิดกระบวน, ชั้นเชิง.กระเบ็ดกระบวน น. กระบิดกระบวน, ชั้นเชิง.
กระเบน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่น ผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตรา พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส.กระเบน น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่น ผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
กระเบนเหน็บ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-ไต่-คู้-บอ-ไบ-ไม้ เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของร่างกายด้านหลังระดับบั้นเอว ตรงที่เหน็บชายกระเบน.กระเบนเหน็บ น. ส่วนของร่างกายด้านหลังระดับบั้นเอว ตรงที่เหน็บชายกระเบน.
กระเบนเนื้อดำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-นอ-หนู-สะ-หระ-เอ-นอ-หนู-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อำดู ยี่สน เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-สอ-เสือ-นอ-หนู.กระเบนเนื้อดำ ดู ยี่สน.
กระเบา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่ หรือ กระเบานํ้า (H. anthelminthica Pierre ex Laness.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีนํ้าตาล ขนาดเท่าผลส้มโอขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีนํ้ามัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลัก หรือ กระเบียน (H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดํา ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง.กระเบา ๑ น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่ หรือ กระเบานํ้า (H. anthelminthica Pierre ex Laness.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีนํ้าตาล ขนาดเท่าผลส้มโอขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีนํ้ามัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลัก หรือ กระเบียน (H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดํา ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง.
กระเบา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง กระบี่ชนิดหนึ่ง ปลายแหลมเรียวอย่างหางกระเบน เรียกว่า กระเบาหางกระเบน.กระเบา ๒ น. กระบี่ชนิดหนึ่ง ปลายแหลมเรียวอย่างหางกระเบน เรียกว่า กระเบาหางกระเบน.
กระเบิก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง เบิก เช่น ปรดิพหุลดุลยปรดิมุข หุลดุลยอุกกลุก ก็เกริกกระเบิกหาวหบ. ในวงเล็บ มาจาก อนิรุทธ์คำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ.กระเบิก (กลอน) ก. เบิก เช่น ปรดิพหุลดุลยปรดิมุข หุลดุลยอุกกลุก ก็เกริกกระเบิกหาวหบ. (อนิรุทธ์).
–กระเบี้ย มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยักใช้เข้าคู่กับคํา กระบั้ว เป็น กระบั้วกระเบี้ย.–กระเบี้ย ใช้เข้าคู่กับคํา กระบั้ว เป็น กระบั้วกระเบี้ย.
กระเบียด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก เป็นคำนาม หมายถึง มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ กระเบียด เท่ากับ ๑ ใน ๔ ส่วนของนิ้ว.กระเบียด น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ กระเบียด เท่ากับ ๑ ใน ๔ ส่วนของนิ้ว.
กระเบียดกระตัก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ตอ-เต่า-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ เป็นคำกริยา หมายถึง เกี่ยงให้ตัวได้มาก.กระเบียดกระตัก ก. เกี่ยงให้ตัวได้มาก.
กระเบียดกระเสียร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-รอ-เรือ เป็นคำกริยา หมายถึง พยายามใช้จ่ายอย่างจํากัดจําเขี่ย.กระเบียดกระเสียร ก. พยายามใช้จ่ายอย่างจํากัดจําเขี่ย.
กระเบียน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง (๑) กระเบากลัก. ในวงเล็บ ดู กระเบา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ๑.(๒) ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กชนิด Gardenia turgida Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนามห่าง ๆ เปลือกเรียบ ดอกเมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ผลคล้ายละมุดฝรั่ง แต่สุกแล้วแข็ง, กระดานพน มะกอกพราน หมุยขาว หรือ หัวโล้น ก็เรียก.กระเบียน น. (๑) กระเบากลัก. (ดู กระเบา ๑).(๒) ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กชนิด Gardenia turgida Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนามห่าง ๆ เปลือกเรียบ ดอกเมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ผลคล้ายละมุดฝรั่ง แต่สุกแล้วแข็ง, กระดานพน มะกอกพราน หมุยขาว หรือ หัวโล้น ก็เรียก.
กระเบื้อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้นเป็นต้น ทําด้วยดิน หรือวัสดุอย่างอื่น โดยปรกติเป็นแผ่น, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลายเป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้องที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สําหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทําด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทําด้วยโลหะ; ลักษณนามเรียกจํานวนข้าวเม่าเป็นต้นที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง.กระเบื้อง น. เครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้นเป็นต้น ทําด้วยดิน หรือวัสดุอย่างอื่น โดยปรกติเป็นแผ่น, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลายเป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้องที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สําหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทําด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทําด้วยโลหะ; ลักษณนามเรียกจํานวนข้าวเม่าเป็นต้นที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง.
กระเบื้องกาบกล้วย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก เป็นคำนาม หมายถึง กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงายที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบนเพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้องแผ่นคว่ำและแผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทนมากขึ้น, กาบู ก็เรียก.กระเบื้องกาบกล้วย น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงายที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบนเพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้องแผ่นคว่ำและแผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทนมากขึ้น, กาบู ก็เรียก.
กระเบื้องเกล็ดเต่า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-ไต่-คู้-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-เอ-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา เป็นคำนาม หมายถึง กระเบื้องดินเผาปลายตัดเป็นมุมแหลม ผิวด้าน มีสีแดงตามเนื้อดิน ใช้มุงหลังคาโบสถ์วิหารเป็นต้น.กระเบื้องเกล็ดเต่า น. กระเบื้องดินเผาปลายตัดเป็นมุมแหลม ผิวด้าน มีสีแดงตามเนื้อดิน ใช้มุงหลังคาโบสถ์วิหารเป็นต้น.
กระเบื้องขนมเปียกปูน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-ขอ-ไข่-นอ-หนู-มอ-ม้า-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อู-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องหน้าวัว ก็เรียก.กระเบื้องขนมเปียกปูน น. กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องหน้าวัว ก็เรียก.
กระเบื้องถ้วยกะลาแตก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-ถอ-ถุง-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-ตอ-เต่า-กอ-ไก่ เป็นคำนาม หมายถึง เศษภาชนะดินเผาที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, โดยปริยายหมายถึงของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันที่ชํารุดหรือขาดชุดหมดราคา.กระเบื้องถ้วยกะลาแตก น. เศษภาชนะดินเผาที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, โดยปริยายหมายถึงของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันที่ชํารุดหรือขาดชุดหมดราคา.
กระเบื้องปรุ, กระเบื้องรู กระเบื้องปรุ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อุ กระเบื้องรู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-รอ-เรือ-สะ-หระ-อู เป็นคำนาม หมายถึง กระเบื้องเคลือบจีน มีลายโปร่งสําหรับกรุตามผนังหรือกําแพงให้มีช่องลม.กระเบื้องปรุ, กระเบื้องรู น. กระเบื้องเคลือบจีน มีลายโปร่งสําหรับกรุตามผนังหรือกําแพงให้มีช่องลม.
กระเบื้องว่าว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน เป็นคำนาม หมายถึง กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องขนมเปียกปูน หรือ กระเบื้องหน้าวัว ก็เรียก.กระเบื้องว่าว น. กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องขนมเปียกปูน หรือ กระเบื้องหน้าวัว ก็เรียก.
กระเบื้องหน้างัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวนดู กระเบื้องหน้าวัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน.กระเบื้องหน้างัว ดู กระเบื้องหน้าวัว.
กระเบื้องหน้าวัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน เป็นคำนาม หมายถึง กระเบื้องปูพื้นรูปสี่เหลี่ยมทําด้วยดินเผา; กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องขนมเปียกปูน ก็เรียก.กระเบื้องหน้าวัว น. กระเบื้องปูพื้นรูปสี่เหลี่ยมทําด้วยดินเผา; กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องขนมเปียกปูน ก็เรียก.
กระเบื้องถ้วย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-งอ-งู-ถอ-ถุง-ไม้-โท-วอ-แหวน-ยอ-ยัก ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคใต้ เป็นคำนาม หมายถึง ต้นกะอวม. ในวงเล็บ ดู กะอวม เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-ออ-อ่าง-วอ-แหวน-มอ-ม้า.กระเบื้องถ้วย (ถิ่น–ปักษ์ใต้) น. ต้นกะอวม. (ดู กะอวม).
กระแบ่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-เอก ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน, ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์กุมาร, กระแบะ ก็ว่า.กระแบ่ (โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คำหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.
กระแบก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่ เป็นคำนาม หมายถึง ต้นตะแบก เช่น หูกวางพรรค์กระแบก. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์จุลพน, ตระแบก ก็ว่า.กระแบก น. ต้นตะแบก เช่น หูกวางพรรค์กระแบก. (ม. คำหลวง จุลพน), ตระแบก ก็ว่า.
กระแบกงา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่-งอ-งู-สะ-หระ-อา เป็นคำกริยา หมายถึง แตกเป็นไรงา เช่น พลุกกระแบกงาแต่ต้น จนปลาย. ในวงเล็บ มาจาก โคลงตำราช้าง พระบวรราชนิพนธ์ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๑๑.กระแบกงา ก. แตกเป็นไรงา เช่น พลุกกระแบกงาแต่ต้น จนปลาย. (ตําราช้างคําโคลง).
กระแบะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อะ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง แผ่น, ชิ้น, ส่วน, กระแบ่ ก็ว่า.กระแบะ ๑ น. แผ่น, ชิ้น, ส่วน, กระแบ่ ก็ว่า.
กระแบะ ๒, กระแบะมือ กระแบะ ความหมายที่ ๒ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อะ กระแบะมือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง เป็นคำนาม หมายถึง ขนาดเท่าฝ่ามือ.กระแบะ ๒, กระแบะมือ น. ขนาดเท่าฝ่ามือ.
กระโบม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-บอ-ไบ-ไม้-มอ-ม้า ความหมายที่ เป็นคำกริยา หมายถึง ตระโบม, โลมเล้า, กอด, เช่น ยักษ์ผยองโพยมแลกระโบมถนอมพนิดไคล. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗.กระโบม ๑ ก. ตระโบม, โลมเล้า, กอด, เช่น ยักษ์ผยองโพยมแลกระโบมถนอมพนิดไคล. (สรรพสิทธิ์).
กระโบม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-บอ-ไบ-ไม้-มอ-ม้า ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก.กระโบม ๒ (ถิ่น–อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก.
กระปมกระปำ, กระปมกระเปา กระปมกระปำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อำ กระปมกระเปา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ปุ่มป่ำ, ปมเปา, เป็นปมเป็นก้อน.กระปมกระปำ, กระปมกระเปา ว. ปุ่มป่ำ, ปมเปา, เป็นปมเป็นก้อน.
กระปรอก , กระปอก ๑ กระปรอก ความหมายที่ ๑ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ กระปอก ความหมายที่ ๑ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไต้ชนิดหนึ่ง ห่อด้วยใบพลวงหลายชั้น ลูกยาวใหญ่เหมือนไต้หาง แต่ไม่มีหาง ชาวทะเลและชาวชนบทชอบใช้สําหรับหาหอย กุ้ง ปลา เพราะดวงไฟใหญ่ไม่ใคร่ดับ.กระปรอก ๑, กระปอก ๑ น. ชื่อไต้ชนิดหนึ่ง ห่อด้วยใบพลวงหลายชั้น ลูกยาวใหญ่เหมือนไต้หาง แต่ไม่มีหาง ชาวทะเลและชาวชนบทชอบใช้สําหรับหาหอย กุ้ง ปลา เพราะดวงไฟใหญ่ไม่ใคร่ดับ.
กระปรอก , กระปอก ๒ กระปรอก ความหมายที่ ๒ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ กระปอก ความหมายที่ ๒ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ เป็นคำนาม หมายถึง นุ่น. ในวงเล็บ เทียบ ภาษามลายู กระป๊อก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-ตรี-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ว่า ต้นนุ่น .กระปรอก ๒, กระปอก ๒ น. นุ่น. (เทียบมลายู กระป๊อก ว่า ต้นนุ่น).
กระปรอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคตะวันออกและภาคใต้ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเรียกเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล Drynaria และ Platycerium วงศ์ Polypodiaceae.กระปรอก ๓ (ถิ่น–ตะวันออก, ปักษ์ใต้) น. ชื่อเรียกเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล Drynaria และ Platycerium วงศ์ Polypodiaceae.
กระปรอกว่าว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-วอ-แหวนดู กระแตไต่ไม้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ตอ-เต่า-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-ตอ-เต่า-ไม้-เอก-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-มอ-ม้า-ไม้-โท ความหมายที่ ๒.กระปรอกว่าว ดู กระแตไต่ไม้ ๒.
กระปรี้กระเปร่า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แคล่วคล่องว่องไว เพราะมีกําลังวังชา, กระฉับกระเฉง, ไม่เนิบนาบ.กระปรี้กระเปร่า ว. แคล่วคล่องว่องไว เพราะมีกําลังวังชา, กระฉับกระเฉง, ไม่เนิบนาบ.
กระป้อกระแป้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-โท-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ปอ-ปลา-ไม้-โท เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ป้อแป้มาก, กําลังน้อย.กระป้อกระแป้ ว. ป้อแป้มาก, กําลังน้อย.
กระป่อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ป่อง เช่น สักหน่อยหนึ่งมึงจะท้องกระป่องเหยาะ. ในวงเล็บ มาจาก พระอภัยมณีคำกลอน ของ สุนทรภู่ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗.กระป่อง (กลอน) ว. ป่อง เช่น สักหน่อยหนึ่งมึงจะท้องกระป่องเหยาะ. (อภัย).
กระป๋อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-ออ-อ่าง-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะทําด้วยเหล็กวิลาดหรือสังกะสีเป็นต้น มักมีรูปเป็นทรงกระบอก สําหรับบรรจุของต่าง ๆ, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.กระป๋อง น. ภาชนะทําด้วยเหล็กวิลาดหรือสังกะสีเป็นต้น มักมีรูปเป็นทรงกระบอก สําหรับบรรจุของต่าง ๆ, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก.
กระปอดกระแปด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ปอ-ปลา-ดอ-เด็ก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่บ่นปอดแปด, อาการที่บ่นรํ่าไร.กระปอดกระแปด ว. อาการที่บ่นปอดแปด, อาการที่บ่นรํ่าไร.
กระป๋อหลอ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-ออ-อ่าง-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เหลอ (ใช้แก่หน้า) เช่น ก็หยุดยั้งนั่งหน้ากระป๋อหลอ. ในวงเล็บ มาจาก มณีพิชัยตอนต้น บทละคร พระนิพนธ์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๒ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๒.กระป๋อหลอ ว. เหลอ (ใช้แก่หน้า) เช่น ก็หยุดยั้งนั่งหน้ากระป๋อหลอ. (มณีพิชัย).
กระปั้วกระเปี้ย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-โท-วอ-แหวน-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กระบั้วกระเบี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, ไม่คล่องแคล่ว, ไม่แข็งแรง.กระปั้วกระเปี้ย ว. กระบั้วกระเบี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, ไม่คล่องแคล่ว, ไม่แข็งแรง.
–กระปำ มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อำใช้เข้าคู่กับคํา กระปม เป็น กระปมกระปำ.–กระปำ ใช้เข้าคู่กับคํา กระปม เป็น กระปมกระปำ.
กระป่ำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ ความหมายที่ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เป็นปุ่มป่ำ เช่น บนเขากระป่ำ. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์กุมาร, มักใช้เข้าคู่กับคํา กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระป่ำ.กระป่ำ ๑ ว. เป็นปุ่มป่ำ เช่น บนเขากระป่ำ. (ม. คำหลวง กุมาร), มักใช้เข้าคู่กับคํา กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระป่ำ.
กระป่ำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ ความหมายที่ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อร่อย เช่น อนี้ต้นหว้าหวานกระป่ำ. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มัทรี.กระป่ำ ๒ ว. อร่อย เช่น อนี้ต้นหว้าหวานกระป่ำ. (ม. คำหลวง กุมาร; มัทรี).
–กระปิ่ม มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-มอ-ม้าใช้เข้าคู่กับคํา กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระปิ่ม.–กระปิ่ม ใช้เข้าคู่กับคํา กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระปิ่ม.
กระปุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหรือแก้วเป็นต้น รูปป้อม ๆ เตี้ย ๆ ขนาดเล็ก โดยมากปากแคบ ก้นสอบ, ลักษณนามเรียกทะลายของผลระกําหรือผลจาก เช่น ผลระกํากระปุกหนึ่ง ผลจาก ๒ กระปุก.กระปุก น. ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหรือแก้วเป็นต้น รูปป้อม ๆ เตี้ย ๆ ขนาดเล็ก โดยมากปากแคบ ก้นสอบ, ลักษณนามเรียกทะลายของผลระกําหรือผลจาก เช่น ผลระกํากระปุกหนึ่ง ผลจาก ๒ กระปุก.
กระปุกหลุก, กระปุ๊กลุก กระปุกหลุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ กระปุ๊กลุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-ไม้-ตรี-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อ้วนกลมน่าเอ็นดู.กระปุกหลุก, กระปุ๊กลุก ว. อ้วนกลมน่าเอ็นดู.
กระปุ่ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สําหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้.กระปุ่ม (ถิ่น–อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สําหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้.
กระปุ่มกระป่ำ, กระปุ่มกระปิ่ม กระปุ่มกระป่ำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ กระปุ่มกระปิ่ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-มอ-ม้า เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีปุ่มป่ำมาก เช่น ดูกระปุ่มกระปิ่มตุ่มติ่มเต็ม. ในวงเล็บ มาจาก นิราศเมืองเพชร ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๐.กระปุ่มกระป่ำ, กระปุ่มกระปิ่ม ว. มีปุ่มป่ำมาก เช่น ดูกระปุ่มกระปิ่มตุ่มติ่มเต็ม. (นิ. เพชร).
–กระเปา มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อาใช้เข้าคู่กับคํา กระปม เป็น กระปมกระเปา.–กระเปา ใช้เข้าคู่กับคํา กระปม เป็น กระปมกระเปา.
กระเป๋า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทําด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง สําหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อหรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, ปาก ก็เรียก; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง เรียกถุงหน้าท้องสำหรับใส่ลูกของสัตว์บางชนิดเช่นจิงโจ้ ม้าน้ำ.กระเป๋า ๑ น. เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทําด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง สําหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อหรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, ปาก ก็เรียก; (ปาก) เรียกถุงหน้าท้องสำหรับใส่ลูกของสัตว์บางชนิดเช่นจิงโจ้ ม้าน้ำ.
กระเป๋าฉีก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา-ฉอ-ฉิ่ง-สะ-หระ-อี-กอ-ไก่ ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง หมดเงินในกระเป๋าเพราะใช้จ่ายมาก เช่น วันนี้จ่ายเงินเสียกระเป๋าฉีกเลย.กระเป๋าฉีก (ปาก) ว. หมดเงินในกระเป๋าเพราะใช้จ่ายมาก เช่น วันนี้จ่ายเงินเสียกระเป๋าฉีกเลย.
กระเป๋าตุง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อุ-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีเงินในกระเป๋ามาก เช่น ไปทำอะไรจึงกระเป๋าตุงกลับมา.กระเป๋าตุง (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋ามาก เช่น ไปทำอะไรจึงกระเป๋าตุงกลับมา.
กระเป๋าเบา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีเงินในกระเป๋าน้อยลง เช่น ไปเที่ยวเสียกระเป๋าเบาเลย.กระเป๋าเบา (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าน้อยลง เช่น ไปเที่ยวเสียกระเป๋าเบาเลย.
กระเป๋าแฟบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-ฟอ-ฟัน-บอ-ไบ-ไม้ ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีเงินในกระเป๋าลดน้อยลงมาก เช่น ไปจ่ายของเสียกระเป๋าแฟบเลย.กระเป๋าแฟบ (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าลดน้อยลงมาก เช่น ไปจ่ายของเสียกระเป๋าแฟบเลย.
กระเป๋าหนัก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีเงินมาก, ร่ำรวย, เช่น วันนี้ยอมเป็นเจ้ามือเลี้ยงข้าว สงสัยจะกระเป๋าหนัก.กระเป๋าหนัก (ปาก) ว. มีเงินมาก, ร่ำรวย, เช่น วันนี้ยอมเป็นเจ้ามือเลี้ยงข้าว สงสัยจะกระเป๋าหนัก.
กระเป๋าแห้ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-ไม้-โท-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ไม่มีเงินติดกระเป๋าเลย เช่น วันนี้เขากระเป๋าแห้ง.กระเป๋าแห้ง (ปาก) ว. ไม่มีเงินติดกระเป๋าเลย เช่น วันนี้เขากระเป๋าแห้ง.
กระเป๋า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-ไม้-จัด-ตะ-วา-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง พนักงานเก็บค่าโดยสารรถหรือเรือประจำทาง.กระเป๋า ๒ (ปาก) น. พนักงานเก็บค่าโดยสารรถหรือเรือประจำทาง.
กระเปาะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ เป็นคำนาม หมายถึง รูปนูนกลม, เรียกสิ่งที่มีสัณฐานคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้; ฐานที่ฝังเพชรพลอยเป็นหัวแหวนหรือตุ้มหู; เก็จ (ดู เก็จ ๒); ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในวิทยาศาสตร์ หมายถึง ส่วนของหลอดแก้วที่พองออก จะกลมหรือรีก็ตาม.กระเปาะ น. รูปนูนกลม, เรียกสิ่งที่มีสัณฐานคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้; ฐานที่ฝังเพชรพลอยเป็นหัวแหวนหรือตุ้มหู; เก็จ (ดู เก็จ ๒); (วิทยา) ส่วนของหลอดแก้วที่พองออก จะกลมหรือรีก็ตาม.
กระเปาะเหลาะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มีสัณฐานกลมป้อม, เปาะเหลาะ ก็ว่า.กระเปาะเหลาะ ว. มีสัณฐานกลมป้อม, เปาะเหลาะ ก็ว่า.
–กระเปี้ย มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยักใช้เข้าคู่กับคํา กระปั้ว เป็น กระปั้วกระเปี้ย.–กระเปี้ย ใช้เข้าคู่กับคํา กระปั้ว เป็น กระปั้วกระเปี้ย.
–กระแป้ มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ปอ-ปลา-ไม้-โทใช้เข้าคู่กับคํา กระป้อ เป็น กระป้อกระแป้.–กระแป้ ใช้เข้าคู่กับคํา กระป้อ เป็น กระป้อกระแป้.
–กระแปด มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ปอ-ปลา-ดอ-เด็กใช้เข้าคู่กับคํา กระปอด เป็น กระปอดกระแปด.–กระแปด ใช้เข้าคู่กับคํา กระปอด เป็น กระปอดกระแปด.
กระโปก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ปอ-ปลา-กอ-ไก่ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายหรือสัตว์ตัวผู้.กระโปก ๑ น. ส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายหรือสัตว์ตัวผู้.
กระโปก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ปอ-ปลา-กอ-ไก่ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องเกวียนสําหรับยึดเพลา ติดอยู่กับตัวทูบ.กระโปก ๒ น. เครื่องเกวียนสําหรับยึดเพลา ติดอยู่กับตัวทูบ.
กระโปรง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-งอ-งู[–โปฺรง] เป็นคำนาม หมายถึง ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าวเป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สําหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า. ในวงเล็บ มาจาก เรื่องนางนพมาศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๒; กะโปรง ก็ใช้.กระโปรง [–โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าวเป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สําหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า. (นพมาศ); กะโปรง ก็ใช้.
กระโปรงทอง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ปอ-ปลา-รอ-เรือ-งอ-งู-ทอ-ทะ-หาน-ออ-อ่าง-งอ-งูดู กะทกรก เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-ทอ-ทะ-หาน-กอ-ไก่-รอ-เรือ-กอ-ไก่ (๒).กระโปรงทอง ดู กะทกรก (๒).
กระผม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-มอ-ม้า เป็นคำสรรพนาม หมายถึง คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.กระผม ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
–กระผลาม มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า[–ผฺลาม]ใช้เข้าคู่กับคํา กระผลี เป็น กระผลีกระผลาม.–กระผลาม [–ผฺลาม] ใช้เข้าคู่กับคํา กระผลี เป็น กระผลีกระผลาม.
กระผลีกระผลาม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า[–ผฺลี–ผฺลาม] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง รีบร้อนเกินไปโดยไม่ระมัดระวังหรือไม่ถูกกาลเทศะ.กระผลีกระผลาม [–ผฺลี–ผฺลาม] ว. รีบร้อนเกินไปโดยไม่ระมัดระวังหรือไม่ถูกกาลเทศะ.
กระผาน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อา-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง ตะโพก. ในวงเล็บ มาจาก D.J.B. Pallegoix Dictionnaire, Siamois, Francais-Anglais.กระผาน น. ตะโพก. (ปาเลกัว).
กระผีก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อี-กอ-ไก่ เป็นคำนาม หมายถึง มาตราตวง มีพิกัดเท่ากับ ๑ ภาค (คือ ๑ ใน ๔) ของกระเพาะ. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เล็กน้อย.กระผีก น. มาตราตวง มีพิกัดเท่ากับ ๑ ภาค (คือ ๑ ใน ๔) ของกระเพาะ. ว. เล็กน้อย.
กระผีกริ้น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ผอ-ผึ้ง-สะ-หระ-อี-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-นอ-หนู ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง นิดหน่อย, น้อยมาก, เล็กน้อย.กระผีกริ้น (ปาก) ว. นิดหน่อย, น้อยมาก, เล็กน้อย.
กระพรวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-รอ-เรือ-วอ-แหวน-นอ-หนู[–พฺรวน] เป็นคำนาม หมายถึง โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างในเพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, พรวน ลูกพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคพายัพและภาคอีสาน หมายถึง มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.กระพรวน [–พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างในเพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, พรวน ลูกพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า; (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
กระพริ้ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง พริ้มพราย, แฉล้ม, เช่น ดูกระพริ้มริมแดงดังแสงโสม. ในวงเล็บ มาจาก นิราศเดือน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๖.กระพริ้ม (กลอน) ว. พริ้มพราย, แฉล้ม, เช่น ดูกระพริ้มริมแดงดังแสงโสม. (นิ. เดือน).
กระพอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอกจานร้านเรือนเดียว. ในวงเล็บ มาจาก สุภาษิตสอนเด็ก ในสุภาษิต ๓ อย่าง ราชบัณฑิตยสภาสอบทาน พ.ศ. ๒๔๗๒; การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).กระพอก ๑ น. กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอกจานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).
กระพอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ เป็นคำกริยา หมายถึง พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน.กระพอก ๒ ก. พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล. (ลอ).
กระพอกวัว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-วอ-แหวน เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง. ในวงเล็บ มาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓.กระพอกวัว น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
กระพอง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, ตระพอง ตะพอง หรือ กะพอง ก็ว่า.กระพอง ๑ น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, ตระพอง ตะพอง หรือ กะพอง ก็ว่า.
กระพอง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อตัวไม้อันบนที่เป็นราวลูกกรงเรือนหรือเกวียน, กําพอง ก็เรียก.กระพอง ๒ น. ชื่อตัวไม้อันบนที่เป็นราวลูกกรงเรือนหรือเกวียน, กําพอง ก็เรียก.
กระพ้อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-โท-ออ-อ่าง-มอ-ม้า เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะสานขนาดใหญ่สำหรับบรรจุข้าวเปลือกเป็นต้น, พ้อม ก็เรียก; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน หมายถึง เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปเหมือนกระบุง แต่เล็กกว่าราวครึ่งหนึ่ง.กระพ้อม น. ภาชนะสานขนาดใหญ่สำหรับบรรจุข้าวเปลือกเป็นต้น, พ้อม ก็เรียก; (ถิ่น–อีสาน) เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปเหมือนกระบุง แต่เล็กกว่าราวครึ่งหนึ่ง.
กระพัก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ เป็นคำนาม หมายถึง โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้ เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์กุมาร, ตะพัก ก็ว่า.กระพัก น. โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้ เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ตะพัก ก็ว่า.
กระพัง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง แอ่ง, บ่อ, หนอง, ตระพัง ตะพัง หรือ สะพัง ก็เรียก. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร ตฺรพําง เขียนว่า ตอ-เต่า-พิน-ทุ-รอ-เรือ-พอ-พาน-นิก-คะ-หิด-สะ-หระ-อา-งอ-งู ว่า บ่อที่เกิดเอง .กระพัง ๑ น. แอ่ง, บ่อ, หนอง, ตระพัง ตะพัง หรือ สะพัง ก็เรียก. (เทียบ ข. ตฺรพําง ว่า บ่อที่เกิดเอง).
กระพัง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะชนิดหนึ่ง สําหรับใส่นํ้าทําพิธีต่าง ๆ ตามลัทธิไสยศาสตร์ เรียกว่า “กระพังนํ้า” ซึ่งน่าจะมีรูปคล้ายกับหม้อนํ้ามนตร์ของเรา.กระพัง ๒ น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สําหรับใส่นํ้าทําพิธีต่าง ๆ ตามลัทธิไสยศาสตร์ เรียกว่า “กระพังนํ้า” ซึ่งน่าจะมีรูปคล้ายกับหม้อนํ้ามนตร์ของเรา.
กระพังเหิร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-รอ-เรือ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อการฟันด้วยขอช้างอย่างหนึ่ง คือฟันให้หยุดอย่างชะงัก. ในวงเล็บ มาจาก ตำราขี่ช้าง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕.กระพังเหิร น. ชื่อการฟันด้วยขอช้างอย่างหนึ่ง คือฟันให้หยุดอย่างชะงัก. (ตําราขี่ช้าง).
กระพังโหม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-โอ-หอ-หีบ-มอ-ม้า เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้เถาชนิด Oxystelma secamone (L.) Karst. ในวงศ์ Asclepiadaceae ทั้งต้นมียางขาว ใบแคบเรียวแหลม ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน มีนวล ดอกสีม่วงแกมชมพู ใช้ทํายาได้ ใบและเถาใช้เป็นอาหาร, จมูกปลาหลด จมูกปลาไหล หรือ ผักไหม ก็เรียก.กระพังโหม น. ชื่อไม้เถาชนิด Oxystelma secamone (L.) Karst. ในวงศ์ Asclepiadaceae ทั้งต้นมียางขาว ใบแคบเรียวแหลม ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน มีนวล ดอกสีม่วงแกมชมพู ใช้ทํายาได้ ใบและเถาใช้เป็นอาหาร, จมูกปลาหลด จมูกปลาไหล หรือ ผักไหม ก็เรียก.
กระพัด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก เป็นคำนาม หมายถึง เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. ในวงเล็บ มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. เป็นคำกริยา หมายถึง ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์ชูชก.กระพัด น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
กระพัดแม่ม่าย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-แอ-มอ-ม้า-ไม้-เอก-มอ-ม้า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยักดู กระดูกกบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อู-กอ-ไก่-กอ-ไก่-บอ-ไบ-ไม้.กระพัดแม่ม่าย ดู กระดูกกบ.
กระพัตร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-รอ-เรือ[–พัด] เป็นคำนาม หมายถึง เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับ หรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. ในวงเล็บ มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗, กระพัด ก็ว่า.กระพัตร [–พัด] น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับ หรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย), กระพัด ก็ว่า.
กระพัน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ทนทานต่อศัสตราวุธ, มักใช้ควบกับ ชาตรี เป็น คงกระพันชาตรี. ในวงเล็บ เทียบ ภาษามลายู กะบัล เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ไม้-หัน-อา-กาด-ลอ-ลิง.กระพัน ว. ทนทานต่อศัสตราวุธ, มักใช้ควบกับ ชาตรี เป็น คงกระพันชาตรี. (เทียบมลายู กะบัล).
กระพั่น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-นอ-หนู ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องไม้ในจําพวกเครื่องทอผ้า สําหรับม้วนผ้า.กระพั่น (ถิ่น–อีสาน) น. เครื่องไม้ในจําพวกเครื่องทอผ้า สําหรับม้วนผ้า.
กระพา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสานชนิดหนึ่ง สําหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ที่หลังคน มีสายรัดไขว้หน้าอก ใช้อย่างต่างใส่วัว แต่มีอันเดียว.กระพา (ถิ่น–อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สําหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ที่หลังคน มีสายรัดไขว้หน้าอก ใช้อย่างต่างใส่วัว แต่มีอันเดียว.
กระพาก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่ เป็นคำนาม หมายถึง ปลาตะพาก. ในวงเล็บ มาจาก เสด็จประพาสไทรโยคและจันทบุรี พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๓๑. ในวงเล็บ ดู ตะพาก เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่.กระพาก น. ปลาตะพาก. (ประพาสไทรโยค). (ดู ตะพาก).
กระพี้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อี-ไม้-โท เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของเนื้อไม้ที่หุ้มแก่น, เนื้อไม้ที่อยู่ระหว่างเปลือกกับแก่น มีลักษณะอ่อนและยุ่ยง่าย. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นแก่นสาร.กระพี้ น. ส่วนของเนื้อไม้ที่หุ้มแก่น, เนื้อไม้ที่อยู่ระหว่างเปลือกกับแก่น มีลักษณะอ่อนและยุ่ยง่าย. ว. โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นแก่นสาร.
กระพี้เขาควาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Grah. ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดําแข็งและหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ.กระพี้เขาควาย น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Grah. ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดําแข็งและหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ.
กระพี้นางนวล เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-งอ-งู-นอ-หนู-วอ-แหวน-ลอ-ลิง เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia cana Grah. ex Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายเรียวแหลม ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีม่วงดำ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ฝักแบน มีขน มี ๒ เมล็ด, จักจั่น ก็เรียก.กระพี้นางนวล น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia cana Grah. ex Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายเรียวแหลม ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีม่วงดำ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ฝักแบน มีขน มี ๒ เมล็ด, จักจั่น ก็เรียก.
กระพือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง เป็นคำกริยา หมายถึง เอาสิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ โบกขึ้นลง, พัดหรือโบกด้วยอาการเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึง แพร่กระจาย เช่น ข่าวนี้กระพือไปอย่างรวดเร็ว.กระพือ ก. เอาสิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ โบกขึ้นลง, พัดหรือโบกด้วยอาการเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึง แพร่กระจาย เช่น ข่าวนี้กระพือไปอย่างรวดเร็ว.
กระพุ้ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-โท-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนที่ป่องออก เช่น กระพุ้งแก้ม กระพุ้งก้น.กระพุ้ง น. ส่วนที่ป่องออก เช่น กระพุ้งแก้ม กระพุ้งก้น.
กระพุ่ม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า เป็นคำนาม หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม, ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง พุ่ม เช่น ดอกพวงเผล็ดช่อ กระพุ่มห่อเกสร สลอนบุษบาบาน. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน, สองถันกระพุ่มกาญ– จนแมนมาเลขา. ในวงเล็บ มาจาก อนิรุทธ์คำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ.กระพุ่ม น. ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม, (กลอน) พุ่ม เช่น ดอกพวงเผล็ดช่อ กระพุ่มห่อเกสร สลอนบุษบาบาน. (ลอ), สองถันกระพุ่มกาญ– จนแมนมาเลขา. (อนิรุทธ์).
กระพุ่มมือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-มอ-ม้า-มอ-ม้า-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง เป็นคำกริยา หมายถึง พนมมือ. เป็นคำนาม หมายถึง มือที่พนม.กระพุ่มมือ ก. พนมมือ. น. มือที่พนม.
กระเพลิด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก[–เพฺลิด] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ตะเพิด. ในวงเล็บ มาจาก อักขราภิธานศรับท์ ของ หมอปรัดเล.กระเพลิด [–เพฺลิด] (โบ) ก. ตะเพิด. (ปรัดเล).
กระเพลิศ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-สอ-สา-ลา[–เพฺลิด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ตะพืด เช่น พลพายกระเพลิศพ้าง พายพัด. ในวงเล็บ มาจาก โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, พระยาตรัง แต่ง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗.กระเพลิศ [–เพฺลิด] (กลอน) ว. ตะพืด เช่น พลพายกระเพลิศพ้าง พายพัด. (เฉลิมพระเกียรติ ร. ๒).
กระเพาะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ เป็นคำนาม หมายถึง อวัยวะภายในของคนและสัตว์ รูปเป็นถุง คือ กระเพาะอาหารและกระเพาะปัสสาวะ. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร กฺรพะ เขียนว่า กอ-ไก่-พิน-ทุ-รอ-เรือ-พอ-พาน-สะ-หระ-อะ; ภาชนะสานสําหรับตวงข้าว มีอัตราจุ ๔ กระผีก.กระเพาะ น. อวัยวะภายในของคนและสัตว์ รูปเป็นถุง คือ กระเพาะอาหารและกระเพาะปัสสาวะ. (เทียบ ข. กฺรพะ); ภาชนะสานสําหรับตวงข้าว มีอัตราจุ ๔ กระผีก.
กระเพาะปลา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ-ปอ-ปลา-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา เป็นคำนาม หมายถึง ชื่ออาหารคาวแบบจีนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถุงลมปลา เนื้อไก่ เลือดหมู เป็นต้น.กระเพาะปลา น. ชื่ออาหารคาวแบบจีนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถุงลมปลา เนื้อไก่ เลือดหมู เป็นต้น.
กระเพิง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-สะ-หระ-อิ-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง เพิง, สิ่งที่ยื่นเป็นเพิง, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์กุมาร.กระเพิง น. เพิง, สิ่งที่ยื่นเป็นเพิง, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
กระเพื่อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-พอ-พาน-สะ-หระ-อือ-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า เป็นคำกริยา หมายถึง อาการของสิ่งเหลวหรือนุ่มที่ไหวขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น นํ้ากระเพื่อม.กระเพื่อม ก. อาการของสิ่งเหลวหรือนุ่มที่ไหวขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น นํ้ากระเพื่อม.
กระแพง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-พอ-พาน-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง กําแพง เช่น ทิศออกกระแพงแก้วกั้น. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๔๗๒.กระแพง (โบ; กลอน) น. กําแพง เช่น ทิศออกกระแพงแก้วกั้น. (จารึกวัดโพธิ์).
กระแพ้ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-พอ-พาน-ไม้-โท-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง ไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดํา ๆ กลิ่นเหม็น, กําแพ้ง ก็ว่า.กระแพ้ง น. ไม้ไผ่ที่ปล้องข้างในเป็นโรค มีสีดํา ๆ กลิ่นเหม็น, กําแพ้ง ก็ว่า.
กระฟัดกระเฟียด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ฟอ-ฟัน-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ฟอ-ฟัน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่โกรธหรือแสร้งทําโกรธ.กระฟัดกระเฟียด ว. อาการที่โกรธหรือแสร้งทําโกรธ.
–กระฟาย มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ฟอ-ฟัน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยักใช้เข้าคู่กับคํา กระฟูม เป็น กระฟูมกระฟาย.–กระฟาย ใช้เข้าคู่กับคํา กระฟูม เป็น กระฟูมกระฟาย.
กระฟูมกระฟาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ฟอ-ฟัน-สะ-หระ-อู-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ฟอ-ฟัน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก เป็นคำกริยา หมายถึง ฟูมฟาย.กระฟูมกระฟาย ก. ฟูมฟาย.
–กระเฟียด มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ฟอ-ฟัน-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็กใช้เข้าคู่กับคํา กระฟัด เป็น กระฟัดกระเฟียด.–กระเฟียด ใช้เข้าคู่กับคํา กระฟัด เป็น กระฟัดกระเฟียด.
กระมล เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-ลอ-ลิง[–มน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก กระลึง เป็นคำนาม หมายถึง ดอกบัว, หัวใจ.กระมล [–มน] (กลอน; แผลงมาจาก กมล) น. ดอกบัว, หัวใจ.
กระมอบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Gardenia obtusifolia Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae คล้ายกระเบียน (๒) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ใบคายและเล็กกว่า ปลายใบป้าน ยอดอ่อนมียางเหนียว ผลย่อมกว่า เนื้อไม้ขาวละเอียด ใช้แกะสลักได้.กระมอบ น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Gardenia obtusifolia Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae คล้ายกระเบียน (๒) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ใบคายและเล็กกว่า ปลายใบป้าน ยอดอ่อนมียางเหนียว ผลย่อมกว่า เนื้อไม้ขาวละเอียด ใช้แกะสลักได้.
กระมอมกระแมม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-มอ-ม้า-มอ-ม้า เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มอมแมมมาก, เลอะเทอะเปรอะเปื้อน.กระมอมกระแมม ว. มอมแมมมาก, เลอะเทอะเปรอะเปื้อน.
กระมัง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คําแสดงความไม่แน่ใจ, คําแสดงความคาดคะเน, (ใช้ไว้ท้ายประโยค) เช่น เป็นเช่นนี้กระมัง, ในบทกลอนใช้ว่า กระหมั่ง ก็มี.กระมัง ๑ ว. คําแสดงความไม่แน่ใจ, คําแสดงความคาดคะเน, (ใช้ไว้ท้ายประโยค) เช่น เป็นเช่นนี้กระมัง, ในบทกลอนใช้ว่า กระหมั่ง ก็มี.
กระมัง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntioplites proctozysron ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นแข็งแรงและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลําตัวเป็นสีขาว, เหลี่ยม ก็เรียก.กระมัง ๒ น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntioplites proctozysron ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นแข็งแรงและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลําตัวเป็นสีขาว, เหลี่ยม ก็เรียก.
กระมัน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนูดู กระโห้ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-หอ-หีบ-ไม้-โท.กระมัน ดู กระโห้.
กระมิดกระเมี้ยน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-นอ-หนู เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ, มิดเมี้ยน ก็ว่า.กระมิดกระเมี้ยน ก. แสดงอาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ, มิดเมี้ยน ก็ว่า.
กระมึน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อึ-นอ-หนู ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สูงคํ้าฟ้า, สูงเด่น, เช่น กายาศีรษะพลัดพราย หัวขาดเด็ดตาย จรลู่กระมึนเหมือนเขา. (เสือโค, บางฉบับเป็น ตระหมื้น), ตระมึน ก็ใช้, โดยมากเป็น ทะมื่น.กระมึน (โบ) ว. สูงคํ้าฟ้า, สูงเด่น, เช่น กายาศีรษะพลัดพราย หัวขาดเด็ดตาย จรลู่กระมึนเหมือนเขา. (เสือโค, บางฉบับเป็น ตระหมื้น), ตระมึน ก็ใช้, โดยมากเป็น ทะมื่น.
กระมุท เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-ทอ-ทะ-หาน เป็นคำนาม หมายถึง บัว, กมุท ก็ว่า. (แผลงมาจาก กุมุท).กระมุท น. บัว, กมุท ก็ว่า. (แผลงมาจาก กุมุท).
กระเมาะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลากระบอกขนาดเล็ก. ในวงเล็บ ดู กระบอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-บอ-ไบ-ไม้-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒.กระเมาะ น. ชื่อปลากระบอกขนาดเล็ก. (ดู กระบอก ๒).
–กระเมี้ยน มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก-นอ-หนูใช้เข้าคู่กับคํา กระมิด เป็น กระมิดกระเมี้ยน.–กระเมี้ยน ใช้เข้าคู่กับคํา กระมิด เป็น กระมิดกระเมี้ยน.
–กระแมม มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-มอ-ม้า-มอ-ม้าใช้เข้าคู่กับคํา กระมอม เป็น กระมอมกระแมม.–กระแมม ใช้เข้าคู่กับคํา กระมอม เป็น กระมอมกระแมม.
กระย่อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสํารับ ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอกดอกไม้บูชาตามวัด.กระย่อง (ถิ่น–อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสํารับ ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอกดอกไม้บูชาตามวัด.
–กระย่อง มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งูใช้เข้าคู่กับคํา กระยิ้ม เป็น กระยิ้มกระย่อง.–กระย่อง ใช้เข้าคู่กับคํา กระยิ้ม เป็น กระยิ้มกระย่อง.
กระย่องกระแย่ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-งอ-งู เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ร่างกายไม่เข็งแรง ทำให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระง่องกระแง่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า.กระย่องกระแย่ง ว. อาการที่ร่างกายไม่เข็งแรง ทำให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระง่องกระแง่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า.
กระย่อน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู เป็นคำกริยา หมายถึง ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง, กระหย่อน ก็ใช้; ยวบยาบ, แกว่ง เช่น ลมไกวกิ่งกลฟ้อน ก็กระย่อนอยู่ยานโยน. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘; ขยับ เช่น ยกค้อนกระย่อนดูบริพาร. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘.กระย่อน ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง, กระหย่อน ก็ใช้; ยวบยาบ, แกว่ง เช่น ลมไกวกิ่งกลฟ้อน ก็กระย่อนอยู่ยานโยน. (สมุทรโฆษ); ขยับ เช่น ยกค้อนกระย่อนดูบริพาร. (สมุทรโฆษ).
กระย่อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้าดู ระย่อม เขียนว่า รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า.กระย่อม ดู ระย่อม.
กระยา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา เป็นคำนาม หมายถึง เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).กระยา น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
กระยาคชวาง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-คอ-ควาย-ชอ-ช้าง-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-งอ-งู[–คดชะวาง] เป็นคำนาม หมายถึง ข้าวสําหรับบําบวงเชือกบาศ เป็นพิธีของพระหมอเฒ่าในการรับช้างเผือก.กระยาคชวาง [–คดชะวาง] น. ข้าวสําหรับบําบวงเชือกบาศ เป็นพิธีของพระหมอเฒ่าในการรับช้างเผือก.
กระยาดอก, กระยาดอกเบี้ย กระยาดอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ กระยาดอกเบี้ย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่ส่งชําระแทนดอกเบี้ย เช่น กู้เงินเขามาแล้ว มอบที่นาให้ทําหรือมอบบุตรภริยาให้รับใช้การงาน.กระยาดอก, กระยาดอกเบี้ย (โบ) น. สิ่งที่ส่งชําระแทนดอกเบี้ย เช่น กู้เงินเขามาแล้ว มอบที่นาให้ทําหรือมอบบุตรภริยาให้รับใช้การงาน.
กระยาทาน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องบริจาค. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมจารึกสยาม ภาคที่ จารึกสุโขทัย, ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ชำระและแปล ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗.กระยาทาน น. เครื่องบริจาค. (จารึกสยาม).
กระยาทิพย์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ทอ-ทะ-หาน-สะ-หระ-อิ-พอ-พาน-ยอ-ยัก-ทัน-ทะ-คาด เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมีนํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้านม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทําในพิธีสารท เรียกว่า ข้าวกระยาทิพย์, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.กระยาทิพย์ น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมีนํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้านม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทําในพิธีสารท เรียกว่า ข้าวกระยาทิพย์, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.
กระยาบวช เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้-วอ-แหวน-ชอ-ช้าง เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องกินที่ไม่มีของสดคาว.กระยาบวช น. เครื่องกินที่ไม่มีของสดคาว.
กระยาเบี้ย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อี-ไม้-โท-ยอ-ยัก ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เบี้ยเงินค่าตัวทาส และเงินกู้.กระยาเบี้ย (โบ) น. เบี้ยเงินค่าตัวทาส และเงินกู้.
กระยารงค์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด เป็นคำนาม หมายถึง สีสําหรับวาดเขียน.กระยารงค์ น. สีสําหรับวาดเขียน.
กระยาเลย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-ยอ-ยัก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ต่าง ๆ, ปะปนกัน, (ใช้แก่ต้นไม้มีแก่น แต่ไม่รวมไม้สัก).กระยาเลย ว. ต่าง ๆ, ปะปนกัน, (ใช้แก่ต้นไม้มีแก่น แต่ไม่รวมไม้สัก).
กระยาสนาน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสรง.กระยาสนาน (ราชา) น. เครื่องสรง.
กระยาสังเวย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องเซ่น.กระยาสังเวย น. เครื่องเซ่น.
กระยาสังแวง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู-สะ-หระ-แอ-วอ-แหวน-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง ข้าวเภาในพิธีรับช้างเผือก.กระยาสังแวง น. ข้าวเภาในพิธีรับช้างเผือก.
กระยาสารท เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-ทอ-ทะ-หาน[–สาด] เป็นคำนาม หมายถึง ขนมทําด้วยถั่วงาและข้าวเม่าข้าวตอกกวนกับนํ้าตาล แต่เดิมนิยมทําเฉพาะในเทศกาลสารท.กระยาสารท [–สาด] น. ขนมทําด้วยถั่วงาและข้าวเม่าข้าวตอกกวนกับนํ้าตาล แต่เดิมนิยมทําเฉพาะในเทศกาลสารท.
กระยาเสวย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องเสวย.กระยาเสวย (ราชา) น. เครื่องเสวย.
กระยาหาร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องกินมีข้าวเป็นต้น.กระยาหาร น. เครื่องกินมีข้าวเป็นต้น.
กระยาง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดนํ้าเอาปลา. (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง. (สุบินคำพากย์).กระยาง ๑ น. ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดนํ้าเอาปลา. (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง. (สุบินคำพากย์).
กระยาง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง นกยาง. ในวงเล็บ ดู ยาง เขียนว่า ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู ความหมายที่ ๑.กระยาง ๒ น. นกยาง. (ดู ยาง ๑).
กระยาจก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-จอ-จาน-กอ-ไก่ ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง ยาจก, คนขอทาน, เช่น ตัวอ้ายพราหมณ์เถ้ากระยาจก. ในวงเล็บ มาจาก บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่องมโนห์รา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. (กระ + ป. ยาจก).กระยาจก (ปาก) น. ยาจก, คนขอทาน, เช่น ตัวอ้ายพราหมณ์เถ้ากระยาจก. (มโนห์รา). (กระ + ป. ยาจก).
–กระยาด มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็กใช้เข้าคู่กับคํา กระยืด เป็น กระยืดกระยาด.–กระยาด ใช้เข้าคู่กับคํา กระยืด เป็น กระยืดกระยาด.
กระยาหงัน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-หอ-หีบ-งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง วิมาน, สวรรค์ชั้นฟ้า, เช่น อวยชัยให้พรแล้วเทวัญ กลับคืนกระยาหงันชั้นฟ้า. ในวงเล็บ มาจาก อิเหนา พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๒ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๔ ในวงเล็บ มาจากภาษามลายู กะยางัน เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-งอ-งู-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู ว่า สวรรค์, ที่อยู่ของเทวดา .กระยาหงัน น. วิมาน, สวรรค์ชั้นฟ้า, เช่น อวยชัยให้พรแล้วเทวัญ กลับคืนกระยาหงันชั้นฟ้า. (อิเหนา). (ม. กะยางัน ว่า สวรรค์, ที่อยู่ของเทวดา).
กระยิก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ เป็นคำกริยา หมายถึง ขะยิก.กระยิก ก. ขะยิก.
กระยิ้มกระย่อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อิ-ไม้-โท-มอ-ม้า-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู เป็นคำกริยา หมายถึง แสดงอาการดีใจหรืออิ่มใจ, ยิ้มย่อง ก็ว่า.กระยิ้มกระย่อง ก. แสดงอาการดีใจหรืออิ่มใจ, ยิ้มย่อง ก็ว่า.
กระยึกกระยือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง หยิกไปหยิกมา, ไม่ตรง, ไม่เป็นระเบียบ, ยึกยือ ก็ว่า.กระยึกกระยือ ว. หยิกไปหยิกมา, ไม่ตรง, ไม่เป็นระเบียบ, ยึกยือ ก็ว่า.
กระยึกกระหยัก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ, ยึกยัก ก็ว่า.กระยึกกระหยัก ว. อาการที่ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ, ยึกยัก ก็ว่า.
กระยืดกระยาด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อือ-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ยอ-ยัก-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ยืดยาดมาก, เนิบนาบ, ช้า, ไม่ฉับไว.กระยืดกระยาด ว. ยืดยาดมาก, เนิบนาบ, ช้า, ไม่ฉับไว.
กระเย้อกระแหย่ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ยอ-ยัก-ไม้-โท-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-หอ-หีบ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-งอ-งู[–แหฺย่ง] เป็นคำกริยา หมายถึง เขย่งแล้วเขย่งอีก, โดยปริยายหมายความว่า พยายามจะให้ได้สิ่งที่สุดเอื้อม, ขะเย้อแขย่ง ก็ว่า.กระเย้อกระแหย่ง [–แหฺย่ง] ก. เขย่งแล้วเขย่งอีก, โดยปริยายหมายความว่า พยายามจะให้ได้สิ่งที่สุดเอื้อม, ขะเย้อแขย่ง ก็ว่า.
–กระแย่ง มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-งอ-งูใช้เข้าคู่กับคํา กระย่อง เป็น กระย่องกระแย่ง.–กระแย่ง ใช้เข้าคู่กับคํา กระย่อง เป็น กระย่องกระแย่ง.
กระรอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae มีฟันแทะ ส่วนใหญ่ตาโตและหูใหญ่ หางยาวเป็นพวง กินผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) พญากระรอกดํา (Ratufa bicolor).กระรอก น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae มีฟันแทะ ส่วนใหญ่ตาโตและหูใหญ่ หางยาวเป็นพวง กินผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) พญากระรอกดํา (Ratufa bicolor).
กระรอกน้ำข้าว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-รอ-เรือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวนดู เขยตาย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก.กระรอกน้ำข้าว ดู เขยตาย.
กระเรียน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Grus antigone ในวงศ์ Gruidae คอยาว ขายาว ปีกกว้าง หางกว้างและสั้น หากินตามที่ราบลุ่ม กินพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ไม่ชอบกินปลา, กาเรียน ก็เรียก.กระเรียน ๑ น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Grus antigone ในวงศ์ Gruidae คอยาว ขายาว ปีกกว้าง หางกว้างและสั้น หากินตามที่ราบลุ่ม กินพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ไม่ชอบกินปลา, กาเรียน ก็เรียก.
กระเรียน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเพลงไทยของเก่าสําหรับทําเพลงช้า เรียกว่า กระเรียนร้อง, ถ้ารับร้องบทละครเป็นเพลง ๒ ชั้น ท่อนต้นเรียกว่า กระเรียนร้องตัวผู้ ท่อนหลังเรียกว่า กระเรียนร้องตัวเมีย ต่อจากนี้ทําเพลงกระเรียนทอง แล้วถึงกระเรียนร่อน เป็นเพลงเสภาร้องรับมโหรี.กระเรียน ๒ น. ชื่อเพลงไทยของเก่าสําหรับทําเพลงช้า เรียกว่า กระเรียนร้อง, ถ้ารับร้องบทละครเป็นเพลง ๒ ชั้น ท่อนต้นเรียกว่า กระเรียนร้องตัวผู้ ท่อนหลังเรียกว่า กระเรียนร้องตัวเมีย ต่อจากนี้ทําเพลงกระเรียนทอง แล้วถึงกระเรียนร่อน เป็นเพลงเสภาร้องรับมโหรี.
กระโรกน้ำข้าว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-รอ-เรือ-กอ-ไก่-นอ-หนู-ไม้-โท-สะ-หระ-อำ-ขอ-ไข่-ไม้-โท-สะ-หระ-อา-วอ-แหวนดู เขยตาย เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-ยอ-ยัก-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก.กระโรกน้ำข้าว ดู เขยตาย.
กระโรกใหญ่ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-รอ-เรือ-กอ-ไก่-สะ-หระ-ไอ-ไม้-ม้วน-หอ-หีบ-ยอ-หยิง-ไม้-เอกดู ชิงชี่ เขียนว่า ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก.กระโรกใหญ่ ดู ชิงชี่.
กระไร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-รอ-เรือ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์กุมาร.กระไร ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
กระลด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ดอ-เด็ก[–หฺลด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก กลด เป็นคำนาม หมายถึง ร่ม เช่น เทียวทองธงชัย และแซงกระลดชุมสาย. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘.กระลด [–หฺลด] (กลอน; แผลงมาจาก กลด) น. ร่ม เช่น เทียวทองธงชัย และแซงกระลดชุมสาย. (สมุทรโฆษ).
กระลบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-บอ-ไบ-ไม้[–หฺลบ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก กลบ เป็นคำกริยา หมายถึง ตระหลบ. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ฟุ้ง เช่น ก็หอมกระลบอบองค์. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์จุลพน.กระลบ [–หฺลบ] (กลอน; แผลงมาจาก กลบ) ก. ตระหลบ. ว. ฟุ้ง เช่น ก็หอมกระลบอบองค์. (ม. คำหลวง จุลพน).
กระลอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-กอ-ไก่[–หฺลอก] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก.กระลอก [–หฺลอก] (กลอน) แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก.
กระลอม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-มอ-ม้า ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, ชะลอม ก็ว่า.กระลอม (ถิ่น–อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, ชะลอม ก็ว่า.
กระละหล่ำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ เป็นคำกริยา หมายถึง กลํ้า, เกือบ, เช่น กระละหลํ่าจกกเป็น แต่กี้. ในวงเล็บ มาจาก ทวาทศมาส ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐.กระละหล่ำ ก. กลํ้า, เกือบ, เช่น กระละหลํ่าจกกเป็น แต่กี้. (ทวาทศมาส).
กระลัด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก[–หฺลัด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก กลัด เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เข้มแข็ง เช่น กระลัดในกลางสงคราม. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘.กระลัด [–หฺลัด] (กลอน; แผลงมาจาก กลัด) ว. เข้มแข็ง เช่น กระลัดในกลางสงคราม. (สมุทรโฆษ).
กระลับ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้[–หฺลับ] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง แผลงมาจาก กลับ เช่น ก็กระลับกระลอกแทง. ในวงเล็บ มาจาก อนิรุทธ์คำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ.กระลับ [–หฺลับ] (กลอน) แผลงมาจาก กลับ เช่น ก็กระลับกระลอกแทง. (อนิรุทธ์).
กระลับกระเลือก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่[–เหฺลือก] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง กลับเกลือก.กระลับกระเลือก [–เหฺลือก] ว. กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), (โบ) กลับเกลือก.
กระลัมพร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-มอ-ม้า-พอ-พาน-รอ-เรือ เป็นคำนาม หมายถึง โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น ก็ทํากระลัมพรกาล. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘, (แผลงมาจาก กลัมพร), เขียนเป็น กระลําพร ก็มี.กระลัมพร น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น ก็ทํากระลัมพรกาล. (สมุทรโฆษ), (แผลงมาจาก กลัมพร), เขียนเป็น กระลําพร ก็มี.
กระลา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ท่วงที. ในวงเล็บ มาจาก อนันตวิภาค ในหนังสือแปลศัพท์พากย์ต่าง ๆ ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พิมพ์ ร.ศ. ๑๑๔; ที่, กอง, เช่น กระลาบังคลคนผจง. ในวงเล็บ มาจาก คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร กฺรฬา เขียนว่า กอ-ไก่-พิน-ทุ-รอ-เรือ-ลอ-จุ-ลา-สะ-หระ-อา.กระลา ๑ (โบ) น. ท่วงที. (อนันตวิภาค); ที่, กอง, เช่น กระลาบังคลคนผจง. (ดุษฎีสังเวย). (เทียบ ข. กฺรฬา).
กระลา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง องค์ของการบูชา เช่น กระลาพิธีกรกุณฑ์. ในวงเล็บ มาจาก เสือโคคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕. (แผลงมาจาก กลา). ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต กลา เขียนว่า กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา มีองค์ เขียนว่า มอ-ม้า-สะ-หระ-อี-ออ-อ่าง-งอ-งู-คอ-ควาย-ทัน-ทะ-คาด ๓ เขียนว่า สาม คือ เขียนว่า คอ-ควาย-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง มนตร์ เขียนว่า มอ-ม้า-นอ-หนู-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-ทัน-ทะ-คาด สัมภาระ เขียนว่า สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-มอ-ม้า-พอ-สำ-เพา-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ และ เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อะ ศรัทธา เขียนว่า สอ-สา-ลา-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ทอ-ทะ-หาน-ทอ-ทง-สะ-หระ-อา .กระลา ๒ น. องค์ของการบูชา เช่น กระลาพิธีกรกุณฑ์. (เสือโค). (แผลงมาจาก กลา). (ส. กลา มีองค์ ๓ คือ มนตร์ สัมภาระ และ ศรัทธา).
กระลาการ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ตุลาการ เช่น แลผู้พิพากษากระลาการไต่ไปโดยคลองธรรมดั่งกล่าวมานี้. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง.กระลาการ (โบ) น. ตุลาการ เช่น แลผู้พิพากษากระลาการไต่ไปโดยคลองธรรมดั่งกล่าวมานี้. (สามดวง).
กระลาพิม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-พอ-พาน-สะ-หระ-อิ-มอ-ม้า เป็นคำนาม หมายถึง ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาพิม พระมาศ กูเออย. (กำสรวล).กระลาพิม น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาพิม พระมาศ กูเออย. (กำสรวล).
กระลายกระลอก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-ออ-อ่าง-กอ-ไก่[–หฺลอก] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก กลายกลอก เป็นคำกริยา หมายถึง สับสน เช่น เสือสีห์หมีควาย กระลายกระลอกซอกซอน. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘.กระลายกระลอก [–หฺลอก] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กลายกลอก) ก. สับสน เช่น เสือสีห์หมีควาย กระลายกระลอกซอกซอน. (สมุทรโฆษ).
กระลาศรี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อา-สอ-สา-ลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี เป็นคำนาม หมายถึง ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาศรี เสาวภาคย กูเออย. (กำสรวล).กระลาศรี น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาศรี เสาวภาคย กูเออย. (กำสรวล).
กระลำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อำ ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง ย่อมาจาก กระลําพร เป็นคำนาม หมายถึง โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น จะเกิดกระลีกระลําแต่ล้วนร้อนใจ. (โชค–โบราณ). ในวงเล็บ ดู กลัมพร เขียนว่า กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-มอ-ม้า-พอ-พาน-รอ-เรือ.กระลำ (กลอน; ย่อมาจาก กระลําพร) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น จะเกิดกระลีกระลําแต่ล้วนร้อนใจ. (โชค–โบราณ). (ดู กลัมพร).
กระลำพร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อำ-พอ-พาน-รอ-เรือ ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง กระลัมพร, โทษใหญ่, ความฉิบหาย. ในวงเล็บ ดู กลัมพร เขียนว่า กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-มอ-ม้า-พอ-พาน-รอ-เรือ.กระลำพร (โบ) น. กระลัมพร, โทษใหญ่, ความฉิบหาย. (ดู กลัมพร).
กระลำพัก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อำ-พอ-พาน-ไม้-หัน-อา-กาด-กอ-ไก่ เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดํา ๆ เกิดในต้นสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum L.) และต้นตาตุ่มทะเล (Excoecaria agallocha L.) ในวงศ์ Euphorbiaceae กลิ่นหอมอ่อน รสขม ใช้ทํายาได้.กระลำพัก น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดํา ๆ เกิดในต้นสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum L.) และต้นตาตุ่มทะเล (Excoecaria agallocha L.) ในวงศ์ Euphorbiaceae กลิ่นหอมอ่อน รสขม ใช้ทํายาได้.
กระลำพุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อำ-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ดู ตะลุมพุก เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๓.กระลำพุก ดู ตะลุมพุก ๓.
กระลิง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อิ-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง จับ, ถือ, โดยมากใช้เป็น กระลึง.กระลิง (กลอน) ก. จับ, ถือ, โดยมากใช้เป็น กระลึง.
กระลี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งร้าย, โทษ. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ร้าย เช่น กระลีชาติ กระลียุค.กระลี น. สิ่งร้าย, โทษ. ว. ร้าย เช่น กระลีชาติ กระลียุค.
กระลึง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อึ-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง จับ, ถือ, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน.กระลึง (โบ) ก. จับ, ถือ, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง. (ลอ).
กระลุมพาง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อา-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง กลองหน้าเดียว, โบราณเขียนเป็น กรลุมพาง ก็มี.กระลุมพาง น. กลองหน้าเดียว, โบราณเขียนเป็น กรลุมพาง ก็มี.
กระลุมพุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำนาม หมายถึง ไม้ตะลุมพุก.กระลุมพุก ๑ (ปาก) น. ไม้ตะลุมพุก.
กระลุมพุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ปลาตะลุมพุก เช่น ค้าวอ้าวอุกกระลุมพุกสีเสียดสุกรสิง. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗. ในวงเล็บ ดู ตะลุมพุก เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๒.กระลุมพุก ๒ (กลอน) น. ปลาตะลุมพุก เช่น ค้าวอ้าวอุกกระลุมพุกสีเสียดสุกรสิง. (สรรพสิทธิ์). (ดู ตะลุมพุก ๒).
กระลุมพุก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ดู ตะลุมพุก เขียนว่า ตอ-เต่า-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อุ-กอ-ไก่ ความหมายที่ ๓.กระลุมพุก ๓ ดู ตะลุมพุก ๓.
กระลุมพู เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อู เป็นคำนาม หมายถึง นกลุมพู เช่น เหล่ากระลิงโกกิลา กระลุมพูก็โผผิน. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์มหาพน. ในวงเล็บ ดู ลุมพู เขียนว่า ลอ-ลิง-สะ-หระ-อุ-มอ-ม้า-พอ-พาน-สะ-หระ-อู.กระลุมพู น. นกลุมพู เช่น เหล่ากระลิงโกกิลา กระลุมพูก็โผผิน. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ดู ลุมพู).
กระลูน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อู-นอ-หนู ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ความเศร้าโศก. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิตสวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอดกว่าอันภิปราย. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี กลูน เขียนว่า กอ-ไก่-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อู-นอ-หนู.กระลูน (กลอน) น. ความเศร้าโศก. ว. น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิตสวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอดกว่าอันภิปราย. (สรรพสิทธิ์). (ป. กลูน).
กระลู่น์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อู-ไม้-เอก-นอ-หนู-ทัน-ทะ-คาด เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง น่าสงสาร เช่น กระลู่น์แลดูดาลแสยง. ในวงเล็บ มาจาก สูตรธนูคำฉันท์ จากวชิรญาณรายเดือน ปีที่ ๒๐ ตอนที่ ๗๔ และ ๗๕.กระลู่น์ ว. น่าสงสาร เช่น กระลู่น์แลดูดาลแสยง. (สุธน).
กระเล็น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-ไม้-ไต่-คู้-นอ-หนูดู กระถิก, กระถึก กระถิก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อิ-กอ-ไก่ กระถึก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อึ-กอ-ไก่ .กระเล็น ดู กระถิก, กระถึก.
กระเลียด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-ดอ-เด็ก[–เหฺลียด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง แผลงมาจาก เกลียด เช่น ไยเยาวเคียดและกระเลียด ฤเหลือบพระพักตร์ผิน. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗.กระเลียด [–เหฺลียด] (กลอน) แผลงมาจาก เกลียด เช่น ไยเยาวเคียดและกระเลียด ฤเหลือบพระพักตร์ผิน. (สรรพสิทธิ์).
กระเลือก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-ลอ-ลิง-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่[–เหฺลือก] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก เกลือก เป็นคำกริยา หมายถึง เหลือก, ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ เป็น กระลับกระเลือก.กระเลือก [–เหฺลือก] (กลอน; แผลงมาจาก เกลือก) ก. เหลือก, ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ เป็น กระลับกระเลือก.
กระโลง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-ลอ-ลิง-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสานด้วยใบลานชนิดหนึ่ง ใช้อย่างกระสอบ สําหรับใส่ข้าวเปลือกหรือข้าวสาร.กระโลง (ถิ่น–อีสาน) น. เครื่องสานด้วยใบลานชนิดหนึ่ง ใช้อย่างกระสอบ สําหรับใส่ข้าวเปลือกหรือข้าวสาร.
กระวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-นอ-หนู ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง วนเวียน, วุ่น, หวน, เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. ในวงเล็บ มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์.กระวน (กลอน) ก. วนเวียน, วุ่น, หวน, เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).
กระวนกระวาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-นอ-หนู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก เป็นคำกริยา หมายถึง วุ่นวายใจ, แสดงอาการวุ่นวายไม่เป็นสุข.กระวนกระวาย ก. วุ่นวายใจ, แสดงอาการวุ่นวายไม่เป็นสุข.
กระวัด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-ไม้-หัน-อา-กาด-ดอ-เด็ก[–หฺวัด] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง หมายถึง แผลงมาจาก กวัด เช่น เฉวียงหัตถ์กระวัดวรธนู. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗.กระวัด [–หฺวัด] (กลอน) แผลงมาจาก กวัด เช่น เฉวียงหัตถ์กระวัดวรธนู. (สรรพสิทธิ์).
กระว่า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น เสียงนกกระว่ามาตีลาน นกกรงหงส์ห่านร้องขานคู่. ในวงเล็บ มาจาก บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่องมโนห์รา ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ.กระว่า (โบ; กลอน) น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น เสียงนกกระว่ามาตีลาน นกกรงหงส์ห่านร้องขานคู่. (มโนห์รา).
–กระวาด มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็กใช้เข้าคู่กับคํา กระวี และ กระวูด เป็น กระวีกระวาด และ กระวูดกระวาด.–กระวาด ใช้เข้าคู่กับคํา กระวี และ กระวูด เป็น กระวีกระวาด และ กระวูดกระวาด.
กระวาน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum krervanh Pierre ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลมีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหารและทํายา; อีกชนิดหนึ่ง คือ Elettaria cardamomum (L.) Maton ในวงศ์เดียวกัน เรียกว่า กระวานเทศ มาจากประเทศอินเดียตอนใต้, เอลา ลูกเอ็ล หรือ ลูกเอ็น ก็เรียก. (๒) ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็นเครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา.กระวาน ๑ น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum krervanh Pierre ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลมีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหารและทํายา; อีกชนิดหนึ่ง คือ Elettaria cardamomum (L.) Maton ในวงศ์เดียวกัน เรียกว่า กระวานเทศ มาจากประเทศอินเดียตอนใต้, เอลา ลูกเอ็ล หรือ ลูกเอ็น ก็เรียก. (๒) ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็นเครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา.
กระวาน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-นอ-หนู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระวานกระแวนแกลนกลัว. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘.กระวาน ๒ น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระวานกระแวนแกลนกลัว. (สมุทรโฆษ).
กระวาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ส่าย, ดิ้น, เช่น ทอดตนตีทรวงกระวาย. ในวงเล็บ มาจาก อุเทนคำฉันท์ พระยาอิศรานุภาพ (อ้น) แต่ง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘, และใช้เข้าคู่กับคํา กระเวย และ กระโวย เป็น กระเวยกระวาย และ กระโวยกระวาย.กระวาย (กลอน) ว. ส่าย, ดิ้น, เช่น ทอดตนตีทรวงกระวาย. (อุเทน), และใช้เข้าคู่กับคํา กระเวย และ กระโวย เป็น กระเวยกระวาย และ กระโวยกระวาย.
กระวายกระวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-นอ-หนู เป็นคำกริยา หมายถึง กระวนกระวาย, ดิ้นรน, เร่าร้อน, กระสับกระส่าย, เช่น เมื่อเราอยู่ที่นี้จะต้องกระวายกระวนด้วยเหลือบยุงริ้นร่าน. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์สักบรรพ.กระวายกระวน ก. กระวนกระวาย, ดิ้นรน, เร่าร้อน, กระสับกระส่าย, เช่น เมื่อเราอยู่ที่นี้จะต้องกระวายกระวนด้วยเหลือบยุงริ้นร่าน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ).
กระวิน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ห่วงที่เกี่ยวกันสําหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียนเหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. ในวงเล็บ มาจาก พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนเสวยราชย์ พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๒, เครื่องร้อยสายรัดเอวพระภิกษุ (รัดประคด) ทําด้วยกระดูกสัตว์เป็นต้น มีรูกลาง เรียกว่า ลูกกระวิน. ในวงเล็บ รูปภาพ กระวิน.กระวิน ๑ น. ห่วงที่เกี่ยวกันสําหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียนเหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. (ประวัติ. จุล), เครื่องร้อยสายรัดเอวพระภิกษุ (รัดประคด) ทําด้วยกระดูกสัตว์เป็นต้น มีรูกลาง เรียกว่า ลูกกระวิน. (รูปภาพ กระวิน).
กระวิน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สีนํ้าตาล เช่น โคกระวิน. (ทมิฬ = กระวิล แผลงมาจาก ป. กปิล).กระวิน ๒ (โบ) ว. สีนํ้าตาล เช่น โคกระวิน. (ทมิฬ = กระวิล แผลงมาจาก ป. กปิล).
กระวี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อี ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง. (แผลงมาจาก กวี).กระวี ๑ น. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ. (สามดวง). (แผลงมาจาก กวี).
กระวีชาติ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อี-ชอ-ช้าง-สะ-หระ-อา-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ เป็นคำนาม หมายถึง หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทองโดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์เฝ้าพระบาท. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง, เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎรล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราชสุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. ในวงเล็บ มาจาก กฎหมายตราสามดวง.กระวีชาติ น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทองโดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎรล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราชสุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
กระวี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อี ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง แกว่ง. (เพี้ยนมาจาก คระวี).กระวี ๒ (โบ) ก. แกว่ง. (เพี้ยนมาจาก คระวี).
กระวีกระวาด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อี-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง รีบเร่งอย่างไม่นอนใจ.กระวีกระวาด ว. รีบเร่งอย่างไม่นอนใจ.
กระวูดกระวาด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อู-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ดอ-เด็ก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กระวีกระวาด, ทําโดยเร็วอย่างลมพัดวูดวาด.กระวูดกระวาด ว. กระวีกระวาด, ทําโดยเร็วอย่างลมพัดวูดวาด.
กระเวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ตระเวน, เที่ยวไป. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร กฺรแวล เขียนว่า กอ-ไก่-พิน-ทุ-รอ-เรือ-สะ-หระ-แอ-วอ-แหวน-ลอ-ลิง ว่า คอยดู, กองตระเวน .กระเวน ๑ (กลอน) ก. ตระเวน, เที่ยวไป. (เทียบ ข. กฺรแวล ว่า คอยดู, กองตระเวน).
กระเวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. ในวงเล็บ มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์.กระเวน ๒ (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).
กระเวนกระวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-นอ-หนู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-นอ-หนู ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. ในวงเล็บ มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์, หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์มหาราช.กระเวนกระวน (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์), หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ. (ม. คำหลวง มหาราช).
กระเวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-นอ-หนู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระเวนวังนัวกระเวนดง ช่างทองลงจับทองยั้ว. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน.กระเวน ๓ น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระเวนวังนัวกระเวนดง ช่างทองลงจับทองยั้ว. (ลอ).
กระเวยกระวาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เสียงร้องขอความช่วยเหลืออย่างเอ็ดอึง.กระเวยกระวาย ว. เสียงร้องขอความช่วยเหลืออย่างเอ็ดอึง.
กระแวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-วอ-แหวน-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง นกกาแวน เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือลิลิตตะเลงพ่าย แบบเรียนกวีนิพนธ์. ในวงเล็บ ดู กาแวน เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-แอ-วอ-แหวน-นอ-หนู.กระแวน น. นกกาแวน เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน. (ตะเลงพ่าย). (ดู กาแวน).
กระโวยกระวาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจเป็นต้น, โวยวาย ก็ว่า.กระโวยกระวาย ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจเป็นต้น, โวยวาย ก็ว่า.
กระศก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-สา-ลา-กอ-ไก่[–สก] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ข้อน. ในวงเล็บ มาจาก จินดามณี เล่ม ๑ - ๒ กับบันทึกเรื่องหนังสือจินดามณีและจินดามณี ฉบับพระเจ้าบรมโกศ ของ พระโหราธิบดี ฉบับโรงพิมพ์ รุ่งวัฒนา พ.ศ. ๒๕๑๒.กระศก [–สก] (โบ) ก. ข้อน. (จินดามณี).
กระศัย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-สา-ลา-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-ยัก ในวงเล็บ เป็นคำที่เลิกใช้แล้ว เป็นคำนาม หมายถึง กระษัย.กระศัย (เลิก) น. กระษัย.
กระษัตริย์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-รือ-สี-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-สะ-หระ-อิ-ยอ-ยัก-ทัน-ทะ-คาด[–สัด] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง กษัตริย์.กระษัตริย์ [–สัด] (โบ) น. กษัตริย์.
กระษัตรี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-รือ-สี-ไม้-หัน-อา-กาด-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี[–สัดตฺรี] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง ผู้หญิง.กระษัตรี [–สัดตฺรี] (โบ) น. ผู้หญิง.
กระษัย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-รือ-สี-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-ยัก[–ไส] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, กษัย ก็ว่า. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต กฺษย เขียนว่า กอ-ไก่-พิน-ทุ-สอ-รือ-สี-ยอ-ยัก ว่า โรคซูบผอม .กระษัย [–ไส] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, กษัย ก็ว่า. (ส. กฺษย ว่า โรคซูบผอม).
กระษัยกล่อน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-รือ-สี-ไม้-หัน-อา-กาด-ยอ-ยัก-กอ-ไก่-ลอ-ลิง-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-นอ-หนู[–ไสกฺล่อน] เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณ ทําให้ร่างกายผอมแห้ง เกิดจากโรคกล่อน.กระษัยกล่อน [–ไสกฺล่อน] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณ ทําให้ร่างกายผอมแห้ง เกิดจากโรคกล่อน.
กระษาปณ์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-นอ-เนน-ทัน-ทะ-คาด[–สาบ] เป็นคำนาม หมายถึง เงินตราที่ทําด้วยโลหะ เช่น เหรียญกระษาปณ์ โรงกระษาปณ์, กษาปณ์ ก็ใช้. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต การฺษาปณ เขียนว่า กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-พิน-ทุ-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-นอ-เนน และมาจากภาษาบาลี กหาปณ เขียนว่า กอ-ไก่-หอ-หีบ-สะ-หระ-อา-ปอ-ปลา-นอ-เนน.กระษาปณ์ [–สาบ] น. เงินตราที่ทําด้วยโลหะ เช่น เหรียญกระษาปณ์ โรงกระษาปณ์, กษาปณ์ ก็ใช้. (ส. การฺษาปณ; ป. กหาปณ).
กระษิร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อิ-รอ-เรือ[–สิน, –สิระ] ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ แผลงมาจากคำสันสกฤตว่า กฺษิร เป็นคำนาม หมายถึง นํ้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. ในวงเล็บ มาจาก พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ ๒, กระษิรสินธุสาคร. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗.กระษิร [–สิน, –สิระ] (โบ; แผลงมาจาก ส. กฺษิร) น. นํ้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร. (สรรพสิทธิ์).
กระเษม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-รือ-สี-มอ-ม้า ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำนาม หมายถึง เกษม.กระเษม (โบ) น. เกษม.
กระเษมสานต์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-รือ-สี-มอ-ม้า-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ตอ-เต่า-ทัน-ทะ-คาด เป็นคำนาม หมายถึง เกษมสันต์. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต เกฺษม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-พิน-ทุ-สอ-รือ-สี-มอ-ม้า + ศานฺต เขียนว่า สอ-สา-ลา-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-พิน-ทุ-ตอ-เต่า และมาจากภาษาสันสกฤต เกฺษม เขียนว่า สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-พิน-ทุ-สอ-รือ-สี-มอ-ม้า + ภาษาบาลี สนฺต เขียนว่า สอ-เสือ-นอ-หนู-พิน-ทุ-ตอ-เต่า .กระเษมสานต์ น. เกษมสันต์. (ส. เกฺษม + ศานฺต; ส. เกฺษม + ป. สนฺต).
กระเษียร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-รอ-เรือ ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง แผลงมาจาก เกษียร เป็นคำนาม หมายถึง นํ้านม เช่น เนาในกระเษียรนิทรบันดาล. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗.กระเษียร (โบ; กลอน; แผลงมาจาก เกษียร) น. นํ้านม เช่น เนาในกระเษียรนิทรบันดาล. (สรรพสิทธิ์).
กระสง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa lucius ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและแอ่นงอนขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลําตัวข้างละ ๗–๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุดประหรือริ้วสีดํา.กระสง น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa lucius ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและแอ่นงอนขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลําตัวข้างละ ๗–๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุดประหรือริ้วสีดํา.
–กระสน มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-นอ-หนูใช้เข้าคู่กับคํา กระเสือก เป็น กระเสือกกระสน.–กระสน ใช้เข้าคู่กับคํา กระเสือก เป็น กระเสือกกระสน.
กระสบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-บอ-ไบ-ไม้ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน.กระสบ น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน.
กระสม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-มอ-ม้า เป็นคำนาม หมายถึง ไม้ที่อยู่ในเครื่องทอผ้า สําหรับบิดม้วนผ้าที่ทอแล้ว เรียกว่า ไม้กระสม. ในวงเล็บ มาจาก D.J.B. Pallegoix Dictionnaire, Siamois, Francais-Anglais.กระสม น. ไม้ที่อยู่ในเครื่องทอผ้า สําหรับบิดม้วนผ้าที่ทอแล้ว เรียกว่า ไม้กระสม. (ปาเลกัว).
กระสรวล เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-รอ-เรือ-วอ-แหวน-ลอ-ลิง[–สวน] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง ยินดี, ร่าเริง, เช่น นางนกกระสรวลสันต์ สมเสพ. ในวงเล็บ มาจาก นิราศนรินทร์ แบบเรียนกวีนิพนธ์.กระสรวล [–สวน] (กลอน) ก. ยินดี, ร่าเริง, เช่น นางนกกระสรวลสันต์ สมเสพ. (นิ. นรินทร์).
กระสร้อย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก เป็นคำนาม หมายถึง ปลาสร้อย. ในวงเล็บ ดู สร้อย เขียนว่า สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ความหมายที่ ๒.กระสร้อย น. ปลาสร้อย. (ดู สร้อย ๒).
กระสวน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-วอ-แหวน-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ; แบบตัวอย่างสําหรับสร้างหรือทําของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ.กระสวน น. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสําหรับสร้างหรือทําของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ.
กระสวย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-วอ-แหวน-ยอ-ยัก เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องบรรจุด้ายสําหรับทอผ้าหรือเย็บผ้า.กระสวย น. เครื่องบรรจุด้ายสําหรับทอผ้าหรือเย็บผ้า.
กระสอบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสานหรือทอด้วยต้นกระจูดหรือป่านปอเป็นต้น สําหรับบรรจุข้าวและของอื่น ๆ.กระสอบ น. เครื่องสานหรือทอด้วยต้นกระจูดหรือป่านปอเป็นต้น สําหรับบรรจุข้าวและของอื่น ๆ.
กระสอบทราย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้-ทอ-ทะ-หาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก เป็นคำนาม หมายถึง ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้างขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของนักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง ผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.กระสอบทราย น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้างขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของนักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.
กระสะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ เป็นคำนาม หมายถึง ดินหรือหินหรือทรายเป็นต้นที่อยู่ในบ่อแร่ ซึ่งให้ผลเป็นสินค้าแก่ผู้ทําแร่, ขี้ผงของแร่.กระสะ น. ดินหรือหินหรือทรายเป็นต้นที่อยู่ในบ่อแร่ ซึ่งให้ผลเป็นสินค้าแก่ผู้ทําแร่, ขี้ผงของแร่.
กระสัง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Peperomia pellucida Korth. ในวงศ์ Peperomiaceae ขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่ชื้น ลําต้นอวบนํ้า.กระสัง ๑ น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Peperomia pellucida Korth. ในวงศ์ Peperomiaceae ขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่ชื้น ลําต้นอวบนํ้า.
กระสัง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง, สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบางถิ่นอาจใช้เรียกนกชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีใช้, เช่น กระสังกระสาสาว กระสันจับกระลับดู. ในวงเล็บ มาจาก เสือโคคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๕.กระสัง ๒ น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบางถิ่นอาจใช้เรียกนกชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีใช้, เช่น กระสังกระสาสาว กระสันจับกระลับดู. (เสือโค).
กระสัน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-นอ-หนู เป็นคำกริยา หมายถึง คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน; กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะพระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. ในวงเล็บ มาจาก คาวี พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๒ พิมพ์ จ.ศ. ๑๒๔๙; ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำหลวง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ กัณฑ์กุมาร, รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก หมายถึง อยากมาก เช่น กระสันจะเป็นรัฐมนตรี. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.กระสัน ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะพระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็นรัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
กระสับกระส่าย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปรกติไม่ได้, กระวนกระวาย, ทุรนทุราย.กระสับกระส่าย ว. เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปรกติไม่ได้, กระวนกระวาย, ทุรนทุราย.
กระสา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อนกในวงศ์ Ciconiidae ขนาดใหญ่เกือบเท่านกกระเรียน ปากหนายาวปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอจะยืดตรงเหมือนนกกระเรียน ทํารังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง ๆ กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาขาว (Ciconia ciconia) กระสาคอดํา (Ephippiorhynchus asiaticus).กระสา ๑ น. ชื่อนกในวงศ์ Ciconiidae ขนาดใหญ่เกือบเท่านกกระเรียน ปากหนายาวปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอจะยืดตรงเหมือนนกกระเรียน ทํารังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง ๆ กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาขาว (Ciconia ciconia) กระสาคอดํา (Ephippiorhynchus asiaticus).
กระสา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่องูชนิดหนึ่ง เช่น งูไซงูกระสา. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือไตรภูมิพระร่วง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ร.ศ. ๑๓๑.กระสา ๒ น. ชื่องูชนิดหนึ่ง เช่น งูไซงูกระสา. (ไตรภูมิ).
กระสา เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่นํ้าลําคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทํากระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา.กระสา ๓ น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่นํ้าลําคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทํากระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา.
กระสานติ์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-นอ-หนู-ตอ-เต่า-สะ-หระ-อิ-ทัน-ทะ-คาด ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สงบ, ราบคาบ, เขียนเป็น กรสานต์ ก็มี เช่น ดำรงกรษัตรให้กรสานต์. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตยวนพ่าย ฉบับโรงพิมพ์ ไท พ.ศ. ๒๔๖๐. (กระ + ป. สนฺติ; เป็นคำสรรพนาม หมายถึง ศานฺติ).กระสานติ์ (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เขียนเป็น กรสานต์ ก็มี เช่น ดำรงกรษัตรให้กรสานต์. (ยวนพ่าย). (กระ + ป. สนฺติ; ส. ศานฺติ).
กระสาบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง หนังที่เย็บเหมือนกระสอบ. ในวงเล็บ มาจาก D.J.B. Pallegoix Dictionnaire, Siamois, Francais-Anglais.กระสาบ ๑ น. หนังที่เย็บเหมือนกระสอบ. (ปาเลกัว).
กระสาบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง เถานางนูน. (ไทยเหนือว่า ผักสาบ). ในวงเล็บ มาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓.กระสาบ ๒ (ถิ่น–อีสาน) น. เถานางนูน. (ไทยเหนือว่า ผักสาบ). (พจน. ๒๔๙๓).
กระสาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องแทรกยา เช่น นํ้าเหล้า. ในวงเล็บ มาจากภาษาสันสกฤต กษาย เขียนว่า กอ-ไก่-สอ-รือ-สี-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน ****(ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยาทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย.กระสาย น. เครื่องแทรกยา เช่น นํ้าเหล้า. (ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยาทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย.
–กระส่าย มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา-ยอ-ยักใช้เข้าคู่กับคํา กระสับ เป็น กระสับกระส่าย.–กระส่าย ใช้เข้าคู่กับคํา กระสับ เป็น กระสับกระส่าย.
กระสินธุ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-ทอ-ทง-สะ-หระ-อุ ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง แม่นํ้า เช่น กระแสกระสินธุสงสาร. ในวงเล็บ มาจาก อุเทนคำฉันท์ พระยาอิศรานุภาพ (อ้น) แต่ง ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘. (กระ + ป., เป็นคำสรรพนาม หมายถึง สินฺธุ).กระสินธุ (โบ; กลอน) น. แม่นํ้า เช่น กระแสกระสินธุสงสาร. (อุเทน). (กระ + ป., ส. สินฺธุ).
กระสือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย; ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน(methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด; โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, โคมตาวัว ก็ว่า.กระสือ ๑ น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย; ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน(methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด; โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, โคมตาวัว ก็ว่า.
กระสือดูด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อู-ดอ-เด็ก เป็นคำนาม หมายถึง เรียกผลกล้วยที่แกร็นทั้งเครือ. ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาปาก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เรียกคนที่ซูบซีด.กระสือดูด น. เรียกผลกล้วยที่แกร็นทั้งเครือ. (ปาก) ว. เรียกคนที่ซูบซีด.
กระสือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสงได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.กระสือ ๒ น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสงได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
กระสือ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของหิ่งห้อยตัวเมียหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae เช่น ชนิด Lamprophorus tardus ไม่มีปีก ต้องคลานไปตามพื้นดิน สามารถทําแสงสีเขียวอมเหลืองอ่อนและกะพริบเป็นจังหวะได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. ในวงเล็บ ดู หิงห้อย, หิ่งห้อย ประกอบ หิงห้อย เขียนว่า หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-งอ-งู-หอ-หีบ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก หิ่งห้อย ประกอบ เขียนว่า หอ-หีบ-สะ-หระ-อิ-ไม้-เอก-งอ-งู-หอ-หีบ-ไม้-โท-ออ-อ่าง-ยอ-ยัก ปอ-ปลา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ .กระสือ ๓ น. ชื่อตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของหิ่งห้อยตัวเมียหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae เช่น ชนิด Lamprophorus tardus ไม่มีปีก ต้องคลานไปตามพื้นดิน สามารถทําแสงสีเขียวอมเหลืองอ่อนและกะพริบเป็นจังหวะได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. (ดู หิงห้อย, หิ่งห้อย ประกอบ).
กระสุงกระสิง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-งอ-งู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อิ-งอ-งู เป็นคำกริยา หมายถึง สุงสิง, ยุ่ง, ข้องแวะ. ในวงเล็บ มาจาก D.J.B. Pallegoix Dictionnaire, Siamois, Francais-Anglais.กระสุงกระสิง ก. สุงสิง, ยุ่ง, ข้องแวะ. (ปาเลกัว).
กระสุน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องยิงมีคัน ใช้สายโก่งยิงด้วยลูกดินปั้นกลมซึ่งเรียกว่า ลูกกระสุน; ลูกปืน.กระสุน น. เครื่องยิงมีคัน ใช้สายโก่งยิงด้วยลูกดินปั้นกลมซึ่งเรียกว่า ลูกกระสุน; ลูกปืน.
กระสุนปืน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู-ปอ-ปลา-สะ-หระ-อือ-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง ลูกปืน, บางทีก็เรียก กระสุน หรือ ลูกกระสุน.กระสุนปืน น. ลูกปืน, บางทีก็เรียก กระสุน หรือ ลูกกระสุน.
กระสุนวิถี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-นอ-หนู-วอ-แหวน-สะ-หระ-อิ-ถอ-ถุง-สะ-หระ-อี เป็นคำนาม หมายถึง ทางแห่งกระสุน, วิถีกระสุน ก็ว่า.กระสุนวิถี น. ทางแห่งกระสุน, วิถีกระสุน ก็ว่า.
กระสูทธิ์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อู-ทอ-ทะ-หาน-ทอ-ทง-สะ-หระ-อิ-ทัน-ทะ-คาด เป็นคำนาม หมายถึง กรสุทธิ์. ในวงเล็บ ดู กรสุทธิ์ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อุ-ทอ-ทะ-หาน-ทอ-ทง-สะ-หระ-อิ-ทัน-ทะ-คาด.กระสูทธิ์ น. กรสุทธิ์. (ดู กรสุทธิ์).
กระสูบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อู-บอ-ไบ-ไม้ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาแก้มชํ้า แต่ลําตัวเพรียวและโตกว่าชนิดแรกคือ กระสูบขาว (Hampala macrolepidota) มักมีลายดําพาดขวางที่บริเวณลําตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดงขอบบนและล่างสีดํา ขนาดยาวถึงประมาณ ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (H. dispar) ลําตัวมีจุดดําอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่า และไม่มีแถบสีดํา ตัวยาวเต็มที่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก.กระสูบ น. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาแก้มชํ้า แต่ลําตัวเพรียวและโตกว่าชนิดแรกคือ กระสูบขาว (Hampala macrolepidota) มักมีลายดําพาดขวางที่บริเวณลําตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดงขอบบนและล่างสีดํา ขนาดยาวถึงประมาณ ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (H. dispar) ลําตัวมีจุดดําอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่า และไม่มีแถบสีดํา ตัวยาวเต็มที่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก.
กระเสด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ดอ-เด็ก เป็นคำนาม หมายถึง หาดทรายที่ขึ้นสูงพ้นนํ้า.กระเสด น. หาดทรายที่ขึ้นสูงพ้นนํ้า.
กระเส็นกระสาย เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ไม้-ไต่-คู้-นอ-หนู-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-ยอ-ยัก เป็นคำนาม หมายถึง เศษเล็กเศษน้อย. เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง นิดหน่อย.กระเส็นกระสาย น. เศษเล็กเศษน้อย. ว. นิดหน่อย.
กระเส่า, กระเส่า ๆ กระเส่า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา กระเส่า ๆ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา ไม้-ยะ-มก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สั่นเครือและเบา (ใช้แก่เสียง).กระเส่า, กระเส่า ๆ ว. สั่นเครือและเบา (ใช้แก่เสียง).
กระเสาะกระแสะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อา-สะ-หระ-อะ-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ, เสาะแสะ ก็ว่า.กระเสาะกระแสะ ว. อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ, เสาะแสะ ก็ว่า.
กระเสียน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. ในวงเล็บ มาจาก พระอภัยมณีคำกลอน ของ สุนทรภู่ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗, เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ หมายถึง อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. ในวงเล็บ มาจาก อักขราภิธานศรับท์ ของ หมอปรัดเล.กระเสียน ว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; (โบ) อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. (ปรัดเล).
–กระเสียน มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. ในวงเล็บ มาจาก อักขราภิธานศรับท์ ของ หมอปรัดเล.–กระเสียน (โบ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. (ปรัดเล).
กระเสียร เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-รอ-เรือ[–เสียน] เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คับแคบ, ลําบาก, ฝืดเคือง, ใช้เข้าคู่กับคํา กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียร. ในวงเล็บ มาจากภาษาบาลี กสิร เขียนว่า กอ-ไก่-สอ-เสือ-สะ-หระ-อิ-รอ-เรือ.กระเสียร [–เสียน] ว. คับแคบ, ลําบาก, ฝืดเคือง, ใช้เข้าคู่กับคํา กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียร. (ป. กสิร).
กระเสือกกระสน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อือ-ออ-อ่าง-กอ-ไก่-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สอ-เสือ-นอ-หนู เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ดิ้นรนเพื่อให้พ้นความทุกข์ยากเป็นต้น.กระเสือกกระสน ว. ดิ้นรนเพื่อให้พ้นความทุกข์ยากเป็นต้น.
กระแส เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ เป็นคำนาม หมายถึง นํ้าหรือลมเป็นต้นที่ไหลหรือพัดเรื่อยเป็นแนวเป็นทางไปไม่ขาดสาย เช่น กระแสนํ้า กระแสลม, โดยปริยายหมายถึงอาการเช่นนั้น; เส้น, สาย, แนว, ทาง, เช่น กระแสความ กระแสความคิด; เส้นวัดที่ดินทำด้วยหวายหรือเหล็กเป็นต้น เรียกว่า เส้นกระแส. ในวงเล็บ เทียบ ภาษาเขมร แขฺส เขียนว่า สะ-หระ-แอ-ขอ-ไข่-พิน-ทุ-สอ-เสือ = เชือก .กระแส น. นํ้าหรือลมเป็นต้นที่ไหลหรือพัดเรื่อยเป็นแนวเป็นทางไปไม่ขาดสาย เช่น กระแสนํ้า กระแสลม, โดยปริยายหมายถึงอาการเช่นนั้น; เส้น, สาย, แนว, ทาง, เช่น กระแสความ กระแสความคิด; เส้นวัดที่ดินทำด้วยหวายหรือเหล็กเป็นต้น เรียกว่า เส้นกระแส. (เทียบ ข. แขฺส = เชือก).
กระแสการเงิน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-เอ-งอ-งู-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู เป็นคำนาม หมายถึง การหมุนเวียนของเงินตรา.กระแสการเงิน น. การหมุนเวียนของเงินตรา.
กระแสความ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-คอ-ควาย-วอ-แหวน-สะ-หระ-อา-มอ-ม้า เป็นคำนาม หมายถึง แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน.กระแสความ น. แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน.
กระแสจิต เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-จอ-จาน-สะ-หระ-อิ-ตอ-เต่า เป็นคำนาม หมายถึง กระแสความนึกคิดหรือกระบวนความนึกคิดที่เกิดดับต่อเนื่องกันไป, เรียกอาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่างจิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า การส่งกระแสจิต.กระแสจิต น. กระแสความนึกคิดหรือกระบวนความนึกคิดที่เกิดดับต่อเนื่องกันไป, เรียกอาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่างจิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า การส่งกระแสจิต.
กระแสตรง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-ตอ-เต่า-รอ-เรือ-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง กระแสไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ตามแนวทิศเดียวกันอยู่ตลอดเวลา. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ direct เขียนว่า ดี-ไอ-อา-อี-ซี-ที current เขียนว่า ซี-ยู-อา-อา-อี-เอ็น-ที เขียนย่อว่า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา D.C. เขียนว่า ดี-จุด-ซี-จุด .กระแสตรง น. กระแสไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ตามแนวทิศเดียวกันอยู่ตลอดเวลา. (อ. direct current เขียนย่อว่า D.C.).
กระแสนํ้า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-นอ-หนู-นิก-คะ-หิด-ไม้-โท-สะ-หระ-อา เป็นคำนาม หมายถึง สายนํ้า.กระแสนํ้า น. สายนํ้า.
กระแสพระราชดำรัส เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-พอ-พาน-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-รอ-เรือ-สะ-หระ-อา-ชอ-ช้าง-ดอ-เด็ก-สะ-หระ-อำ-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-สอ-เสือ[–ราดชะ–] ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำนาม หมายถึง ข้อความที่พระเจ้าแผ่นดินตรัส.กระแสพระราชดำรัส [–ราดชะ–] (ราชา) น. ข้อความที่พระเจ้าแผ่นดินตรัส.
กระแสรับสั่ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-รอ-เรือ-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้-สอ-เสือ-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำนาม หมายถึง คําพูด.กระแสรับสั่ง (ราชา) น. คําพูด.
กระแสลม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-ลอ-ลิง-มอ-ม้า เป็นคำนาม หมายถึง สายลมพัด.กระแสลม น. สายลมพัด.
กระแสสลับ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-สอ-เสือ-ลอ-ลิง-ไม้-หัน-อา-กาด-บอ-ไบ-ไม้[–สะหฺลับ] เป็นคำนาม หมายถึง กระแสไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่โดยสลับแนวทิศอยู่ตลอดเวลา. ในวงเล็บ มาจากภาษาอังกฤษ alternating เขียนว่า เอ-แอล-ที-อี-อา-เอ็น-เอ-ที-ไอ-เอ็น-จี current เขียนว่า ซี-ยู-อา-อา-อี-เอ็น-ที เขียนย่อว่า เขียนว่า สะ-หระ-เอ-ขอ-ไข่-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-นอ-หนู-ยอ-ยัก-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-วอ-แหวน-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา A.C. เขียนว่า เอ-จุด-ซี-จุด .กระแสสลับ [–สะหฺลับ] น. กระแสไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่โดยสลับแนวทิศอยู่ตลอดเวลา. (อ. alternating current เขียนย่อว่า A.C.).
กระแสเสียง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-เอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อี-ยอ-ยัก-งอ-งู เป็นคำนาม หมายถึง เสียงที่แล่นไป, นํ้าเสียง.กระแสเสียง น. เสียงที่แล่นไป, นํ้าเสียง.
กระแสง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง เสียง, เสียงแจ่มจ้า เช่น จึ่งตั้งนโม ซุ่มเสียงใหญ่โต กระแสงแจ่มใส. ในวงเล็บ มาจาก ประถม ก กา แบบเรียนของเก่า โรงพิมพ์ครูสมิท จ.ศ. ๑๒๔๙.กระแสง ๑ น. เสียง, เสียงแจ่มจ้า เช่น จึ่งตั้งนโม ซุ่มเสียงใหญ่โต กระแสงแจ่มใส. (ประถม ก กา).
กระแสง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-งอ-งู ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง แสง, รัศมี; สี.กระแสง ๒ น. แสง, รัศมี; สี.
กระแสะ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-แอ-สอ-เสือ-สะ-หระ-อะ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เพลีย, โผเผ, ไม่มีกําลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิวกระแสะ ๆ ไป. ในวงเล็บ มาจาก ดิกชนารีไทย ค.ศ. ๑๘๔๖ ตัวเขียนของ J.H. Chandler, และใช้เข้าคู่กับคํา กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ.กระแสะ ว. เพลีย, โผเผ, ไม่มีกําลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิวกระแสะ ๆ ไป. (ดิกชนารีไทย), และใช้เข้าคู่กับคํา กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ.
กระโสง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-โอ-สอ-เสือ-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำนาม หมายถึง ปลากระสง เช่น กระโสงสังควาดหว้าย ชลา. ในวงเล็บ มาจาก สรรพสิทธิ์คำฉันท์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงนิพนธ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๗.กระโสง (กลอน) น. ปลากระสง เช่น กระโสงสังควาดหว้าย ชลา. (สรรพสิทธิ์).
กระไส เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-สะ-หระ-ไอ-ไม้-มะ-ลาย-สอ-เสือ เป็นคำนาม หมายถึง ทราย เช่น สีคงคาขุ่นเป็นเปือกเทือกกระไส. ในวงเล็บ มาจาก มหาชาติคำกาพย์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๕๙ กัณฑ์วนปเวสน์, ประทับทอดจอดอ่าวเข้าไม่ได้ โขดกระไสติดช่องร่องวิถี. ในวงเล็บ มาจาก นิราศเกาะแก้วกัลกตา.กระไส น. ทราย เช่น สีคงคาขุ่นเป็นเปือกเทือกกระไส. (ม. กาพย์ วนปเวสน์), ประทับทอดจอดอ่าวเข้าไม่ได้ โขดกระไสติดช่องร่องวิถี. (นิ. เกาะแก้วกัลกตา).
กระหง่อง, กระหน่อง กระหง่อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-งอ-งู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู กระหน่อง ความหมายที่ ๑ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ และเป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำกริยา หมายถึง จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ. ในวงเล็บ มาจาก นิราศพระยาตรัง, ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้.กระหง่อง, กระหน่อง ๑ (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ. (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้.
กระหน เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ดิ้นรน, เดือดร้อน, กระวนกระวาย. ในวงเล็บ มาจากภาษาเขมร กฺรหล่ เขียนว่า กอ-ไก่-พิน-ทุ-รอ-เรือ-หอ-หีบ-ลอ-ลิง-ไม้-เอก.กระหน (โบ) ก. ดิ้นรน, เดือดร้อน, กระวนกระวาย. (ข. กฺรหล่).
กระหนก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-กอ-ไก่ ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อแบบลายไทยประเภทหนึ่ง ใช้ผูกเขียนเป็นลวดลาย มีทั้งระบายสี ปิดทองรดนํ้า ปั้น หรือแกะสลักเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น กระหนกเปลว กระหนกก้านขด กระหนกเครือ, เดิมเขียนเป็น กนก ก็มี.กระหนก ๑ น. ชื่อแบบลายไทยประเภทหนึ่ง ใช้ผูกเขียนเป็นลวดลาย มีทั้งระบายสี ปิดทองรดนํ้า ปั้น หรือแกะสลักเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น กระหนกเปลว กระหนกก้านขด กระหนกเครือ, เดิมเขียนเป็น กนก ก็มี.
กระหนก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-กอ-ไก่ ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ตระหนก, ตกใจ, สะดุ้ง, หวาด.กระหนก ๒ (โบ) ก. ตระหนก, ตกใจ, สะดุ้ง, หวาด.
กระหนกกินรี, กระหนกนฤมิต กระหนกกินรี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-กอ-ไก่-กอ-ไก่-สะ-หระ-อิ-นอ-หนู-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี กระหนกนฤมิต เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-กอ-ไก่-นอ-หนู-รอ-รึ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-ตอ-เต่า ดู กระหนกนารี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-กอ-ไก่-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี.กระหนกกินรี, กระหนกนฤมิต ดู กระหนกนารี.
กระหนกนารี เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-กอ-ไก่-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-รอ-เรือ-สะ-หระ-อี เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Rhektophyllum mirabile N.E. Br. ในวงศ์ Araceae ต้นมีไหลเลื้อยเหนือพื้นดินแยกออกไปเป็นต้นใหม่ได้ ใบคล้ายใบบอนสี มีลายขาวตามเส้นใบ, กระหนกกินรี กระหนกนฤมิต บอนลายกระหนก หรือ แม้นเขียน ก็เรียก.กระหนกนารี น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Rhektophyllum mirabile N.E. Br. ในวงศ์ Araceae ต้นมีไหลเลื้อยเหนือพื้นดินแยกออกไปเป็นต้นใหม่ได้ ใบคล้ายใบบอนสี มีลายขาวตามเส้นใบ, กระหนกกินรี กระหนกนฤมิต บอนลายกระหนก หรือ แม้นเขียน ก็เรียก.
กระหน่อง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-งอ-งู ความหมายที่ ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน เป็นคำนาม หมายถึง อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัวหนึ่งกัดเอ็นกระหน่อง. ในวงเล็บ มาจาก หนังสือมหาเวสสันดรชาดก คำกลอน ฉบับโรงพิมพ์กิมหลีหงวน พ.ศ. ๒๔๗๒ ก์ณฑ์ชูชก, กระน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.กระหน่อง ๒ (ถิ่น–อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัวหนึ่งกัดเอ็นกระหน่อง. (ม. ภาคอีสาน ชูชก), กระน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.
กระหนาก เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-กอ-ไก่(แผลงมาจาก ขนาก) ดู ขนาก.กระหนาก (แผลงมาจาก ขนาก) ดู ขนาก.
กระหนาบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้ เป็นคำกริยา หมายถึง ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีกระหนาบ; อาการที่อยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น กระหนกกระหนาบภาพหาญ, กระหนกกระหนาบคาบเครือสร้อยสน. ในวงเล็บ มาจาก ประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ; ดุดันเอา. (แผลงมาจาก ขนาบ).กระหนาบ ก. ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีกระหนาบ; อาการที่อยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น กระหนกกระหนาบภาพหาญ, กระหนกกระหนาบคาบเครือสร้อยสน. (พากย์); ดุดันเอา. (แผลงมาจาก ขนาบ).
กระหนาบคาบเกี่ยว เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้-คอ-ควาย-สะ-หระ-อา-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-เอ-กอ-ไก่-สะ-หระ-อี-ไม้-เอก-ยอ-ยัก-วอ-แหวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ประชิดเหลื่อมลํ้ากัน.กระหนาบคาบเกี่ยว ว. ประชิดเหลื่อมลํ้ากัน.
กระหน่ำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-นอ-หนู-ไม้-เอก-สะ-หระ-อำ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ซํ้า ๆ ลงอย่างหนัก.กระหน่ำ ว. ซํ้า ๆ ลงอย่างหนัก.
กระหมวด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก ความหมายที่ เป็นคำกริยา หมายถึง ขอดให้เป็นปม, มุ่น, บิดม้วนให้เป็นปม. (แผลงมาจาก ขมวด).กระหมวด ๑ ก. ขอดให้เป็นปม, มุ่น, บิดม้วนให้เป็นปม. (แผลงมาจาก ขมวด).
กระหมวด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-วอ-แหวน-ดอ-เด็ก ความหมายที่ เป็นคำนาม หมายถึง จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสําคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สายประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดูลักษณะช้างเผือก ใช้ตรวจขนทั้ง ๕ ฐานนี้ เป็นทางประกอบการพิจารณา.กระหมวด ๒ น. จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสําคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สายประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดูลักษณะช้างเผือก ใช้ตรวจขนทั้ง ๕ ฐานนี้ เป็นทางประกอบการพิจารณา.
กระหมอบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ออ-อ่าง-บอ-ไบ-ไม้ ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แขม่ว ๆ เช่น หายใจกระหมอบหอบเต็มที. ในวงเล็บ มาจาก คาวี พระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๒ พิมพ์ จ.ศ. ๑๒๔๙.กระหมอบ (กลอน) ว. แขม่ว ๆ เช่น หายใจกระหมอบหอบเต็มที. (คาวี).
กระหม่อม เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า เป็นคำนาม หมายถึง ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบกับคําที่ขึ้นต้น ว่า “เกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. เป็นคำสรรพนาม หมายถึง คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในราชาศัพท์ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).กระหม่อม น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบกับคําที่ขึ้นต้น ว่า “เกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
กระหม่อมบาง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-เอก-ออ-อ่าง-มอ-ม้า-บอ-ไบ-ไม้-สะ-หระ-อา-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่เป็นสำนวน เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า.กระหม่อมบาง (สำ) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า.
กระหมั่ง เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-หัน-อา-กาด-ไม้-เอก-งอ-งู ในวงเล็บ เป็นคำที่ใช้ในบทร้อยกรอง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กระมัง เช่น เครื่องค้าเหลือผู้ซื้อ กระหมั่ง. ในวงเล็บ มาจาก ลิลิตพระลอ แบบเรียน.กระหมั่ง (กลอน) ว. กระมัง เช่น เครื่องค้าเหลือผู้ซื้อ กระหมั่ง. (ลอ).
กระหม่า เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-ไม้-เอก-สะ-หระ-อา ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำกริยา หมายถึง ประหม่า, สะทกสะท้าน, พรั่นใจ, เช่น กระมลบ้ากระหม่ามะเมอ. ในวงเล็บ มาจาก สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. ๒๔๖๘.กระหม่า (โบ) ก. ประหม่า, สะทกสะท้าน, พรั่นใจ, เช่น กระมลบ้ากระหม่ามะเมอ. (สมุทรโฆษ).
–กระหมิด มีเครื่องหมายยัติภังค์หน้าคำ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็กใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุด เป็น กระหมุดกระหมิด.–กระหมิด ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุด เป็น กระหมุดกระหมิด.
กระหมิบ เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-บอ-ไบ-ไม้ เป็นคำกริยา หมายถึง ทําปากหรือช่องทวารหนักทวารเบาให้เม้มอยู่; อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ). เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ.กระหมิบ ก. ทําปากหรือช่องทวารหนักทวารเบาให้เม้มอยู่; อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ). ว. บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ.
กระหมุดกระหมิด เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-ดอ-เด็ก-กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อิ-ดอ-เด็ก เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ขมวดให้แน่น เช่น สักกระสันเป็นสามรวดรัดกระหวัดกระหมุดกระหมิดฉุดชิด ชักชายน้อยห้อยหูกระต่าย. ในวงเล็บ มาจาก มหาเวสสันดรชาดก ในวงเล็บ แบบเรียน กัณฑ์ชูชก.กระหมุดกระหมิด ว. ขมวดให้แน่น เช่น สักกระสันเป็นสามรวดรัดกระหวัดกระหมุดกระหมิดฉุดชิด ชักชายน้อยห้อยหูกระต่าย. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
กระหมุ่น เขียนว่า กอ-ไก่-รอ-เรือ-สะ-หระ-อะ-หอ-หีบ-มอ-ม้า-สะ-หระ-อุ-ไม้-เอก-นอ-หนู ในวงเล็บ เป็นคำโบราณ เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง มุ่น; ขุ่น เช่น นํ้าใช้และนํ้าฉัน นานหลายวันเป็นกระหมุ่น. (ขมุ่น หรือ ขนุ่น ทางเหนือว่า ขี้ตะกอน, ทางใต้ใช้ว่า หมวน).กระหมุ่น (โบ) ว. มุ่น; ขุ่น เช่น นํ้าใช้และนํ้าฉัน นานหลายวันเป็นกระหมุ่น. (ขมุ่น หรือ ขนุ่น ทางเหนือว่า ขี้ตะกอน, ทางใต้ใช้ว่า หมวน).